โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราศาสตร์และเขตแผ่รังสี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราศาสตร์และเขตแผ่รังสี

ดาราศาสตร์ vs. เขตแผ่รังสี

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น. วาดแสดงโครงสร้างของดวงอาทิตย์: 1. แกนกลาง 2. เขตแผ่รังสี 3. เขตพาความร้อน 4. โฟโตสเฟียร์ 5. โครโมสเฟียร์ 6. โคโรนา 7. จุดมืดดวงอาทิตย์ 8. Granules 9. Prominence เขตแผ่รังสี (Radiation zone) คือบริเวณใจกลางของเนื้อในดวงอาทิตย์ อยู่ระหว่างแกนกลางกับเขตพาความร้อน พลังงานภายในแกนกลางของดาวจะเดินทางออกมาจากแกนกลางโดยผ่านเขตแผ่รังสี โดยอยู่ในรูปของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า เขตแผ่รังสีนี้มีความหนาแน่นมาก ระยะเวลาที่พลังงานจะผ่านออกมาอาจใช้เวลานับล้าน ๆ ปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราศาสตร์และเขตแผ่รังสี

ดาราศาสตร์และเขตแผ่รังสี มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจุดมืดดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์โฟโตสเฟียร์โครโมสเฟียร์โคโรนา

รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า

ในวิชาฟิสิกส์ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) หมายถึงคลื่น (หรือควอนตัมโฟตอน) ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ผ่านปริภูมิโดยพาพลังงานจากการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยคลาสสิก รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นการสั่นประสานของสนามไฟฟ้าและแม่เหล็กซึ่งแผ่ผ่านสุญญากาศด้วยความเร็วแสง การสั่นองสนามทั้งสองนี้ตั้งฉากกันและตั้งฉากกับทิศทางของการแผ่พลังงานและคลื่น ทำให้เกิดคลื่นตามขวาง แนวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเปล่งจากแหล่งกำเนิดจุด (เช่น หลอดไฟ) เป็นทรงกลม ตำแหน่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถจำแนกลักษณะได้โดยความถี่ของการสั่นหรือความยาวคลื่น สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้ามีคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ รังสีอินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์และรังสีแกมมา โดยเรียงความถี่จากน้อยไปมากและความยาวคลื่นจากมากไปน้อย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดเมื่ออนุภาคมีประจุถูกเร่ง แล้วคลื่นเหล่านี้จะสามารถมีอันตรกิริยากับอนุภาคมีประจุอื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพาพลังงาน โมเมนตัมและโมเมนตัมเชิงมุมจากอนุภาคแหล่งกำเนิดและสามารถส่งผ่านคุณสมบัติเหล่านี้แก่สสารซึ่งไปทำอันตรกิริยาด้วย ควอนตัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรียก โฟตอน ซึ่งมีมวลนิ่งเป็นศูนย์ แต่พลังงานหรือมวลรวม (โดยสัมพัทธ์) สมมูลไม่เป็นศูนย์ ฉะนั้นจึงยังได้รับผลจากความโน้มถ่วง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้นซึ่งสามารถแผ่ตนเองได้โดยปราศจากอิทธิพลต่อเนื่องของประจุเคลื่อนที่ที่ผลิตมัน เพราะรังสีนั้นมีระยะห่างเพียงพอจากประจุเหล่านั้นแล้ว ฉะนั้น บางทีจึงเรียกรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าว่าสนามไกล ในภาษานี้สนามใกล้หมายถึงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าใกล้ประจุและกระแสที่ผลิตมันโดยตรง โดยเจาะจงคือ ปรากฏการณ์การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิต ในทฤษฎีควอนตัมแม่เหล็กไฟฟ้า รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยโฟตอน อนุภาคมูลฐานซึ่งทำให้เกิดอันตรกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งสิ้น ฤทธิ์ควอนตัมทำให้เกิดแหล่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเพิ่ม เช่น การส่งผ่านอิเล็กตรอนไประดับพลังงานต่ำกว่าในอะตอมและการแผ่รังสีวัตถุดำ โฟตอนความถี่สูงขึ้นจะมีพลังงานมากขึ้น ความสัมพันธ์นี้เป็นไปตามสมการของพลังค์ E.

ดาราศาสตร์และรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า · รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าและเขตแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

จุดมืดดวงอาทิตย์

มืดดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 แผนภาพจำนวนของจุดมืดในรอบ 400 ปี จุดมืดดวงอาทิตย์ หรือ จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีอุณหภูมิสูงถึง 3700-4000 เคลวิน เทียบกับบริเวณปกติโดยรอบที่มีอุณหภูมิประมาณ 5800 เคลวิน ถ้าเรานำจุดมืดออกมาจากดวงอาทิตย์มันจะสามารถเปล่งแสงสว่างได้มากกว่าแสงจากการเชื่อมเหล็ก เสียอีก จุดมืดยังเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์อีกมาก เช่น บ่วงโคโรนา (Coronal loop) และ การเชื่อมกันของสนามแม่เหล็ก (Magnetic reconnection) นอกจากนี้การระเบิดใหญ่บนดวงอาทิตย์ (Solar flare) และ การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) ก็ยังเกิดขึ้นในบริเวณสนามแม่เหล็กรอบๆ จุดมืดอีกด้ว.

จุดมืดดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์ · จุดมืดดวงอาทิตย์และเขตแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ดวงอาทิตย์และดาราศาสตร์ · ดวงอาทิตย์และเขตแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

โฟโตสเฟียร์

ฟโตสเฟียร์ (Photosphere) ของวัตถุทางดาราศาสตร์ หมายถึงย่านรอบนอกของวัตถุที่ส่งผ่านแสง คำนี้มาจากภาษากรีกโบราณว่า φως¨- φωτος/photos (โฟตอส) แปลว่า "แสง" และ σφαιρα/sphaira (สไฟรา) แปลว่า "ลูกบอล" ซึ่งสื่อถึงรูปร่างลักษณะของมันที่คล้ายพื้นผิวลูกบอลกลมที่ส่องแสงออกมา ย่านโฟโตสเฟียร์นี้กินพื้นที่ลึกลงไปในพื้นผิวของดาวฤกษ์จนกระทั่งแก๊สกลายเป็นทึบแสง ซึ่งเทียบเท่าค่า optical depth ที่ 2/3.

ดาราศาสตร์และโฟโตสเฟียร์ · เขตแผ่รังสีและโฟโตสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครโมสเฟียร์

กการสังเกตดวงอาทิตย์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่ใส่ฟิลเตอร์ H-alpha ภาพถ่ายโดย Luc Viatour ระหว่างสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1999 โครโมสเฟียร์ (chromosphere; แปลตรงตัวว่า "ทรงกลมสี") คือชั้นบรรยากาศบางๆ รอบดวงอาทิตย์ที่อยู่สูงกว่าโฟโตสเฟียร์ มีขนาดความลึกประมาณ 2,000 กิโลเมตร โครโมสเฟียร์มีลักษณะโปร่งแสงยิ่งกว่าโฟโตสเฟียร์ สาเหตุที่เรียกชื่อเช่นนี้ก็เนื่องมาจากสีของมันซึ่งเป็นสีแดง อันเกิดจากสเปกตรัมที่เกิดขึ้นจากเส้นสเปกตรัม H-alpha ของไฮโดรเจน เราสามารถมองเห็นลักษณะของทรงกลมสีนี้โดยตรงได้ด้วยตาเปล่าในระหว่างการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง โดยจะมองเห็นโครโมสเฟียร์เป็นเหมือนแสงสีสว่างวาบที่ขอบของโฟโตสเฟียร์ที่หายลับไปอยู่หลังดวงจันทร์ ด้วยเหตุผลบางอย่างซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจ อุณหภูมิของโครโมสเฟียร์กลับสูงกว่าโฟโตสเฟียร์ แม้โฟโตสเฟียร์จะอยู่ใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์มากกว่า มีอุณหภูมิอยู่ประมาณ 4,000-6,400 เคลวิน แต่โครโมสเฟียร์กลับมีอุณหภูมิสูงถึง 4,500 ไปจนถึงกว่า 20,000 เคลวิน ทฤษฎีหนึ่งเสนอเกี่ยวกับความผันผวนของ sonic ในบริเวณนี้ที่เกิดจาก magnetohydrodynamic waves อาจเป็นเหตุให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น.

ดาราศาสตร์และโครโมสเฟียร์ · เขตแผ่รังสีและโครโมสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนา

ราสามารถสังเกตเห็นโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ด้วยตาเปล่า ในเวลาที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง โคโรนา (Corona) คือพลาสมาชนิดหนึ่งในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ที่แผ่พุ่งออกไปในอวกาศเป็นระยะทางหลายล้านกิโลเมตร สามารถมองเห็นได้ง่ายในเวลาที่เกิดสุริยุปราคา นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตการได้จากกราฟโคโรนา มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละติน ซึ่งมีความหมายว่า "มงกุฎ" (crown).

ดาราศาสตร์และโคโรนา · เขตแผ่รังสีและโคโรนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราศาสตร์และเขตแผ่รังสี

ดาราศาสตร์ มี 226 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตแผ่รังสี มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 2.55% = 6 / (226 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราศาสตร์และเขตแผ่รังสี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »