เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ซุนกวนและหองจูเหียบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ซุนกวนและหองจูเหียบ

ซุนกวน vs. หองจูเหียบ

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที. ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซุนกวนและหองจูเหียบ

ซุนกวนและหองจูเหียบ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 772สามก๊กจักรพรรดิจีนจดหมายเหตุสามก๊กตันซิ่วโจโฉเล่าปี่

พ.ศ. 772

ทธศักราช 772 ใกล้เคียงกั.

ซุนกวนและพ.ศ. 772 · พ.ศ. 772และหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ซุนกวนและสามก๊ก · สามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

จักรพรรดิจีนและซุนกวน · จักรพรรดิจีนและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายเหตุสามก๊ก

หมายเหตุสามก๊ก (Records of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดยเฉินโซ่ว ชาวเสฉวนที่มีตัวตนและมีชีวิตจริงอยู่ในยุคสามก๊ก โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยบิดาของเฉินโซ่ว ในปี พ.ศ. 806 แคว้นจ๊กก๊กที่เฉินโซ่วอาศัยอยู่ ได้ประกาศยอมแพ้ต่อแคว้นวุย เฉินโซ่วและครอบครัวรวมทั้งชาวจ๊กก๊กคนอื่น ๆ ถูกนำตัวไปยังวุยก๊ก ขณะนั้นสุมาเจียว ซึ่งเป็นผู้ครองแคว้นวุยสิ้นพระชนม์ สุมาเอี๋ยนจึงเป็นผู้สืบทอดแคว้นต่อไปและสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนราชวงศ์วุย และแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าโจฮวนในปี พ.ศ. 808 ก่อนจะสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้แห่งราชวงศ์ใหม่ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก 15 ปีสืบต่อมา พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ก็สามารถรวบรวมอาณาจักรสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ทรงโปรดให้เฉินโซ่วรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงศึกสามก๊กอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่ในช่วงพระเจ้าเลนเต้ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 711 จนถึงการรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวใน พ.ศ. 823อย่างละเอียด เพื่อเอากลศึกสงครามต่าง ๆ ที่เกิดในยุคนี้ให้เป็นตำราสงครามให้แก่คนรุ่นหลัง สามก๊กฉบับแรกนี้มีชื่อว่า "ซันกั๋วจื้อ" แต่ซันกั๋วจื้อก็ไม่ได้รับความนิยม ซันกั๋วจื้อจึงกลายเป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊กในยุคหลัง ที่สำคัญได้แก่ ซันกั๋วยั่นอี้ของหลัว กวั้นจง.

จดหมายเหตุสามก๊กและซุนกวน · จดหมายเหตุสามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

ตันซิ่ว

ตันซิ่ว (Chen Shou) หรือ เฉินโซ่ว เป็นนักประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิ้น และเป็นผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊ก เกิดที่เมืองหนานจง มณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 776 ซึ่งอยู่ยุคสามก๊ก และได้รับราชการกับจ๊กก๊ก ภายหลังวุยก๊กได้ยึดจ๊กก๊ก ตันซิ่วได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่วุยก๊ก ต่อมา สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ จึงทรงให้ตันซิ่วเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กในชื่อว่า จดหมายเหตุสามก๊ก.

ซุนกวนและตันซิ่ว · ตันซิ่วและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ซุนกวนและโจโฉ · หองจูเหียบและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ซุนกวนและเล่าปี่ · หองจูเหียบและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ซุนกวนและหองจูเหียบ

ซุนกวน มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ หองจูเหียบ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 11.67% = 7 / (30 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซุนกวนและหองจูเหียบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: