ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา
ดาวบริวารของดาวเสาร์ vs. แพนโดรา
ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม) วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่ ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 62 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดาวบริวารที่มีชื่อเสียงอย่างดาวบริวารไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดาวบริวารเอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น ดาวบริวาร 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก) ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร. แพนโดร่า วาดโดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1896 แพนโดรา (Pandora) เป็นสตรีนางแรกบนโลกมนุษย์และเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเพราะเป็นผู้หญิงคนเดียวบนโลก ผู้ซึ่งเปิดกล่องที่บรรจุความชั่วร้ายนานาซึ่งทำให้จิตใจของมนุษย์ไม่บริสุทธิ์ ตำนานได้กล่าวว่าแพนโดร่าถูกสรรค์สร้างขึ้นมาจากฝีมือที่ประณีตของเทพและเทพีหลายองค์โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะลงโทษมนุษย์ เหตุเพราะก่อนหน้านี้ เทพโปรมีทีอุส ได้ขโมยไฟจากเตาของเทวีเฮสเทียบนเขาโอลิมปัสเพื่อนำมาให้มนุษย์ ส่งผลให้มนุษย์เริ่มแข็งข้อต่อเทพเจ้า เทพซุสได้ใส่ความอยากรู้อยากเห็นลงในตัวของแพนดอร่า พร้อมกับมอบกล่องแพนดอร่าซึ่งกำชับไม่ให้นางเปิดดู แล้วส่งนางลงไปยังโลกมนุษย์ แพนดอร่าได้แต่งงานกับไททันเอพะมีธีเอิส และมีลูกหลานหญิงชายสืบต่อกันมาเป็นเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ นับวันความสงสัยของนางแพนดอร่าก็มีมากขึ้น จนนางตัดสินใจเปิดกล่องแพนดอร่าออก ทันใดนั้นเอง ความชั่วร้ายต่างๆ นานาก็พวยพุ่งออกมาจากกล่องตรงเข้าไปกัดกินหัวใจมนุษย์ให้ฆ่าฟันกันเองจนกลายเป็นยุคมืด นางแพนดอร่าตกใจรีบปิดกล่องทำให้สามารถกักเก็บ ความสิ้นหวัง เอาไว้ในกล่องใบนั้นได้ทัน มนุษย์จึงยังคงดำรงชีวิตอยู่มาได้ด้วยความหวัง แต่ทว่ามนุษย์เริ่มมีจิตใจชั่วร้ายโสมมมากขึ้น จนสุดท้ายเทพเจ้าจึงบันดาลให้เกิดน้ำท่วมโลกจนมนุษย์ผู้ชั่วร้ายตายกันหมด มนุษย์ผู้มีจิตใจดีที่ยังเหลือรอดจึงได้สืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ต่อมา โดยที่ยังมีความชั่วร้ายเกาะติดอยู่ในหัวใจ ทว่าหากมีความหวัง อดกลั้นข่มใจไม่ทำความผิด ความชั่วร้ายต่างๆ ก็มิอาจทำอันตรายใดได้อีก หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา
ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เอพิมีเทียส
อพิมีเทียส เอพิมีเทียส (Epimetheus,; Ἐπιμηθεύς) เป็นไททันซึ่งเป็นน้องชายฝาแฝดของโพรมีเทียสและเป็นสามีของแพนโดรา (สตรีนางแรก) เขาและโพรมีเทียสพี่ชายเป็นเสมือนตัวแทนของมนุษย์ และมีบุคลิกที่ตรงกันข้ามกัน โพรมีเทียสเป็นผู้มีปัญญาและมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในขณะที่เอพิมีเทียส (ที่แปลว่า การทำก่อนคิด) นั้นเบาปัญญาและมีวิสัยทัศน์ที่แคบ ครั้งที่มหาเทพซูสมีพระประสงค์จะให้มีสิ่งมีชีวิตบนโลก เอพิมีเทียสขอรับมอบหมายให้เป็นผู้ประสาทพรแก่สรรพสัตว์ ให้นกบินได้ แมวล่าหนู สิงโตเป็นเจ้าป่า ฯลฯ ด้วยนิสัยที่ชอบทำก่อนคิด ตนเกิดให้พรจนหมด พอโพรมีเทียสสร้างมนุษย์ปรากฏว่าไม่มีพรเหลืออยู่แล้ว โพรมีเทียสจึงให้พรด้วยตนเอง (บางตำราก็ว่าอะทีนาเป็นผู้ประสาทพรให้) หลังจากที่โพรมีเทียสได้ขโมยไฟไปให้มวลมนุษย์ ซูสได้วางแผนที่จะแก้แค้นเขาด้วยการสร้างสตรีนางแรกขึ้นเพื่อแก้แค้นพวกมนุษย์ซึ่งในขณะนั้นมีแต่ผู้ชาย เหล่าเทพเจ้าทุกพระองค์ได้มอบของขวัญล้ำค่าให้นาง และนางเป็นผู้มีรูปโฉมสะคราญตาจนไม่มีใครปฏิเสธได้ นางได้รับการขนานนามว่า แพนโดรา หรือที่แปลว่า ของขวัญทั้งมวล ซูสได้มอบนางให้เป็นของขวัญแก่โพรมีเทียสแต่เขาปฏิเสธเพราะรู้ว่าสตรีจะนำความวิบัติมาให้ แต่เอพะมีธีเอิสผู้เบาปัญญารับนางเป็นภรรยา และก่อให้เกิดความพินาศในหมู่มนุษย์ในเวลาต่อมา ซูสมอบไหปิดผนึกใบหนึ่งให้กับแพนโดรา โดยที่นางไม่ทราบเลยว่าไหใบนั้นบรรจุความชั่วร้ายทั้งปวงไว้ ความอยากรู้อยากเห็นทำให้แพนโดราเปิดไหออกและปลดปล่อยความชั่วร้ายออกมาในโลกด้วยความตกใจแพนโดราจึงรีบปิดไหและกักขัง เอลพิส จิตวิญาณแห่งความหวังเอาไว้.
ดาวบริวารของดาวเสาร์และเอพิมีเทียส · เอพิมีเทียสและแพนโดรา · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา
การเปรียบเทียบระหว่าง ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา
ดาวบริวารของดาวเสาร์ มี 32 ความสัมพันธ์ขณะที่ แพนโดรา มี 1 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.03% = 1 / (32 + 1)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาวบริวารของดาวเสาร์และแพนโดรา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: