โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌ้อปาอ๋องและรัฐฉิน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฌ้อปาอ๋องและรัฐฉิน

ฌ้อปาอ๋อง vs. รัฐฉิน

หน้ากากอุปรากรฌ้อปาอ๋อง ฌ้อปาอ๋อง หรือ ซีฉู่ป้าหวัง (Xīchǔ Bàwáng, 楚霸王) เป็นขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ในยุคปลายราชวงศ์ฉินที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน เป็นคู่ปรับคนสำคัญของหลิวปังหรือจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น ฌ้อปาอ๋อง มีชื่อเดิมว่า เซี่ยงอวี่ (Xiang Yu, 项羽) เกิดเมื่อ 232 ปีก่อนคริสตกาล ตรงกับยุคจ้านกว๋อ ที่แคว้นฌ้อ หรือ แคว้นฉู่ (ปัจจุบันครอบคลุมดินแดนของมณฑลหูหนาน, มณฑลหูเป่ย์, ฉงชิ่ง, มณฑลเหอหนาน, มณฑลอานฮุย และบางส่วนของมณฑลเจียงซูและมณฑลเจียงซี) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวขานว่ามีพละกำลังมหาศาล สามารถยกกระถางธูปที่มีน้ำหนักนับร้อยกิโลกรัมไว้บนเหนือหัวได้ เกิดในตระกูลขุนศึก ได้รับการเล่าเรียนวิชายุทธและการศึกจาก เซี่ยงเหลียง (Xiang Liang, 項梁) ผู้เป็นอา ต่อมาเมื่อปลายราชวงศ์ฉิน เกิดกบฏชาวนาและอีกหลายกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เซี่ยงอวี่ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย และด้วยความสามารถ ทำให้ได้เป็นผู้นำระดับแม่ทัพ และได้ร่วมมือกับหลิวปังในการโจมตีหัวเมืองต่าง ๆ โดยวีรกรรมครั้งสำคัญคือ เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล เซี่ยงอวี่นำทัพไปที่เมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์ฉิน ทั้งที่มีกองกำลังน้อยกว่ามากถึง 10 ต่อ 1 หลังจากข้ามแม่น้ำจางเหอไปแล้ว เซี่ยง หวี่ได้สั่งการให้ทหารทั้งหมดที่พกเสบียงอาหารแห้งจำนวนที่จะพอรับประทานได้ 3 วัน และให้ทุบหม้อสำหรับปรุงอาหาร และให้เจาะรูให้เรือที่ข้ามแม่น้ำมาให้รั่วทั้งหมด เพื่อที่จะเอาชนะให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ตายกันหมด ซึ่งวีรกรรมตรงนี้ได้กลายมาเป็นภาษิตในภาษาจีนที่ว่า "ทุบหม้อจมเรือ" อันหมายถึง สิ่งสำคัญที่ตัดสินชะตากรรม ซึ่งเซี่ยงอวี่ได้รับชัยชนะ แต่ปรากฏเป็นกองทัพของหลิวปังที่ได้เข้าสู่เมืองหลวงก่อน พร้อมกับได้นั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ สร้างความไม่พอใจให้แก่เซียงอวี่ ต่อมา เซียงอวี่ได้ประกาศตนเองเป็น ฌ้อปาอ๋อง อันหมายถึง "อ๋องแห่งฌ้อผู้ยิ่งใหญ่" พร้อมกับได้สถาปนาให้หลิวปังมีบรรดาศักดิ์เป็น ฮั่นอ๋อง (King of Han, 汉王) ต่อมาเซี่ยงอวี่กับหลิวปังก็แตกแยกกัน ทั้งคู่ทำสงครามแย่งชิงราชบัลลังก์กันนานถึง 4 ปี ที่เรียกกันว่า สงครามฉู่-ฮั่น (Chu–Han contention, 楚汉战争) ในระยะแรก ฌ้อปาอ๋องที่มีกองกำลังมากกว่าได้รับชัยชนะต่อเนื่องกันหลายครั้ง แต่หลิวปังซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาและขุนพลคนสำคัญ คือ เตียวเหลียง (Zhang Liang 張良), เซี่ยวเหอ (Xiao He, 蕭何) และ ฮั่นสิน (Han Xin, 韓信) ทำให้ได้เปรียบได้ตอนท้าย และกลายมาเป็นฝ่ายยกกองทัพปิดล้อมกองทัพฌ้อ จนฌ้อปาอ๋องและหยูจี ซึ่งเป็นนางสนมไม่มีทางหนี ขณะที่กำลังถูกปิดล้อมอยู่นั้น กล่าวกันว่าฝ่ายฮั่นได้เล่นเพลงของฌ้อดังไปถึงกองทัพของฌ้อเพื่อข่มขวัญ ทำให้ฌ้อปาอ๋องเกิดมุทะลุบุกขึ้นมาตีฝ่าวงล้อม ซึ่งทำให้ต้องเสียไพร่พลที่เหลือน้อยอยู่แล้วลงไปอีก และตัวเองต้องหนีไปจนมุมที่แม่น้ำไก่เซี่ย (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลอานฮุย) และฆ่าตัวตายด้วยการเชือดลำคอด้วยดาบในที่สุด จบชีวิตลงเมื่อปี 202 ปีก่อนคริสตกาล ขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น เรื่องราวของฌ้อปาอ๋องได้รับการเล่าขานสืบต่อกันมาในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่บุคลิกของฌ้อปาอ๋อง จะเป็นไปในลักษณะของ ชายรูปร่างสูงใหญ่ บึกบึน ไว้หนวดไว้เครา อุปนิสัยโหดร้าย เจ้าอารมณ์ และมุทะลุดุดัน เนื่องจากการบุกเมืองเสียนหยาง ฌ้อปาอ๋องได้สั่งเผาและฝังทั้งเป็นทหารฉินถึง 200,000 นาย และต่อมาเมื่อมีอำนาจ ก็เป็นบุคคลเจ้าอารมณ์ไม่ฟังเสียงทัดทานของผู้คนรอบข้าง ผิดกับหลิวปัง ซึ่งใจเย็น สุขุม และมีเมตตากว่า จึงเป็นที่นิยมของราษฎร ขณะเดียวกันชีวิตส่วนตัวของฌ้อปาอ๋องกับนางสนมหยูจี ที่เป็นผู้หญิงที่สวยมาก ที่อยู่เคียงข้างจนวาระสุดท้าย ก็เป็นที่เล่าขานกัน ซึ่งก่อนที่ฌ้อปาอ๋องจะลุกขึ้นมานำทัพบุกฝ่าวงล้อมของกองทัพฮั่นนั้น ได้เข้าไปร่ำลานางหยูจี พร้อมกับตีกลองร้องเพลงที่มีความหมายถึงวาระสุดท้ายของชีวิตตนเอง ซึ่งเรียกว่า "เพลงแห่งไก่เซี่ย" (Song of Gaixia, 垓下歌) ที่อาจถอดความหมายได้ว่า ซึ่งเรื่องราวของฌ้อปาอ๋อง ได้บันทึกไว้ในวรรณคดีเรื่องสำคัญแห่งการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น คือ ไซฮั่น และในยุคปัจจุบันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Great Conqueror's Concubine ในปี ค.ศ. 1993 นักแสดงผู้ที่รับบทฌ้อปาอ๋อง คือ หลี่ เหลียงเหว่ย หรือละครโทรทัศน์ทุนสร้างสูงในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งผู้รับบทนี้ คือ เหอ ยุ่นตง หรืออ้างอิงถึงในภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ในปี.. ฉิน เป็นรัฐจีนโบราณในช่วงราชวงศ์โจว ถือกำเนิดจากการยึดดินแดนฟากตะวันตกที่เคยเสียให้แก่ชาวซีหรง (西戎) ความที่ตั้งอยู่ชายขอบด้านตะวันตกของอารยธรรมจีนนี้เอง ทำให้รัฐฉินขยายพื้นที่และพัฒนาได้อย่างที่รัฐคู่แข่งทางที่ราบจีนเหนือไม่สามารถทำได้มาก่อน ครั้นเมื่อปฏิรูปกฎหมายขนานใหญ่ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล รัฐฉินก็กลายเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจที่โดดเด่นของกลุ่มเจ็ดรณรัฐ (戰國七雄) จนผนวกดินแดนจีนทั้งมวลได้ในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาลภายใต้การนำของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝; "ปฐมจักรพรรดิฉิน") ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิฉิน (秦朝) ซึ่งแม้จะดำรงอยู่ไม่นาน แต่ก็มีอิทธิพลมากยิ่งในประวัติศาสตร์จีนยุคหลัง หมวดหมู่:สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศจีน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฌ้อปาอ๋องและรัฐฉิน

ฌ้อปาอ๋องและรัฐฉิน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์ฉินประวัติศาสตร์จีนเสียนหยาง

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ฌ้อปาอ๋องและราชวงศ์ฉิน · รัฐฉินและราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์จีน

ตพื้นที่ของราชวงศ์ต่างๆตามประวัติศาสตร์ของจีน ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่าอารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือ การสร้างระบบภาษาเขียน ในยุคราชวงศ์กอณัฐ (ศตวรรษที่ 58 ก่อน ค.ศ.) ให้เป็นภาษากลางใช้ได้ทั่วประเทศ เป็นครั้งแรกในโลก (ไม่ว่าชนเผ่าใดๆจะพูดต่างกัน สำเนียงต่างกัน แต่ใช้ตัวเขียนเหมือนกัน) และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไป ในบางครั้งก็ถูกปกครองโดยชนชาติอื่น เช่น มองโกล แมนจู ญี่ปุ่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย และในสังคมโลก ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดนักว่าเริ่มต้นเมื่อไร แต่จากการขุดพบวัตถุโบราณตามลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและหวางเหอ แบ่งช่วงเวลานี้ออกได้เป็นสังคมสองแบบ แบบแรกเป็นช่วงที่ผู้หญิงเป็นใหญ่เรียกว่าช่วงวัฒนธรรมหยางเซา และช่วงที่ผู้ชายเป็นใหญ่เรียกว่าวัฒนธรรมหลงซาน ตำนานเล่ากันว่าบรรพบุรุษจีนมีชื่อเรียกว่า หวางตี้ และ เหยียนตี้.

ฌ้อปาอ๋องและประวัติศาสตร์จีน · ประวัติศาสตร์จีนและรัฐฉิน · ดูเพิ่มเติม »

เสียนหยาง

ียนหยาง ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ห้ำเอี๋ยง ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน เป็นเมืองหลวงของประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฉินZhongguo Gujin Diming Dacidian 中国古今地名大词典, 2005.

ฌ้อปาอ๋องและเสียนหยาง · รัฐฉินและเสียนหยาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฌ้อปาอ๋องและรัฐฉิน

ฌ้อปาอ๋อง มี 50 ความสัมพันธ์ขณะที่ รัฐฉิน มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 3 / (50 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฌ้อปาอ๋องและรัฐฉิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »