ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฐานธรณีภาคและรอยเลื่อน
ฐานธรณีภาคและรอยเลื่อน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เทือกเขากลางสมุทรเปลือกโลก
เทือกเขากลางสมุทร
ตำแหน่งการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขากลางสมุทรของโลก จาก USGS เทือกเขากลางสมุทร เปลือกโลกใต้มหาสมุทรเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร ขณะที่ธรณีภาคชั้นนอกมุดลงไปยังฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร เทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic ridge) คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร.
ฐานธรณีภาคและเทือกเขากลางสมุทร · รอยเลื่อนและเทือกเขากลางสมุทร ·
เปลือกโลก
ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ฐานธรณีภาคและรอยเลื่อน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฐานธรณีภาคและรอยเลื่อน
การเปรียบเทียบระหว่าง ฐานธรณีภาคและรอยเลื่อน
ฐานธรณีภาค มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ รอยเลื่อน มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 6.90% = 2 / (11 + 18)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฐานธรณีภาคและรอยเลื่อน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: