โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซุนโฮและโทษประหารชีวิต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ซุนโฮและโทษประหารชีวิต

ซุนโฮ vs. โทษประหารชีวิต

ซุนโฮ (Sun Hao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งง่อก๊ก ได้ชื่อว่าเป็นฮ่องเต้ที่เป็นทรราชย์มากที่สุดผู้หนึ่งจนอาณาจักรล่มสลาย เป็นราชโอรสในพระเจ้าซุนเหลียง ราชโอรสในพระเจ้าซุนกวน ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ พระเจ้าสุมาเอี๋ยนหลังจากที่กลืนจ๊กก๊กไปแล้ว ก็หมายจะถล่มง่อก๊ก พระเจ้าซุนฮิวตกพระทัยจนประชวรและสิ้นพระชนม์ลง บรรดาขุนนางง่อก๊กครั้นเมื่อถวายพระศพพระเจ้าซุนฮิวเสร็จแล้ว ก็มีความเห็นตรงกันว่า ควรเชิญซุนเปียน ราชบุตรขึ้นครองราชย์สืบไปตามประเพณี แต่บั้นเฮ็กและเตียวเป๋าขุนนางผู้ใหญ่ คัดค้านเพราะมีความเห็นว่า ถ้าเป็นซุนเปียนเกรงว่าบ้านเมืองจะไปไม่รอด จึงเห็นว่าควรทูลเชิญซุนโฮ ผู้เป็นราชนัดดาในพระเจ้าซุนกวนขึ้นครองราชย์จะสมกว่า เพราะมีสติปัญญาเฉียบแหลมกว่า จึงมีพิธีราชาภิเษกขึ้นในวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนเก้า เมื่อได้ครองราชย์แล้ว พระเจ้าซุนโฮก็สถาปนาซุนเปียนเป็นเจ้าเจี๋ยงอ๋อง ให้ขุนพลเตงฮองเป็นต้ายสุมา จากนั้นก็ทรงมีพฤติกรรมวิปริต มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงฟังแต่คำของยิมหุน ขันทีในวัง เอียงเหียงและเตียวเป๋าได้เข้าไปทูลห้ามเตือนหลายต่อหลายครั้ง พร้อมกล่าวว่า ถ้าพระองค์ขืนประพฤติองค์เช่นนี้ ไม่ช้าแผ่นดินนี้จะต้องตกเป็นของสุมาเอี๋ยนอย่างแน่นอน พระเจ้าซุนโฮกริ้ว จึงสั่งให้ประหารขุนนางทั้งสอง จากนั้นมาก็ไม่มีใครกล้าเพ็ดทูลห้ามปรามอีกเลย วันหนึ่ง พระเจ้าซุนโฮแปรพระราชฐานจากกังตั๋ง ไปประทับอยู่ยังเมืองบู๊เฉียง ก็ทรงใช้จ่ายพระราชทรัพย์ในการสร้างพระราชวังแห่งใหม่อย่างฟุ่มเฟื่อย จากการขูดรีดภาษีราษฎร พร้อมเสพสมกามากับเด็กสาววัยรุ่นมากมาย ต่อมาได้ทรงให้โหรหลวงทำนายดวงชะตา โหรทำนายว่า ต่อไปภายภาคหน้า พระเกียรติยศจะขจรขจายไปถึงลกเอี๋ยง พระเจ้าสุมาเอี๋ยนต้องมาสยบกับแทบพระบาท พระเจ้าซุนโฮดีพระทัยนัก จึงฮึกเหิมหมายจะบุกตีนครลกเอี๋ยง จึงเรียกบรรดาขุนนางมาประชุมถึงการบุกไปตีลกเอี๋ยง หอกหยก ขุนนางคนหนึ่งจึงทูลคัดค้านไปพร้อมกับสั่งสอนพระองค์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม ทำนุบำรุงราษฎร บ้านเมืองจะดีกว่า พระเจ้าซุนโฮทรงกริ้วไล่หอกหยกออกจากราชการ พร้อมกับดึงดันแต่งตั้งให้ลกข้องเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพไปประชิดเมืองซงหยง ปากทางเข้าอาณาจักรไต้จิ้น พระเจ้าสุมาเอี๋ยน จึงมีบัญชาให้เอียวเก๋า เจ้าเมืองซงหยงตั้งพร้อมเตรียมรับศึก เอียวเก๋าเป็นผู้มีเมตตาธรรม ไม่ชอบออกทัพจับศึก จึงคิดผูกไมตรีกับลกข้อง ท้ายที่สุดลกข้องก็ปลาบปลื้มในน้ำใจเอียวเก๋า มีหนังสือไปยังพระเจ้าซุนโฮว่า ทางฝ่ายนี้มิได้คิดร้ายขออย่าได้สู้รบกันเลย พระเจ้าซุนโอก็กริ้ว สั่งปลดลกข้องออกจากตำแหน่ง และยกให้ซุนอี้เป็นแม่ทัพแทน ในเวลานั้น ขุนนางคนใดไม่เห็นด้วยกับพระองค์ ก็จะถูกปลดหรือถูกประหารชีวิตไปหมดสิ้น ทางฝ่ายเอียวเก๋า เมื่อทราบว่าลกข้องถูกปลดออกจากแม่ทัพใหญ่แล้ว มีหนังสือทูลไปยังพระเจ้าสุมาเอี๋ยน เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะบุกตีง่อก๊ก แต่กาอุ้นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย เอียวเก๋าจึงเดินทางกลับลกเอี๋ยง และลาออกจากราชการ ไปพักอาศัยอยู่ยังบ้านเดิม จนกระทั่งสิ้นชีวิต ก่อนสิ้นชีวิตเอียวเก๋าได้กราบทูลว่า บัดนี้เห็นควรแต่งตั้ง เตาอี้ เป็นแม่ทัพใหญ่ทำการนี้แทน ท้ายที่สุดเตาอี้ก็สามารถเอาชนะง่อก๊กได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 823 แผ่นดินจีนจึงควบรวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง หลังจากแตกแยกเป็นสามก๊กนานถึง 60 ปี สำหรับ พระเจ้าซุนโฮ ทอดพระเนตรความพ่ายแพ้ของอาณาจักรพระองค์เองบนกำแพงเมือง และได้ทรงยอมแพ้ ถวายบรรณาการแด่พระเจ้าสุมาเอี๋ยน พระเจ้าสุมาเอี๋ยนก็แต่งตั้งให้เป็นอุ้ยเบ้งเฮา ขุนนางง่อก๊กทั้งหลายก็แต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกันไป เป็นอันอวสานของอาณาจักรง่อ หรือ อู๋ ที่ดำรงมานานกว่า 58 ปี (พ.ศ. 765- พ.ศ. 823) หลังจากนั้นอีกต่อมา 4 ปี พระเจ้าซุนโฮก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 43 พรรษา ครองราชย์ได้ 12 ปี. ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซุนโฮและโทษประหารชีวิต

ซุนโฮและโทษประหารชีวิต มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ซุนโฮและโทษประหารชีวิต

ซุนโฮ มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ โทษประหารชีวิต มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (24 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซุนโฮและโทษประหารชีวิต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »