เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ดาราจักร vs. ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง. ราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ (Observational astronomy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งในการศึกษาวิทยาการด้านดาราศาสตร์ โดยมีเนื้องานหลักเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการศึกษาที่ตรงข้ามกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีซึ่งมุ่งเน้นที่การค้นหาแบบจำลองทางฟิสิกส์ในการอธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ในทางดาราศาสตร์ การศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะเฝ้าดูวัตถุท้องฟ้าต่างๆ โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์หรือเครื่องมือตรวจวัดในทางดาราศาสตร์อื่นๆ หากพิจารณาในแง่วิทยาศาสตร์ การศึกษาหรือทำการทดลองกับวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไปในเอกภพมากๆ อาจเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ดียังมีปรากฏการณ์ท้องฟ้าต่างๆ มากมายที่นักดาราศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ได้ ข้อมูลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์เหล่านั้นสามารถนำมาพล็อตเป็นกราฟ และสร้างแนวโน้มของข้อมูลที่คาดการณ์ได้ ตัวอย่างของปรากฏการณ์พิเศษที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ดาวแปรแสง ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟิสิกส์ดาราศาสตร์กล้องโทรทรรศน์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกาลิเลโอ กาลิเลอีสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าดาราศาสตร์ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ดาราศาสตร์วิทยุดาราศาสตร์เชิงแสง

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์

ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (อังกฤษ: Astrophysics) เป็นแขนงวิชาทางดาราศาสตร์ ว่าด้วยสมบัติทางกายภาพของวัตถุในอวกาศ ไม่ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ ดาราจักร และเอกภพทั้งหลายทั้งมวล จะเน้นศึกษาแขนงวิชาที่กว่ามาข้างต้น มากกว่าศึกษาตำแหน่งหรือการเคลื่อนที่ของวัถตุต่าง ๆ ในอวกาศ วิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์, ดาวฤกษ์ต่าง ๆ, กาแล็กซีต่าง ๆ, ดาวเคราะห์นอกระบบ, มวลสารระหว่างดาว, รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล สาขาวิชานี้จะตรวจสอบและศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า และปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความเข้มแสง, ความหนาแน่น, อุณหภูมิ และสารประกอบเคมี เนื่องจากวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นั้นครอบคลุมเนื้อหาและแขนงวิชาต่าง ๆ ในบริเวณกว้าง จึงสามารถรวมอีกหลายแขนงวิชาเข้ามาในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์นี้ได้ด้วย อาทิ กลศาสตร์, การศึกษาแรงแม่เหล็กไฟฟ้า, กลศาสตร์สถิติ, อุณหพลศาสตร์, กลศาสตร์ควอนตัม, ทฤษฎีสัมพันธภาพ, ฟิสิกส์นิวเคลียร์, ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร.

ดาราจักรและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

กล้องโทรทรรศน์และดาราจักร · กล้องโทรทรรศน์และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและดาราจักร · กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

กาลิเลโอ กาลิเลอีและดาราจักร · กาลิเลโอ กาลิเลอีและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า

สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) คือ แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่างๆกัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่างๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัมตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับ ดังนี้ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง สเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า.

ดาราจักรและสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า · ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ดาราจักรและดาราศาสตร์ · ดาราศาสตร์และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต

ราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet astronomy) คือการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นความถี่ระดับอัลตราไวโอเลต คือคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 10-320 นาโนเมตร แสงในระดับความยาวคลื่นนี้มักถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไป ดังนั้นการสังเกตการณ์ในช่วงความยาวคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ การตรวจวัดเส้นสเปกตรัมอัลตราไวโอเลตสามารถช่วยในการแยกแยะองค์ประกอบทางเคมี ความหนาแน่น และอุณหภูมิของสสารระหว่างดาวได้ รวมถึงองค์ประกอบและอุณหภูมิของดาวฤกษ์อายุเยาว์ที่ร้อนจัด นอกจากนี้ยังช่วยในการศึกษาวิวัฒนาการของดาราจักรด้วย การเฝ้ามองเอกภพในรังสีอัลตราไวโอเลตจะได้ภาพที่แตกต่างไปจากการสังเกตการณ์ในแสงปกติ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่มักเป็นวัตถุที่ค่อนข้างเย็น เมื่อเทียบกับการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแสงปกติ การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลตจะเกิดจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงมาก ซึ่งโดยมากจะยังอยู่ในช่วงต้นของเส้นทางวิวัฒนาการของมัน.

ดาราจักรและดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลต · ดาราศาสตร์รังสีอัลตราไวโอเลตและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์

ราศาสตร์รังสีเอกซ์ (X-ray astronomy) คือการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นของรังสีเอกซ์ที่แผ่ออกมาจากวัตถุท้องฟ้าต่างๆ รังสีเอกซ์นี้สามารถถูกชั้นบรรยากาศของโลกดูดซับไปได้ ดังนั้นในการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นนี้จึงต้องทำที่ชั้นบรรยากาศรอบนอก หรือในอวกาศ ในปัจจุบันมีโครงการการศึกษาดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ในห้องวิจัยอวกาศและอุปกรณ์ตรวจจับรังสีเอกซ์ในดาวเทียมต่างๆ จำนวนมาก คาดการณ์ว่า รังสีเอกซ์จะเกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีแก๊สร้อน อุณหภูมิระหว่าง 1-100 ล้านเคลวิน กล่าวโดยทั่วไปคือเกิดในวัตถุที่มีพลังงานในอะตอมและอิเล็กตรอนสูงมาก การค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 โดยบังเอิญ แหล่งกำเนิดนั้นคือ Scorpius X-1 ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์แห่งแรกที่พบในกลุ่มดาวแมงป่อง ใกล้กับบริเวณศูนย์กลางของทางช้างเผือก ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ ริคคาร์โด จิอัคโคนิ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ดาราจักรและดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์ · ดาราศาสตร์รังสีเอ็กซ์และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์วิทยุ

กล้องโทรทรรศน์วิทยุจำนวนมากเรียงรายในลานกว้าง ที่รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ดาราศาสตร์วิทยุ (Radio astronomy) เป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ที่เฝ้าศึกษาวัตถุท้องฟ้าในช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ การตรวจจับพบคลื่นวิทยุจากวัตถุทางดาราศาสตร์ (ในทางช้างเผือก) เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงมีความคืบหน้าในการแยกแยะแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในอวกาศที่แตกต่างกัน คือจากดาวฤกษ์ ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าประเภทใหม่ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดาราจักรวิทยุ พัลซาร์ และเมเซอร์ การค้นพบการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลนับเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุด การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุสามารถทำได้โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุเดี่ยวๆ หรือใช้การเชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์หลายตัวและทำงานร่วมกันก็ได้ วิธีหลังจะทำให้สามารถจับภาพของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุได้โดยไม่ต้องกำหนดมุมสังเกตการณ์เสียก่อน.

ดาราจักรและดาราศาสตร์วิทยุ · ดาราศาสตร์วิทยุและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์เชิงแสง

ราศาสตร์เชิงแสง (Optical astronomy) มี 2 ความหม.

ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงแสง · ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์และดาราศาสตร์เชิงแสง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

ดาราจักร มี 133 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 6.76% = 10 / (133 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราจักรและดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: