โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดับเบิล-ดับเบิลและพอยต์การ์ด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดับเบิล-ดับเบิลและพอยต์การ์ด

ดับเบิล-ดับเบิล vs. พอยต์การ์ด

ับเบิล-ดับเบิล (double-double) เป็นศัพท์ทางบาสเกตบอล ใช้เรียกผลงานซึ่งผู้เล่นสามารถทำสองอย่างจากห้าอย่างต่อไปนี้ คะแนน รีบาวด์ แอสซิสต์ สตีล และ บล็อก ได้อย่างน้อยเลขสองหลัก ที่พบบ่อยสุดคือทำได้ 10 แต้ม 10 รีบาวด์ ที่พบบ่อยรองลงมาคือ 10 แต้ม 10 แอสซิสต์ ดับเบิล-ดับเบิล เกิดขึ้นบ่อยๆ ในเกมหนึ่งมักมีผู้เล่นอย่างน้อยหนึ่งคนทำ ดับเบิล-ดับเบิล (โดยเฉพาะ 10 แต้ม 10 รีบาวด์) ซึ่งต่างจาก ทริปเปิล-ดับเบิล หรือ ควอดรูเปิล-ดับเบิล ซึ่งนาน ๆ จึงเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเฉลี่ยในหนึ่งฤดูกาลจะมีผู้เล่นจำนวนไม่มากที่สามารถทำเฉลี่ยได้ ดับเบิล-ดับเบิล (หมายถึงทั้งฤดูกาลมีคำเฉลี่ยสองในห้าอย่างได้เลขสองหลัก ไม่จำเป็นที่ทุกเกมในฤดูกาลต้องทำ ดับเบิล-ดับเบิล ตลอด) ถ้าผู้เล่นสามารถทำสองในห้าอย่างอย่างน้อย 20 เช่น 20 แต้ม 20 รีบาวด์ จะเรียกว่า ดับเบิล-ดับเบิล-ดับเบิล (double-double-double) หมายถึงได้เป็นสองเท่าของ ดับเบิล-ดับเบิล ธรรม. พอยต์การ์ด หรือ การ์ดจ่าย (point guard) เป็นผู้เล่นตำแหน่งหนึ่งในบาสเกตบอล พอยต์การ์ดมักเป็นผู้เล่นที่มีรูปร่างเล็กที่สุดในทีมและมีหน้าที่เฉพาะ คือดูแลการบุกของทีมโดยควบคุมลูกและส่งลูกไปยังผู้เล่นที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม พอยต์การ์ดมักเป็นผู้ที่นำลูกไปยังสนามฝั่งตรงข้ามเพื่อเริ่มเกมบุก ดังนั้นทักษะการส่งลูกและสายตาที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก การประเมินพอยต์การ์ดมักดูจากจำนวนแอสซิสต์มากกว่าคะแนนที่ทำได้ อย่างไรก็ตามพอยต์การ์ดชั้นนำควรชู้ตลูกจากระยะไกลได้ดี พอยต์การ์ดยังควรมีความเป็นผู้นำเหมือนผู้เล่นตำแหน่งควอเตอร์แบ็คในอเมริกันฟุตบอล เป็นหน้าที่ของพอยต์การ์ดที่ทำให้ทีมทำคะแนนได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งลูก การกำหนดแผนการเล่น การจ่ายลูกไปยังเพื่อนร่วมทีมที่คิดว่าอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดในการทำแต้ม และควบคุมจังหวะความเร็วของเกม หลายครั้งนักพากย์กีฬาเรียกพอยต์การ์ดว่าเป็นโค้ชในสนาม หรือแม่ทัพในสนาม (coach on the floor, floor general) ซึ่งในอดีตพอยต์การ์ดหลายคน เช่น เลนนี วิลเคนส์ (Lenny Wilkens) ก็เป็นทั้งผู้เล่นและโค้ชของทีมในเวลาเดียวกัน แต่ปัจจุบันไม่ค่อยพบบ่อยนัก ปกติโค้ชชอบเรียกแผนการเล่นทุกครั้งที่มีการครองบอล แต่พอยต์การ์ดบางคนก็ได้สิทธิ์ในการเรียกแผนการเล่นเอง ตัวอย่างเช่น สตีฟ แนช (Steve Nash) ในฤดูกาล 2004-05 ซึ่งได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า โค้ช ไมค์ แดนโทนี (Mike D'Antoni) อนุญาตให้แนชเลือกเล่นได้ตามอิสระ หรือกำหนดแผนการเล่นเองหลายครั้ง ถึงแม้ว่าพอยต์การ์ดอีกหลายคนที่ไม่ได้อิสระเช่นนี้แต่ก็ยังถือว่าผู้ช่วยโค้ชในสนาม รับแผนการเล่นที่ได้จากโค้ชและบอกต่อให้กับผู้เล่นที่เหลือในทีม แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ สไตล์การเล่นของพอยต์การ์ดแตกต่างกันออกไป บางคนประสบความสำเร็จเนื่องจากความคล่องแคล่วรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น แนช, อัลเลน ไอเวอร์สัน (Allen Iverson) และ โทนี พาร์กเกอร์ (Tony Parker) พอยต์การ์ดอื่น ๆ เช่น ไมค์ บิบบี (Mike Bibby) อาศัยความฉลาดในการนำทีม พอยต์การ์ดที่มีประสิทธิผลหลายคนช่วยทีมด้วยการทำคะแนน เช่น ชอนซี บิลลัพส์ (Chauncey Billups), เจสัน เทอร์รี (Jason Terry) เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญของพอยต์การ์ดคือความสามารถในการส่งบอลและเลี้ยงลูกโดยไม่เสียเทอร์นโอเวอร์ และกำกับให้ทีมอยู่ในความควบคุม ตัวอย่างพอยต์การ์ดที่มีชื่อเสียงในระดับแนวหน้าของปัจจุบัน เช่น สตีฟ แนช, อัลเลน ไอเวอร์สัน, โทนี พาร์กเกอร์, เจสัน คิดด์ (Jason Kidd), ชอนซี บิลลัพส์, ซู เบิร์ด (Sue Bird ใน ดับบลิวเอ็นบีเอ) และ กิลเบิร์ต อะรีนัส (Gilbert Arenas) เป็นต้น พอยต์การ์ดที่ยิ่งใหญ่ในอดีตเช่น บ็อบ คอสี (Bob Cousy), เลนนี วิลเคนส์, แมจิก จอห์นสัน (Magic Johnson ส่วนสูง 2.06 เมตร ซึ่งสูงกว่าพอยต์การ์ดทั่วไปมาก), ไอเซยา ทอมัส (Isiah Thomas) และ จอห์น สต็อกตัน (John Stockton) การ์ดอีกคนที่มีชื่อเสียงมากคือ ออสการ์ รอเบิร์ตสัน (Oscar Robertson) ซึ่งรวมทักษะของพอยต์การ์ดและสมอลฟอร์เวิร์ดเข้าด้วยกัน เปรียบได้กับผู้เล่นพอยท์ฟอร์เวิร์ดในปัจจุบัน หมวดหมู่:บาสเกตบอล he:כדורסלן#תפקידים.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดับเบิล-ดับเบิลและพอยต์การ์ด

ดับเบิล-ดับเบิลและพอยต์การ์ด มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บาสเกตบอลแอสซิสต์ (บาสเกตบอล)

บาสเกตบอล

การแข่งขันบาสเกตบอลหญิงชิงถ้วยยุโรปของ FIBA ปี พ.ศ. 2548 ไมเคิล จอร์แดน ขณะกระโดดแสลมดังก์ บาสเกตบอล (อังกฤษ: basketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ เนสมิทESPN.com,, เรียกดูข้อมูล 4 กุมภาพัน..

ดับเบิล-ดับเบิลและบาสเกตบอล · บาสเกตบอลและพอยต์การ์ด · ดูเพิ่มเติม »

แอสซิสต์ (บาสเกตบอล)

ในบาสเกตบอล แอสซิสต์ (assist.) เป็นสถิติที่นับให้กับผู้เล่นที่ส่งลูกให้เพื่อนร่วมทีมทำคะแนนได้สำเร็จ โดยที่การส่งนี้มีส่วนสำคัญมากในการทำคะแนนครั้งนั้น อาจจะส่งลูกไปให้ผู้เล่นอื่นที่ยืนอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบอยู่แล้ว หรือช่วยให้ผู้เล่นคนนั้นได้เปรียบในการทำแต้ม ดังนั้นการนับแอสซิสต์อยู่ที่วิจารณญาณของกรรมการให้คะแนนด้วย คนที่แอสซิสต์เก่ง ต้องยอมที่จะจ่ายลูกในขณะใดก็ตาม ไม่ใช้เพียงเพราะไม่สามารถเลี้ยงลูกต่อได้ หรือมีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมาบีบหลายคน ตัวอย่างหนึ่ง คือ สเตฟอน มาร์เบอร์รี (Stephon Marbury) ซึ่งทำเฉลี่ยได้ 8 แอสซิสต์ต่อเกม แต่ทั้งเพี่อนร่วมทีมและทีมตรงข้ามต่างเห็นพ้องต้องกันว่า มาร์เบอร์รี เห็นแก่ตัวจะส่งลูกก็ต่อเมื่อโดนสถานการณ์บังคับเท่านั้น ผู้เล่นที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้ที่แอสซิสต์ดีสุดคือ จอห์น สต็อกตัน (John Stockton) ด้วยสถิติสูงสุดตลอดกาลสูงถึง 15,806 แอสซิสต์และเป็นที่คาดว่าสถิติจะคงอยู่อีกนาน มาร์ค แจ็กสัน (Mark Jackson) ผู้เล่นสถิติอันดับรองลงมามีแอสซิสต์เพียง 10,334 เท่านั้น ผู้เล่นตำแหน่งพอยท์การ์ดมักมีแอสซิสต์สูงสุด ในขณะที่ตำแหน่งเซ็นเตอร์มักมีแอสซิสต์สูงสุด จะมีข้อยกเว้นเช่น วิลท์ แชมเบอร์เลน (Wilt Chamberlain) เซ็นเตอร์ที่เคยทำสถิติแอสซิลต์สูงสุดในฤดูกาลครั้งหนึ่ง แอสซิสต์นิยมวัดเป็นค่าเฉลี่ยต่อเกม (assist per game, APG) อีกค่าหนึ่งที่นิยมใช้วัดคือจำนวนแอสซิสต์ต่อเทอร์นโอเวอร์ (assist to turnover ratio) ซึ่งสามารถบอกได้ว่าส่งลูกพลาดมากน้อยแค่ไหน ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงเรื่องแอสซิสต์ เช่น จอห์น สต็อกตัน, แมจิก จอห์นสัน, มาร์ค แจ็กสัน, บ็อบ คอสสี (Bob Causy), แกรี เพย์ตัน (Gary Payton), เจสัน คิดด์ (Jason Kidd), สตีฟ แนช (Steve Nash), อัลเลน ไอเวอร์สัน (Allen Iverson), สเตฟอน มาร์เบอร์รี, ออสการ์ รอเบิร์ตสัน (Oscar Robertson), เควิน จอห์นสัน (Kevin Johnson), บารอน เดวิส (Baron Davis) สเตฟอน มาร์เบอร์รี และ ออสการ์ รอเบิร์ตสัน เป็นผู้เล่นเพียงสองคนในเอ็นบีเอที่ทำสถิติเฉลี่ยตลอดอาชีพการเล่นที่ 20 แต้ม 8 แอสซิสต.

ดับเบิล-ดับเบิลและแอสซิสต์ (บาสเกตบอล) · พอยต์การ์ดและแอสซิสต์ (บาสเกตบอล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดับเบิล-ดับเบิลและพอยต์การ์ด

ดับเบิล-ดับเบิล มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ พอยต์การ์ด มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 2 / (7 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดับเบิล-ดับเบิลและพอยต์การ์ด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »