โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซูเดเทินลันด์

ดัชนี ซูเดเทินลันด์

ซูเดเทินลันด์ (Sudetenland; เช็กและSudety; Kraj Sudetów) คือชื่อดินแดนในภาษาเยอรมัน (และถูกใช้ในภาษาอังกฤษในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20) ที่ใช้หมายถึงอาณาเขตทางตอนเหนือ ใต้ และตะวันตก ของเชโกสโลวาเกีย อันเป็นบริเวณที่ประชากรเชื้อสายเยอรมันและใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่อาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะเขตปกครองที่ติดชายแดนอย่าง โบฮีเมีย โมราเวีย และส่วนของไซลีเซียซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของออสเตรียไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ซูเดเทินลันด์ เป็นการสมาสคำในภาษาเยอรมันระหว่าง ลันด์ ซึ่งหมายถึงประเทศหรือดินแดน กับคำว่า ซูเดเทิน ซึ่งเป็นชื่อภาษาเยอรมันของเทือกเขาซูเดเทส (Sudetes) ที่ทอดตัวยาวตามแนวเขตแดนทางตอนเหนือของสาธารณรัฐเช็กและไซลีเซียล่าง (Lower Silesia; ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์) อย่างไรก็ตามซูเดเทินลันด์เป็นคำที่ใช้หมายถึงดินแดนส่วนที่เลยไปจากแนวเทือกเขาดังกล่าวไปมากพอสมควร ในประวัติศาสตร์ไม่ปรากฎคำว่า ซูเดเทินลันด์ ไปจนกระทั่งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และไม่เป็นที่รู้จักหรือใช้กันอย่างแพร่หลายไปจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีของชาวเยอรมันล่มสลาย ส่งผลให้เกิดการแตกกระจายออกเป็นรัฐต่าง ๆ มากมาย ชาวเยอรมันซูเดเทินที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิมจึงกลายเป็นชาวเยอรมันผลัดถิ่นในประเทศใหม่อย่างเชโกสโลวาเกียไปโดยปริยาย ต่อมาคำนี้มีความสำคัญมากขึ้นจากวิกฤตการณ์ซูเดเทิน (Sudeten crisis) ปี..

14 ความสัมพันธ์: การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนีภาษาเช็กภาษาเยอรมันสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจักรวรรดิออสเตรียจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีคริสต์ศตวรรษที่ 20ความตกลงมิวนิกประเทศโปแลนด์ประเทศเชโกสโลวาเกียนาซีเยอรมนีโบฮีเมียไซลีเซีย

การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี

ือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์ (ยืนอยู่ในเมอร์ซิเดส) ขับผ่านฝูงชนในเชบ ส่วนหนึ่งของภูมิภาคซูเดเทินลันด์ที่มีประชากรชาวเยอรมันอาศัยอยู่มากของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งถูกผนวกเข้ากับนาซีเยอรมนีจากความตกลงมิวนิก การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี (ค.ศ. 1938–1945) เริ่มต้นด้วยเยอรมันผนวกภูมิภาคตอนเหนือและชายแดนด้านตะวันตกของเชโกสโลวาเกีย, ก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน-ออสเตรียที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือซูเดเทินลันด์ ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้โดยข้อตกลงมิวนิก ผู้นำเยอรมันอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้เอ่ยอ้างสำหรับการกระทำเช่นนี้คือได้กล่าวถึงความทุกข์ทรมานความเดือดร้อนโดยประชากรชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติเยอรมันที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนั้น ป้อมปราการชายแดนที่ใหม่และกว้างขางคลอบคลุมเชโกสโลวักยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ภายหลังจากอันชลุสส์คือการผนวกออสเตรียของนาซีเยอรมนี ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และการยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเช็ก

ภาษาเช็ก เป็นภาษาราชการของเช็กเกีย อยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 12 ล้านคน หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และภาษาเช็ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ความตกลงมิวนิก

นแดนซูเดเทินลันด์ ความตกลงมิวนิก (Munich Agreement; Mnichovská dohoda; Mníchovská dohoda; Münchner Abkommen; Accords de Munich) เป็นการประชุมระหว่างประเทศในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อตกลงเกี่ยวกับแคว้นซูเดเทินลันด์และดินแดนเชโกสโลวาเกีย จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 ที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี โดยประเทศมหาอำนาจได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายเนวิล เชมเบอร์ลิน จากสหราชอาณาจักร อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากนาซีเยอรมนี เบนิโต มุสโสลินี จากอิตาลี และดาลาดิเยร์ แห่งฝรั่งเศส โดยมีเป้าหมายเพื่อประชุมกันถึงอนาคตของเชโกสโลวาเกียกับความต้องการดินแดนเพิ่มเติมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งลงนามโดยเยอรมนี อิตาลี สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้อนุญาตให้เยอรมนียึดครองดินแดนซูเดเทินลันด์ โดยดินแดนดังกล่าวมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างมากต่อเชโกสโลวาเกีย และการป้องกันชายแดนส่วนใหญ่ของประเทศก็ตั้งอยู่ที่นั่น.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และความตกลงมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โบฮีเมีย

ีเมีย (Čechy; Bohemia; Czechy) เป็นดินแดนในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง กินเนื้อที่สองในสามทางตะวันตกของดินแดนเช็ก ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเช็กเกีย ในความหมายที่กว้างกว่านั้น ในบางครั้งยังใช้เรียกเขตแดนเช็กทั้งหมด รวมถึงมอเรเวียและเช็กไซลิเซีย โดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ เช่น ราชอาณาจักรโบฮีเมี.

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

ไซลีเซีย

ูมิภาคในประวัติศาสตร์ (ในวงสีฟ้าและเหลือง) และเขตแดนประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน ไซลีเซีย (Silesia; ไซลีเซีย: Ślůnsk; Śląsk; Slezsko; Schlesien) เป็นภูมิภาคในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และเยอรมนี ไซลีเซียเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีบริเวณสำคัญทางอุตสาหกรรมหลายแห่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณนี้ได้แก่วรอตสวัฟ (Wrocław) ซึ่งเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ คาโตวีตเซในโปแลนด์ และออสตราวา (Ostrava) ในสาธารณรัฐเช็ก แม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำโอเดอร์ เขตแดนของไซลีเซียเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากตลอดมาในประวัติศาสตร์ทั้งตั้งแต่ยังเป็นของขุนนางในสมัยศักดินา มาจนถึงหลังจากการรุ่งเรืองของรัฐชาติสมัยใหม่ รัฐแรกที่เป็นที่ทราบว่ามีอำนาจในบริเวณนี้คือเกรตเตอร์โมราเวีย (Greater Moravia) และโบฮีเมีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐโปแลนด์สมัยแรก แต่ต่อมาก็แยกตัวออกไปเป็นดัชชีอิสระแต่ตกเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนีมากขึ้นทุกขณะ ในที่สุดไซลีเซียก็ตกมาเป็นของราชบัลลังก์โบฮีเมีย ที่ผ่านต่อไปยังออสเตรียในปี..

ใหม่!!: ซูเดเทินลันด์และไซลีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Sudetenland

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »