เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดวงอาทิตย์และไททาเนีย (ดาวบริวาร)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดวงอาทิตย์และไททาเนีย (ดาวบริวาร)

ดวงอาทิตย์ vs. ไททาเนีย (ดาวบริวาร)

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน. 1986 ไททาเนีย (Titania) เป็นดาวบริวารลำดับที่ 17 นับตามระยะทางจากดาวยูเรนัส ถูกค้นพบเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 1787 โดย วิลเลียม เฮอร์เชล มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ไททาเนียได้ตั้งชื่อตามราชินิแห่งนางฟ้า จากเรื่อง A Midsummer Night's Dream ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ วงโคจรของไททาเนียอยู่ในสนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัส พื้นผิวส่วนใหญ่ของไททาเนียเป็นหินและน้ำแข็ง ส่วนแกนชั้นนอกเป็นหิน แต่แกนชั้นในเป็นน้ำแข็ง ต่อมาเครื่องอินฟราเรดสเปกโทรสโคป ได้เริ่มสำรวจแล้วพบว่ามีน้ำแข็งแห้งและน้ำแข็งบนพื้นผิวเป็นจำนวนมาก ไททาเนียเหมือนกับดาวบริวารหลักอื่นๆ คือเกิดจากจานพอกพูนมวล ในปี 2013 นักดาราศาสตร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับดาวบริวารของดาวยูเรนัสมากขึ้น จากการสำรวจของยานวอยเอจเจอร์ 2 เมื่อ เดือนมกราคม 1986 ซึ่งการสำรวจครั้งนั้นทำให้สามารถทำแผนที่ดาวได้แค่ 40 % เท่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดวงอาทิตย์และไททาเนีย (ดาวบริวาร)

ดวงอาทิตย์และไททาเนีย (ดาวบริวาร) มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล

วิลเลียม เฮอร์เชล วิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) (พ.ศ. 2281 - 2365) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสโดยบังเอิญใน พ.ศ. 2324 ขณะเขากำลังส่องกล้องโทรทรรศน์ศึกษาดาวฤกษ์ ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าดวงแรกที่ถูกค้นพบ เฮอร์เชลเป็นนักดนตรีอาชีพที่อพยพจากเมืองฮันโนเวอร์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี) มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอังกฤษ งานอดิเรกของเขาคือ การสร้างกล้องโทรทรรศน์ และมีความชำนาญมากในการศึกษาสังเกตดวงดาว การค้นพบดาวยูเรนัสทำให้เฮอร์เชลมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก น้องสาวของเขา คือ แคโรลีน เฮอร์เชล (พ.ศ. 2293 - 2391) ทำงานร่วมกับเขา และได้ค้นพบดาวหางหลายดวง.

ดวงอาทิตย์และวิลเลียม เฮอร์เชล · วิลเลียม เฮอร์เชลและไททาเนีย (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดวงอาทิตย์และไททาเนีย (ดาวบริวาร)

ดวงอาทิตย์ มี 88 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไททาเนีย (ดาวบริวาร) มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.06% = 1 / (88 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์และไททาเนีย (ดาวบริวาร) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: