โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฌากอแบ็ง

ดัชนี ฌากอแบ็ง

การประชุมใหญ่สโมสรฌากอแบ็งในปีค.ศ. 1791 สมาคมเหล่าสหายของรัฐธรรมนูญ (Société des amis de la Constitution) หรือหลังเปลี่ยนชื่อในปี..

21 ความสัมพันธ์: พระราชวังแวร์ซายกามีย์ เดมูแล็งการปฏิวัติฝรั่งเศสการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789การแยกใช้อำนาจกิโยตีนภาษาฝรั่งเศสมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ระบอบเก่าลามงตาญสภากงว็องซียงแห่งชาติสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์ฌอร์ฌ ด็องตงฌัก ปีแยร์ บรีโซฌีรงแด็งฌ็อง-ปอล มาราคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมประเทศฝรั่งเศสปอล บารัสปารีส

พระราชวังแวร์ซาย

ระราชวังแวร์ซาย (Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและพระราชวังแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

กามีย์ เดมูแล็ง

ลูว์ซี แซ็งปลิส กามีย์ เบอนัว เดมูแล็ง (Lucie Simplice Camille Benoît Desmoulins) เป็นบรรณาธิการและนักการเมืองชาวฝรั่งเศส เขามีบทบาทสำคัญในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเพื่อนกับมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์มาตั้งแต่เด็ก และยังเป็นเพื่อนสนิทและพันธมิตรทางการเมืองของฌอร์ฌ ด็องตง ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ต่อมาในสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวเมื่อคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมคิดถอนรากถอนโคนอำนาจของด็องตง เดมูแล็งก็ถูกจับกุมและประหารชีวิตด้วยกิโยตีนพร้อมกับด็องตง กามีย์ เดมูแล็งเกิดในปีการ์ดี เป็นบุตรของพลโท ฌ็อง เบอนัว นีกอลา เดมูแล็ง เมื่ออายุได้ 14 ปีเขาได้รับทุนการศึกษาเพื่อเข้าเรียนที่กอแลฌลูย-เลอ-กร็อง (Collège Louis-le-Grand) ในกรุงปารีส เขาได้รู้จักกับมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ และทั้งสองคนต่างได้เป็นนักเรียนดีเด่นของที่นั่น เดมูแล็งมีความเชี่ยวชาญเรื่องวรรณกรรมคลาสสิกและการเมือง เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของฌอร์ฌ ด็องตง รัฐมนตรียุติธรรมในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และต่อมาได้รับคัดเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกสภากงว็องซียงแห่งชาติ เขาเป็นผู้ร่วมลงมติสนับสนุนการสถาปนาสาธารณรัฐและสนับสนุนการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและกามีย์ เดมูแล็ง · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789

ีเปิดสมัยการประชุมสภาฐานันดร ณ พระราชวังแวร์ซาย กรุงปารีส 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 การประชุมสภาฐานันดร..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและการประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 · ดูเพิ่มเติม »

การแยกใช้อำนาจ

การแยกใช้อำนาจ เป็นแบบจำลองวิธีการปกครองรัฐ มีขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ ภายใต้แบบจำลองนี้ รัฐแบ่งออกเป็นอำนาจต่าง ๆ ซึ่งแต่ละอำนาจมีอำนาจแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และมีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน เพื่อที่อำนาจของอำนาจหนึ่งจะไม่ไปขัดกับอำนาจที่สัมพันธ์กับอีกอำนาจหนึ่ง การแยกใช้อำนาจนี้ปกติแบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวดหมู่:ปรัชญากฎหมาย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและการแยกใช้อำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

กิโยตีน

กีโยตีนในอังกฤษ โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง ผู้เสนอให้ประหารชีวิตโดยการตัดคอ แต่ตัวเขาไม่ใช่ผู้ประดิษฐ์กิโยตีน กิโยตีน (guillotine) เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์การประหารชีวิตของฝรั่งเศส ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อใช้ตัดคอนักโทษ กิโยตีนประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและกิโยตีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเก่า

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะ “พระสุริยเทพ” ระบอบเก่า หรือ อองเซียงเรฌีม (Ancien Régime) โดยทั่วไปหมายถึงระบบแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสภายใต้ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของระบอบเก่าเป็นผลมาจากระบบการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางที่สิ้นสุดในการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ระบอบเก่าของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกัน แต่มีผลบั้นปลายที่แตกต่างกันบางประเทศก็สิ้นสุดลงด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางประเทศก็แตกแยกออกไปจากสงครามและการปฏิวัติ อำนาจระบอบเก่าอยู่บนพื้นฐานสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ นักบวช และชนชั้นขุนนาง ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Estates of the realm) ก็แบ่งออกเป็นสามเช่นกัน คือ ฐานันดรที่หนึ่ง (First Estate) คือนักบวชโรมันคาทอลิก, ฐานันดรที่สอง (Second Estate) คือชนชั้นขุนนาง และ ฐานันดรที่สาม (Third Estate) คือสามัญชน โดยทั่วไปแล้วระบอบเก่าหมายถึงระบอบการปกครองใดใดที่มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ระบอบเก่ารักษาลักษณะหลายประการของระบบเจ้าขุนมูลนายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเฉพาะในการใช้อภิสิทธิ์ของขุนนางและชนชั้นเจ้านายที่สนับสนุนโดยปรัชญาเทวสิทธิราชย์ ความแตกต่างอยู่ตรงที่อำนาจการปกครองที่เคยเป็นของเจ้าครองนครต่างๆ มาก่อนกลายเป็นอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่มมากขึ้น วลีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (พบในเอกสารครั้งแรกในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1794) ในความหมายในทางลบ เช่นเดียวกับการใช้คำว่า ยุคมืด ที่กลายมาเรียกกันว่า สมัยกลาง แนวคิดของการใช้คำว่าระบอบเก่าเป็นการแฝงความหมายเป็นนัยยะว่าเป็นระบอบที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ และควรจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ระบอบใหม่ (New Order) คำว่า ระบอบเก่า คิดขึ้นโดยนักปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่สร้างความเชื่อถือในเหตุผลของการปฏิวัติและทำลายชื่อเสียงของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นการใช้ในทางที่มีอคติในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ สำหรับนักประพันธ์บางคนคำนี้เป็นคำที่ทำให้เกิดความรำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่นที่ตาล์ลีย์รองด์ (Talleyrand) กล่าวว่า: ภาษาสเปนใช้คำว่า “Antiguo Régimen” แต่แม้ว่าสเปนจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลที่ตามต่อมาแต่ความเปลี่ยนแปลงในสเปนไม่รุนแรงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในฝรั่ง.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและระบอบเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ลามงตาญ

ลามงตาญ (La Montagne) เป็นกลุ่มก้อนทางการเมืองในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นฝ่ายที่มีอิทธิพลสูงในสมัชชานิติบัญญัติฝรั่งเศส ลามงตาญถือเป็นส่วนหนึ่งของสโมสรฌากอแบ็ง​ (Jacobin) ลามงตาญประกอบด้วยสมาชิกหัวรุนแรงของฌากอแบ็งซึ่งสนับสนุนกระแสการปฏิวัติและสนับสนุนการถอนรากถอนโคนระบอบกษัตริย์ จึงทำให้ลามงตาญขัดแย้งกับบรรดาฌีรงแด็ง (Girondin) ที่คัดค้านกระแสการปฏิวัติและเห็นว่าควรใช้กษัตริย์เป็นหุ่นเชิดJeremy D. Popkin, A Short History of the French Revolution, 5th ed.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและลามงตาญ · ดูเพิ่มเติม »

สภากงว็องซียงแห่งชาติ

สภากงว็องซียงแห่งชาติ (Convention nationale) คือคณะการปกครองประเทศฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเริ่มทำการปกครองตั้งแต่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 1795 โดยทำหน้าที่บริหารประเทศและควบคุมอำนาจบริหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงช่วงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 โดยสมาชิกที่มีชื่อเสียงจากสมัชชาแห่งนี้ได้แก่ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์, ฌ็อง-ปอล มารา, ฌอร์ฌ ด็องตง เป็นต้น โดยในภายหลังทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม หมวดหมู่:การปฏิวัติฝรั่งเศส.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและสภากงว็องซียงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

มัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror; 5 กันยายน ค.ศ. 1793 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794) หรือที่เรียกว่า The Terror (la Terreur) เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ ฌีรงแด็ง (Girondins) และฌากอแบ็ง (Jacobins) ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดทั่วฝรั่งเศส กิโยตินกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น มารี อ็องตัวแน็ตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์) มาดามโรลองด์และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน อาทิ อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีบุกเบิก ที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน ระหว่าง..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์

หลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์ (Louis Antoine de Saint-Just) เป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาได้รับเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกสภากงว็องซียงแห่งชาติในปี..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและหลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ ด็องตง

อร์ฌ ฌัก ด็องตง (Georges Jacques Danton) เป็นนักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวคนสำคัญในช่วงต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์ได้อธิบายว่าเขาเป็น "หัวหอกที่โค่นล้มระบอบกษัตริย์ฝรั่งเศสและสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1" ในช่วงสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว เขาในฐานะเลขาสภาพยายามผลักดันให้สภาฝรั่งเศสรักษาสันติภาพกับบรรดาต่างชาติไว้ แต่ท้ายที่สุด สภาก็ประกาศสงครามกับมหาอำนาจยุโรปอย่างอังกฤษ สเปน และโปรตุเกส ด็องตงหันไปร่วมมือกับนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่ง ลงบทความหนังสือพิมพ์ชื่อ Le Vieux Cordelier ซึ่งเรียกร้องให้ยุติสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวและการกีดกันศาสนาคริสต์ รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมาธิการความปลอดภัยฯ การกระทำนี้ทำให้เขาขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการความปลอดภัยฯ ซึ่งมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ กุมอำนาจอยู่ ส่งผลให้เริ่มมีคนพยายามขุดคุ้ยหาความผิดของเขา ด็องตงถูกฟ้องร้องในข้อหาทุจริตรับผลประโยชน์ในช่วงที่เขาเรืองอำนาจ เขาถูกเพื่อนร่วมงานของเขาให้การถึงความอู้ฟู่ในช่วงการปฏิวัติฯ รวมไปถึงทรัพย์สินอันไม่สามารถอธิบายที่มาได้ แต่หลักฐานที่นำมาแสดงกลับค่อนข้างคลุมเครือและไม่ปะติดปะต่อ ตัวด็องตงเองแม้จะถูกฟ้องร้องแต่ก็ไม่หนีไปไหนและยังคงทำงานที่สภา ในที่สุดด็องตงก็ถูกเข้าจับกุมอย่างฉับพลันในวันที่ 30 มีนาคม..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและฌอร์ฌ ด็องตง · ดูเพิ่มเติม »

ฌัก ปีแยร์ บรีโซ

ัก ปีแยร์ บรีโซ (Jacques Pierre Brissot) เป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคฌีรงแด็ง กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศสระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสและเป็นได้รองประธานสภากงว็องซียงแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายตรงข้ามเขาได้ใช้กำลังอาวุธเข้าบีบบังคับสภาให้ปลดและจับกุมตัวเขาตลอดจนสมาชิกฌีรงแด็งคนอื่น ๆ ท้ายที่สุดเขาถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีน.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและฌัก ปีแยร์ บรีโซ · ดูเพิ่มเติม »

ฌีรงแด็ง

ีรงแด็ง (Girondin) เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเมืองแบบหลวม ๆ กลุ่มหนึ่งในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสมัชชานิติบัญญัติและสภากงว็องซียงแห่งชาติในช่วงปี..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและฌีรงแด็ง · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ปอล มารา

็อง-ปอล มารา (Jean-Paul Marat) เป็นนักทฤษฎีการเมือง แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเขียนบทความทางการเมืองฝ่ายซ้ายจัดลงในหนังสือพิมพ์ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสื่อมวลชนหัวซ้ายจัดที่สุดในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส เขาเป็นกระบอกเสียงให้สำคัญแก่พวกซ็อง-กูว์ล็อต (ชนชั้นกลางและล่าง) ผ่านใบปลิว ป้ายประกาศ หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ลามีดูว์เปิปล์ ("สหายของประชาชน") ซึ่งช่วยทำให้เขามีเส้นสายกับกลุ่มลามงตาญในสโมสรฌากอแบ็ง ซึ่งกลุ่มนี้ก้าวขึ้นมามีอำนาจในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและฌ็อง-ปอล มารา · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ กลายเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในฝรั่งเศสในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม (Comité de salut public) เป็นคณะผู้ตรวจสอบซึ่งสภากงว็องซียงแห่งชาติจัดตั้งในเดือนเมษายน..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปอล บารัส

ปอล ฟร็องซัว ฌ็อง นีกอลา ไวเคานต์แห่งบารัส (Paul François Jean Nicolas, Vicomte de Barras) หรือรู้จักกันในชื่อ ปอล บารัส เป็นนักการเมืองในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในสมาชิกในคณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของฝรั่งเศสในช่วง..

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและปอล บารัส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ฌากอแบ็งและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Jacobin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »