โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก (ดาวเคราะห์)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก (ดาวเคราะห์)

ดาวบริวารของดาวยูเรนัส vs. โลก (ดาวเคราะห์)

อเบอรอน ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ มีดาวบริวารที่รู้จักแล้ว 27 ดวง โดยทั้งหมดถูกตั้งชื่อตามตัวละครในผลงานการประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ และอเล็กซานเดอร์ โปป โดยใน ค.ศ. 1787 ดาวบริวารสองดวงแรกถูกค้นพบโดยวิลเลียม เฮอร์เชล ได้แก่ ทิทาเนียและโอเบอรอน ส่วนดาวบริวารทรงกลมอื่น ๆ ถูกค้นพบโดยวิลเลียม ลาสเซลล์ ในปี ค.ศ. 1851 (ได้แก่ แอเรียลและอัมเบรียล) และในปี ค.ศ. 1948 โดยเจอราร์ด ไคเปอร์ (มิแรนดา) ดาวบริวารที่เหลือถูกค้นพบหลังจากปี ค.ศ. 1985 โดยภารกิจของวอยเอจเจอร์ 2 และด้วยความช่วยเหลือของกล้องโทรทรรศน์บนโลกที่ทันสมัย ดาวบริวารของดาวยูเรนัสถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดาวบริวารรอบในสิบสามดวง (thirteen inner moons), กลุ่มดาวบริวารขนาดใหญ่ห้าดวง (five major moons) และกลุ่มดาวบริวารทรงแปลกเก้าดวง (nine irregular moons) โดยกลุ่มดาวบริวารรอบในสิบสามดวงจะกระจัดกระจายอยู่ภายในบริเวณวงแหวนของดาวยูเรนัส กลุ่มดาวบริวารขนาดใหญ่ห้าดวงเป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่และเป็นทรงกลม ในนั้น 4 ดวงเป็นดาวบริวารที่ยังมีกระบวนการภายใน มีภูเขาไฟ และการเปลี่ยนแปลงบนเปลือกดาวอยู่ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มคือ ไททาเนีย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,578 กม. ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก (ดาวเคราะห์)

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก (ดาวเคราะห์) มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กิโลกรัมกิโลเมตรกึ่งแกนเอกมวลระบบสุริยะวันองศา (มุม)ดาวบริวารนาซาโลกเส้นผ่านศูนย์กลาง

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

กิโลกรัมและดาวบริวารของดาวยูเรนัส · กิโลกรัมและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

กิโลเมตรและดาวบริวารของดาวยูเรนัส · กิโลเมตรและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

กึ่งแกนเอกและดาวบริวารของดาวยูเรนัส · กึ่งแกนเอกและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและมวล · มวลและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและระบบสุริยะ · ระบบสุริยะและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและวัน · วันและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและองศา (มุม) · องศา (มุม)และโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวาร

วบริวาร (Natural satellite) คือ วัตถุตามธรรมชาติที่โคจรรอบดาวเคราะห์ ระบบสุริยะของเรามีดาวบริวารบริวารอยู่มากกว่า 140 ดวง โดยปกติดาวเคราะห์แก๊สที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก จะมีดาวบริวารจำนวนมาก ดาวพุธและดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารแม้แต่ดวงเดียว โลกมี 1 ดวง คือดวงจันทร์ ดาวอังคารมีดาวบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง.

ดาวบริวารและดาวบริวารของดาวยูเรนัส · ดาวบริวารและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและนาซา · นาซาและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก · โลกและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

เส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) เส้นผ่านศูนย์กลาง (อังกฤษ: diameter) คือเส้นตรงซึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางของรูปวงกลมไปบรรจบกับเส้นรอบวงทั้งสองข้าง ซึ่งรูปวงกลมนั้นอาจมาจากหน้าตัดของทรงกระบอก ทรงกรวย หรือทรงกลมก็ได้ เส้นผ่านศูนย์กลางมีความยาวเป็นสองเท่าของเส้นรัศมี เป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม และแบ่งรูปวงกลมออกเป็นรูปครึ่งวงกลมสองส่วนเท่าๆ กัน และสามารถเปลี่ยนไปได้ทุกทิศทางไม่กำหนด เส้นผ่านศูนย์กลางจะสร้างมารถคำนวณได้โดยหาค่ารัศมีแล้วคูณสอง เพราะว่าความยาวของรัศมีหนึ่งเส้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลาง ในทางวิศวกรรมศาสตร์ เส้นผ่านศูนย์กลางสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ ⌀ (ยูนิโคด: U+8960) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลมเล็กๆ ขีดทับด้วยเส้นตรงเอียงลงทางซ้าย มีประโยชน์ในการบ่งบอกขนาดของรูปวงกลม หมวดหมู่:เรขาคณิตมูลฐาน หมวดหมู่:ความยาว.

ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและเส้นผ่านศูนย์กลาง · เส้นผ่านศูนย์กลางและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก (ดาวเคราะห์)

ดาวบริวารของดาวยูเรนัส มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ โลก (ดาวเคราะห์) มี 351 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 2.78% = 11 / (44 + 351)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาวบริวารของดาวยูเรนัสและโลก (ดาวเคราะห์) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »