เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดังเคิลออสเตียสและยุคดีโวเนียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดังเคิลออสเตียสและยุคดีโวเนียน

ดังเคิลออสเตียส vs. ยุคดีโวเนียน

ังเคิลออสเตียส (Dunkleosteus) เป็นสกุลของปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ปัจจุบันนี้สูญพันธุ์ไปแล้วสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Dunkleosteus (มาจาก "(เดวิด) Dunkle" + osteus (οστεος, ภาษากรีก: กระดูก); หมายถึง "กระดูกของดังเคิล" ซึ่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เดวิด ดังเคิล ภัณฑารักษ์แห่งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์) ดังเคิลออสเตียส เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในปลายยุคดีโวเนียน (380-360 ล้านปีมาแล้ว) จัดเป็นปลาที่มีขากรรไกรที่เป็นปลานักล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ที่เป็นเสมือนคู่แข่งตัวฉกาจของปลาฉลามในยุคต้นของการวิวัฒนาการเลยทีเดียว ดังเคิลออสเตียส ถือเป็นสกุลของปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่ในอันดับ Arthrodira รูปลักษณ์ภายนอกของปลาสกุลนี้แลดูดุดันน่ากลัวมาก ที่เห็นเด่นชัดสุดคงเป็นแผ่นขากรรไกรแข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี ไม่มีฟันแต่ที่ขอบปากมีลักษณะแหลมคล้ายเขี้ยวทั้งด้านบนและล่าง ทำให้เป็นเหมือนจะงอยปากไว้งับเหยื่อโดยไม่ต้องใช้ฟัน ในขณะที่มีลำตัวตัวยาว 3-9 เมตร และหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน และมีโครงสร้างประกอบด้วยเกล็ดอย่างหนาและแข็งเสมือนชุดเกราะ มีทั้งหมด 7 ชนิด และเป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานไปเมื่อปี ค.ศ. 2010 2 ชนิด (ดูในตาราง) ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลจำนวนมากของดังเคิลออสเตียสในทวีปอเมริกาเหนือ, โปแลนด์, เบลเยียม และโมร็อกโก แต่มักเป็นฟอสซิลส่วนหัว ทำให้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าท่อนล่างของลำตัวเป็นอย่างไร จากโครงสร้างเสมือนเกราะแข็งหนักของดังเคิลออสเตียสทำให้เชื่อว่าเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้ไม่คล่องแคล่วว่องไวเหมือนปลาชนิดอื่น และชอบอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งมากกว่า นักวิทยาศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ฟิล์ด มิวเซียม และมหาวิทยาลัยชิคาโก ศึกษาโครงสร้างขากรรไกรของดังเคิลออสเตียสแล้วมีความเห็นว่าต้องเป็นปลาที่มีพลังในการกัดมหาศาลเหนือกว่าปลาชนิดอื่นใด และเหนือกว่าปลาฉลามทั่วไป และแม้แต่ปลาฉลามขาว โดยมีแรงกดทับสูงถึง 8,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ซึ่งความร้ายกาจอันนี้จึงมักจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์กินเนื้อเช่น ไทรันโนซอรัส และจระเข้สมัยใหม่เสียมากกว่า นอกจากนี้ยังอ้าปากได้เร็วมากในอัตรา 1 ใน 50 ส่วนของวินาที ซึ่งทำให้มีพลังมหาศาลในการดูดเหยื่อเข้าไป ซึ่งลักษณะพิเศษเช่นนี้นี้ยังพบได้ในปลากระดูกแข็งสมัยใหม่ที่มีพัฒนาการก้าวหน้าโดยส่วนใหญ่ แต่ปลาในอันดับ Arthrodira นี้มีชีวิตอยู่บนโลกสั้นมาก กล่าวคือ อยู่ได้เพียงประมาณ 50 ล้านปีก็สูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็วในช่วงปลายยุคดีโวเนียน โดยปัจจุบันตามพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาต่าง ๆ ยังมีซากฟอสซิลดังเคิลออสเตียสเก็บแสดงอยู่ โดยที่ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์ในสหรัฐอเมริกา และพิพิธภัณฑ์ควีนส์แลนด์ในออสเตรเลี. ีโวเนียน (Devonian) เป็นยุคที่สี่ของมหายุคพาลีโอโซอิก ยุคนี้เริ่มนับตั้งแต่จุดสิ้นสุดของยุคไซลูเรียน เมื่อประมาณ 419.2±3.2 ล้านปีก่อน และสิ้นสุดลงเมื่อก่อนเริ่มยุคคาร์บอนิเฟอรัส ประมาณ 358.9±0.4 ล้านปีก่อน ยุคนี้ตั้งชื่อตามเดวอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งแรกที่มีการศึกษาหินของยุคนี้ นักธรณีวิทยาจัดว่ายุคดีโวเนียนนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตบนบก และพืชบกเริ่มกระจายเข้าสู่แผ่นดินส่วนใน ทำให้เริ่มมีการก่อตัวเป็นป่าซึ่งจะค่อยๆปกคลุมทวีป ช่วงกลางยุคดีโวเนียน พืชบางชนิดจะเริ่มวิวัฒนาการเป็นพืชมีใบและมีรากที่มั่นคง และปลาได้วิวัฒนาการมามากกว่าออสทราโคเดิร์มแล้ว และยุคนี้มีปลาชุกชุมจึงถูกเรียกว่า ยุคแห่งปลา (Age of Fish) ปลาหลายชนิดได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้น ซึ่งภายหลังพวกมันเป็นต้นตระกูลของปลาขนาดใหญ่หลายชนิด ขณะที่ปลามีเกราะได้เริ่มลงจำนวนลงในแหล่งน้ำทุกๆ แห่ง บรรพบุรุษของสัตว์สี่ขาได้เริ่มขึ้นมาเดินอยู่บนบก ครีบของพวกมันได้วิวัฒนาการมาเป็นขา ส่วนในทะเล ฉลามดึกดำบรรพ์มีจำนวนมากขึ้นกว่าที่มีในยุคไซลูเรียนและปลายยุคออร์โดวิเชียน ปลายยุคดีโวเนียนได้เกิดการสูญพันธุ์ขึ้น เมื่อประมาณ 375 ล้านปีก่อน การสูญพันธุ์นี้ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ ปลามีเกราะและไทรโลไบต์ทั้งหมดสูญพันธุ์ ทวีปในยุคนี้แบ่งเป็นมหาทวีปกอนด์วานา ทางตอนใต้ ทวีปไซบีเรีย ทางตอนเหนือ และเริ่มมีการก่อตัวของทวีปขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ยูราเมริกา ในตำแหน่งระหว่างกลางของกอนด์วานาและไซบีเรี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดังเคิลออสเตียสและยุคดีโวเนียน

ดังเคิลออสเตียสและยุคดีโวเนียน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปลาปลามีเกราะ

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ดังเคิลออสเตียสและปลา · ปลาและยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น Placodermi หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง) ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน.

ดังเคิลออสเตียสและปลามีเกราะ · ปลามีเกราะและยุคดีโวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดังเคิลออสเตียสและยุคดีโวเนียน

ดังเคิลออสเตียส มี 55 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุคดีโวเนียน มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.94% = 2 / (55 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดังเคิลออสเตียสและยุคดีโวเนียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: