เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก vs. ไมโครซอฟท์

ปัตยกรรมของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (.NET Framework) คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยรองรับภาษาดอตเน็ตมากกว่า 40 ภาษา ซึ่งมีไลบรารีเป็นจำนวนมากสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึงบริหารการดำเนินการของโปรแกรมบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยไลบรารีนั้นได้รวมถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเชื่อมต่อฐานข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับ ขั้นตอนวิธี การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน โปรแกรมที่เขียนบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก จะทำงานบนสภาพแวดล้อมที่บริหารโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดย CLR นั้นเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือน ทำให้ผู้พัฒนาไม่ต้องคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่างระหว่างหน่วยประมวลผลต่างๆ และ CLR ยังให้บริการด้านกลไกระบบความปลอดภัย การบริหารหน่วยความจำ และException handling ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นออกแบบมาเพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นยังได้เป็นส่วนประกอบในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์วิสตา ซึ่งรุ่นแรกได้ออกในปีพ.ศ. 2545 รุ่นที่สองได้ออกในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสองนั้นได้รองรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกือบทุกรุ่น และรุ่นที่สาม ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันได้ออกวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยได้รองรับวินโดวส์เอกซ์พี SP2 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP1 และวินโดวส์วิสต. มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์ มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2545พ.ศ. 2548การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98วินโดวส์วิสตาวินโดวส์เอ็นทีวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003หน่วยประมวลผลกลางซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอไมโครซอฟท์ วินโดวส์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและพ.ศ. 2545 · พ.ศ. 2545และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและพ.ศ. 2548 · พ.ศ. 2548และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และขั้นตอนวิธีที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซวอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน.

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก · การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและระบบปฏิบัติการ · ระบบปฏิบัติการและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์ 98

วินโดวส์ 98 (Windows 98, ชื่อรหัส: Memphis) เป็นระบบปฏิบัติการ GUI ออกแบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไปซึ่งเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และวางจำหน่ายวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) และรุ่นอัปเดตวินโดวส์ 98 Second Edition ได้ออกวางจำหน่ายวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) รุ่นต่อจากวินโดวส์ 98 คือวินโดวส์ Me.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและวินโดวส์ 98 · วินโดวส์ 98และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์วิสตา

วินโดวส์วิสตา (Windows Vista) คือระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ที่พัฒนาต่อมาจากวินโดวส์เอกซ์พี และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ วินโดวส์วิสตา อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์ วินโดวส์วิสตาได้มีความสามารถใหม่หลายร้อยประการ ไม่ว่าจะเป็นระบบแสดงผลกราฟิกใหม่ โปรแกรมใหม่ ความสามารถค้นหาที่ดีกว่าเดิม รวมถึงระบบองค์ประกอบภายในอย่างในส่วนเน็ตเวิร์ก ระบบเสียง การพิมพ์ และการแสดงผลที่ได้ถูกออกแบบและเขียนขึ้นมาใหม่ และยังได้รวมดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ซึ่งช่วยผู้พัฒนาระบบสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ดี วินโดวส์วิสตา ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับบรรดาผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก แต่หลังจากออกเวอร์ชันทางการแล้ว ก็มีผู้ใช้ส่วนใหญ่แสดงความไม่พอใจและกลับไปใช้ วินโดวส์เอกซ์พี เนื่องจาก วินโดวส์วิสตา ยังไม่ค่อยตอบสนองต่อผู้ใช้ทางบ้านเท่าที่ควร กล่าวคือ วินโดวส์วิสตา ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หลังจากนั้น ไมโครซอฟท์ได้หยุดการสนับสนุนในระยะ mainstream support บนวินโดวส์วิสตา ในวันที่ 10 เมษายน 2555 และในระยะ Extended support ในวันที่ 11 เมษายน 2560.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและวินโดวส์วิสตา · วินโดวส์วิสตาและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เอ็นที

วินโดวส์เอ็นที (Windows NT) เป็นกลุ่มสายผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งรุ่นแรกออกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2536 (ค.ศ. 1993) โดยแรกเริ่มได้ออกแบบให้มีสมรรภาพสูง ไม่ขึ้นอยู่กับหน่วยประมวลผล และรองรับหลายหน่วยประมวลผล หลายผู้ใช้พร้อมๆกัน วินโดวส์เอ็นทียังเป็นรุ่นแรกที่เป็น 32-บิตเต็มตัว ซึ่งวินโดวส์ 10 และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2016 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดที่ใช้ฐานเอ็นที แม้ว่าปัจจุบันนี้ไม่ใช่ชื่อเอ็นทีแล้วก็ตาม.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและวินโดวส์เอ็นที · วินโดวส์เอ็นทีและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003) เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์ 2000 เซิร์ฟเวอร์ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 · วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หรือย่อว่า ซีพียู (CPU) เป็นวงจรอิเลคทรอนิกส์ที่ทำงาน หรือประมวลผล ตามชุดของคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ คำนี้เริ่มใช้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ต้นศตวรรษ 1960s หน่วยประมวลผลเปรียบเสมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ในการทำหน้าที่ตัดสินใจหรือคำนวณ จากคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การเปรียบเทียบ การกระทำการทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ โดยมีกระบวนการพื้นฐานคือ.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและหน่วยประมวลผลกลาง · หน่วยประมวลผลกลางและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์

OpenOffice.org Writer ซอฟต์แวร์ (software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แ.

ซอฟต์แวร์และดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก · ซอฟต์แวร์และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ

มโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ คือ Integrated Development Environment พัฒนาขึ้นโดยไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ เว็บแอปพลิเคชัน และ เว็บเซอร์วิซ ระบบที่รองรับการทำงานนั้นมีไมโครซอฟท์ วินโดวส์ พ็อคเกตพีซี Smartphone และ เว็บเบราว์เซอร์ ในปัจจุบัน วิชวลสตูดิโอนั้นสามารถใช้ภาษาโปรแกรมที่เป็นภาษาดอตเน็ต ในโปรแกรมเดียวกัน เช่น VB.NET C++ C# J# เป็นต้น วิชวลสตูดิโอ 2008 ซึ่งเป็นรุ่นหลังจาก 2010 ได้แบ่งเป็นรุ่นดังต่อไปนี้.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ · ไมโครซอฟท์และไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ไมโครซอฟท์และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบ Token Ring เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือ.

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ · เครือข่ายคอมพิวเตอร์และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไมโครซอฟท์ มี 141 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 7.78% = 13 / (26 + 141)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กและไมโครซอฟท์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: