โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซึร์ทเซย์

ดัชนี ซึร์ทเซย์

ซึร์ทเซย์ 16 วันหลังเริ่มต้นการปะทุ ซึร์ทเซย์ (ออกเสียงว่า แปลว่า"เกาะของซึร์ท") เป็นเกาะภูเขาไฟ ที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะเวสมาร์นายาส ซึ่งห่างจากชายฝั่งทางใต้ของประเทศไอซ์แลนด์ เกาะนี้เป็นเกาะที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไอซ์แลนด์ เกาะนี้ก่อตัวขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟซึ่งซึ่งอยู่ใต้ทะเล 130 เมตรและอยู่กลุ่มภูเขาไฟใต้น้ำ เวสมาร์นายาส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกกลางมหาสมุทรแอตแลนติกได้เกิดการปะทุขึ้นและก่อตัวขึ้นเรื่อยๆจนโผ่ลพ้นผิวน้ำในในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 การปะทุสิ้นสุดลงในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2510 โดยมีพื้นที่ประมาณ 2.7 ตารางกิโลเมตร หลังจากนั้นเกาะก็ถูกกัดเซาะจากลมและคลื่นจนทำให้ในปี พ.ศ. 2555 เกาะเหลือพื้นที่เพียง 1.3 ตารางกิโลเมตร จาการสำรวจล่าสุดในปี พ.ศ. 2550 พบว่าจุดที่สูงที่สุดของเกาะคือ จากระดับน้ำทะเล เกาะนี้มีชื่อมาจากเทพเจ้าเซิร์ทในตำนานเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เกาะนี้ถูกศึกษาโดยนักวิทยาภูเขาไฟอย่างละเอียดในช่วงที่มันเกิดการประทุ, และได้รับการศึกษาโดยนักพฤกษศาสตร์และนักชีววิทยาเพื่อศึกษารูปแบบของชีวิตในเกาะใหม่แห่งนี้ การปะทุครั้งนี้ไม่ได้ทำให้เกิดเกาะซึร์ทเซย์เกาะเดี่ยวแต่ทำให้เกิดเกาะJólnirและยอดเขาอื่นๆที่ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อด้ว.

15 ความสัมพันธ์: ชีวิตพ.ศ. 2506พ.ศ. 2550พ.ศ. 2555พฤกษศาสตร์กลุ่มเกาะการกัดเซาะชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตารางกิโลเมตรประเทศไอซ์แลนด์นักชีววิทยาเกาะภูเขาไฟเวสมาร์นายาสเทพปกรณัมนอร์ส14 พฤศจิกายน

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2506

ทธศักราช 2506 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1963 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และพ.ศ. 2506 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

พฤกษศาสตร์

ผลจันทน์เทศ (''Myristica fragrans'') พฤกษศาสตร์ หรือ ชีววิทยาของพืช หรือ วิทยาการพืช,พืชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของชีววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชและการเจริญเติบโต พฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่พืช สาหร่าย และเห็ดรา ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างกลุ่มต่าง ๆ การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์เริ่มต้นจากความรู้ที่สืบต่อกันมา จากการจำแนกพืชที่กินได้ พืชสมุนไพรและพืชมีพิษ เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ จากความสนใจในเรื่องพืชของบรรพบุรษทำให้ปัจจุบันจำแนกสิ่งมีชีวิตในด้านพฤกษศาสตร์มากกว่า 550,000 ชนิดหรือสปีชี.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และพฤกษศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มเกาะ

กลุ่มเกาะมะริด ในประเทศพม่า กลุ่มเกาะ (archipelago หรือ island group) เป็นหมู่เกาะที่โยงกันเป็นโซ่หรือเป็นกลุ่ม คำว่า archipelago มาจากภาษากรีก ἄρχι ("หลัก") และ πέλαγος ("ทะเล") ผ่านกลุ่มเกาะอิตาลี ในภาษาอิตาลี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหลักจากประเพณีความเก่าแก่ กลุ่มเกาะ (จากภาษากรีกสมัยกลาง ἀρχιπέλαγος) เป็นชื่อเฉพาะของทะเลอีเจียน และภายหลัง การใช้ได้เปลี่ยนเป็นหมายถึงหมู่เกาะอีเจียน (เพราะทะเลดังกล่าวมีชื่อเสียงกันว่ามีเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบัน ใช้หมายถึงกลุ่มเกาะใด ๆ หรือ บางครั้ง ทะเลที่บรรจุเกาะกระจัดกระจายกันจำนวนมาก เช่น ทะเลอีเจียน กลุ่มเกาะอาจพบห่างไกลในแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้กับผืนดินขนาดใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สกอตแลนด์มีเกาะมากกว่า 700 เกาะล้อมแผ่นดินใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเกาะ กลุ่มเกาะนี้มักมีภูเขาไฟ ก่อตัวขึ้นตามหมู่เกาะโค้งที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกหรือจุดศูนย์รวมความร้อน แต่ยังอาจเกิดจากการกัดเซาะ การทับถมและความสูงของพื้นที่ดิน ประเทศสมัยใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดห้าประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รัฐกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามพื้นที่ คือ อินโดนีเซีย กลุ่มเกาะที่มีเกาะมากที่สุดอยู่ในทะเล Archipelago ในฟินแลน.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และกลุ่มเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

การกัดเซาะชายฝั่ง

กระแสน้ำขึ้นลง การกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และการกัดเซาะชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอซ์แลนด์

อซ์แลนด์ (Iceland; อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร เรียกข้อมูลวันที่ 2008-03-03 นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี..

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และประเทศไอซ์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นักชีววิทยา

นักชีววิทยา คือนักวิทยาศาสตร์ที่ทุ่มเทและคิดค้นผลการทดลองทางชีววิทยาผ่านการศึกษาเกี่ยวกับชีวิต นักชีววิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับระบบสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตมีต่อสิ่งแวดล้อม นักชีววิทยาจะคอยวิจัยเพื่อค้นหากลวิธีที่ควบคุมการทำงานของระบบสิ่งมีชีวิต และยังมีส่วนวิจัยเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตเกี่ยวกับยา การอุตสาหกรรม และการเกษตรด้ว.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และนักชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะภูเขาไฟ

มโอเรอาเป็นเกาะภูเขไฟ สตรอมโบลีเป็นหนึ่งในแปดของหมู่เกาะเอโอเลียนซึ่งเกาะภูเขาไฟรูปโค้งทางเหนือของซิซิลี ในทางธรณีวิทยา (รวมถึงในโบราณคดี) เกาะภูเขาไฟ (volcanic island) หรือเกาะสูง (high island) คือเกาะที่เกิดจากภูเขาไฟหรือจุดร้อน โดยคำว่าเกาะสูงนี้สามารถใช้แยกกลุ่มเกาะเหล่านี้ออกจากเกาะต่ำ (low island)ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนหรือการยกตัวและทับทมของพืดหินปะการังเกาะเหล่านี้สามารถพบได้บริเวณที่มีภูเขาไฟใต้สมุทรหรือบริเวณที่มีจุดร้อน.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และเกาะภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เวสมาร์นายาส

วสมาร์นายาส (ในภาษาอังกฤษแผลงเป็น Westman Islands) เป็นชื่อเมืองและชื่อหมู่เกาะที่อยู่นอกชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศไอซ์แลนด์ เวสมาร์นายาสประกอบด้วยเกาะใหญ่ที่สุดที่มีชื่อว่า Heimaey มีประชากรประมาณ 4,135 ซึ่งเกาะนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากเหตุการ์ณการปะทุของภูเขาไฟ Eldfell ซึ่งทำลายอาคารบ้านเรือนหลายแห่งจนต้องมีการอพยพประชาชนไปยังแผ่นดินใหญ่ของไอซ์แลน.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และเวสมาร์นายาส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และเทพปกรณัมนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

14 พฤศจิกายน

วันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 318 ของปี (วันที่ 319 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 47 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ซึร์ทเซย์และ14 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Surtsey

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »