เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดาราจักรชนิดก้นหอยและดุมดาราจักร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราจักรชนิดก้นหอยและดุมดาราจักร

ดาราจักรชนิดก้นหอย vs. ดุมดาราจักร

ราจักรชนิดก้นหอย M 101 หรือ NGC 5457 ดาราจักรชนิดก้นหอย (Spiral Galaxy) เป็นดาราจักรแบบหนึ่งในสามประเภทหลักของดาราจักรที่จัดแบ่งโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1936 ตามรูปร่างที่มองเห็น ในงานของเขาที่ชื่อว่า "The Realm of the Nebulae" (อาณาจักรของเนบิวลา) จึงถูกจัดประเภทอยู่ในลำดับของฮับเบิลด้วย ดาราจักรชนิดก้นหอยประกอบด้วยแผ่นจานหมุนแบนๆ ของดาวฤกษ์ แก๊ส และฝุ่น มีจุดศูนย์กลางเป็นกลุ่มดาวฤกษ์หนาแน่นเรียกว่าดุมดาราจักร ล้อมรอบด้วยกลุ่มกลดแบบจางๆ จำนวนมาก ส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นกระจุกดาวทรงกลม ดาราจักรชนิดก้นหอยได้ชื่อนี้จากรูปร่างภายนอกที่มองเห็น ซึ่งมักมีแขนสองแขนเป็นรูปก้นหอยยืดต่อออกมาจากดุมที่ใจกลางไปเชื่อมกับแผ่นจาน แขนก้นหอยเป็นแหล่งซึ่งดาวฤกษ์กำลังก่อตัวใหม่ มักสว่างกว่าบริเวณที่เป็นแผ่นจานโดยรอบ เพราะมีดาวฤกษ์ที่อายุน้อยและร้อนจัด ประมาณครึ่งหนึ่งของดาราจักรชนิดก้นหอยทั้งหมดพบว่าอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างก้นหอยมีคาน ยืดต่อออกมาจากดุม เชื่อว่าดาราจักรทางช้างเผือกของเราก็จัดเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคาน แม้ว่าส่วนที่เป็นโครงสร้างคานจะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนักจากตำแหน่งของโลกเราที่อยู่บนจานหมุน สมมุติฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดได้มาจากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ในการสำรวจบริเวณใจกลางดาราจักร ดาราจักรชนิดก้นหอยพบอยู่มากเป็นจำนวนถึง 70% ของดาราจักรทั้งหมดในเอกภพของเรา พบได้มากที่สุดในเขตที่มีความหนาแน่นต่ำ และไม่ค่อยพบที่ใจกลางของกระจุกดาราจักร. มสสิเยร์ 81 ดาราจักรที่มีดุมแบบดั้งเดิม (classical bulge) สังเกตว่าโครงสร้างแบบก้นหอยสิ้นสุดลงที่ขอบของดุม ภาพเมสสิเยร์ 63 ดาราจักรที่มีดุมแบบไม่ใช่ดุมดั้งเดิม (non-classical bulge) โครงสร้างก้นหอยจะหมุนวนลงไปจนถึงบริเวณใจกลางของดาราจักร ในทางดาราศาสตร์ ดุมดาราจักร (Galactic bulge) คือส่วนที่มีดาวฤกษ์เกาะกลุ่มกันอยู่อย่างหนาแน่นที่สุดในดาราจักร มักใช้ในความหมายถึงกลุ่มดาวฤกษ์ใจกลางดาราจักรที่พบในดาราจักรชนิดก้นหอยโดยส่วนใหญ่ แต่เดิมเคยเชื่อกันว่าดุมดาราจักรนี้เป็นดาราจักรชนิดรีที่มีจานดาวฤกษ์อยู่รอบๆ แต่จากภาพถ่ายความละเอียดสูงโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เผยให้ทราบว่า ดุมดาราจักรจำนวนมากมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกับดาราจักรชนิดก้นหอยมากกว่า ในปัจจุบันนี้เชื่อกันว่า มีดุมดาราจักรอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด คือชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดรี กับชนิดที่มีลักษณะเหมือนดาราจักรชนิดก้นหอย ดุมดาราจักรแบบดั้งเดิม (classical bulge) จะมีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดรี มักประกอบด้วยดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งเก่าแก่กว่า และมีสีค่อนไปทางแดง การเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในดุมชนิดนี้มักเป็นไปแบบไม่เป็นระเบียบ ส่วนดุมดาราจักรที่มีลักษณะคล้ายดาราจักรชนิดก้นหอยจะมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่า และจะเรียกว่า pseudobulges หรือ disky-bulges ดาวฤกษ์จะเคลื่อนที่แบบเป็นระเบียบไปตามทิศทางของระนาบดาราจักรหรือแผ่นจานดาราจักรด้านนอก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราจักรชนิดก้นหอยและดุมดาราจักร

ดาราจักรชนิดก้นหอยและดุมดาราจักร มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลดดาราจักรดาราจักรดาวฤกษ์

กลดดาราจักร

กลดดาราจักร (Galactic halo) หมายถึงบริเวณหนึ่งของดาราจักรที่มีรูปร่างค่อนข้างเป็นทรงกลม ขยายตัวออกมาจากส่วนหลักของดาราจักรที่มองเห็นได้ชัดเจน ห่อหุ้มดาราจักรเอาไว้ แต่ไม่ได้เคลื่อนที่ในแบบเดียวกับดาราจักร สามารถหมายถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ดังต่อไปนี้คือ.

กลดดาราจักรและดาราจักรชนิดก้นหอย · กลดดาราจักรและดุมดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ดาราจักรและดาราจักรชนิดก้นหอย · ดาราจักรและดุมดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ดาราจักรชนิดก้นหอยและดาวฤกษ์ · ดาวฤกษ์และดุมดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราจักรชนิดก้นหอยและดุมดาราจักร

ดาราจักรชนิดก้นหอย มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดุมดาราจักร มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 12.00% = 3 / (14 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราจักรชนิดก้นหอยและดุมดาราจักร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: