โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ

ซีโมนเปโตร vs. อาสนวิหารปีเตอร์บะระ

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร. อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์ หรือ อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Peterborough Cathedral หรือ Cathedral Church of St Peter, St Paul and St Andrew) มีชื่อเต็มว่า "อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์, เซนต์พอล และเซนต์แอนดรูว์" ที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์ นักบุญพอล และนักบุญแอนดรูว์ นักบุญทั้งสามองค์มีรูปปั้นอยู่บนจั่วสามจั่วด้านหน้าของอาสนวิหาร อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เป็นคริสต์ศาสนสถานระดับอาสนวิหาร ของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ของสังฆมณฑลปีเตอร์บะระห์ในสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ตั้งอยู่ที่เมืองปีเตอร์บะระห์ในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมาเนสก์ และ กอธิค อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์เดิมก่อตั้งขึ้นในสมัยแซ็กซอนสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นแบบนอร์มันหลังจากการก่อสร้างใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปีเตอร์บะระห์ก็เช่นเดียวกับอาสนวิหารเดอแรม และ อาสนวิหารอีลีที่เป็นสิ่งก่อสร้างจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในอังกฤษที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมมากนักแม้ว่าจะได้รับการขยายต่อเติมและการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อมาหลายครั้งก็ตาม อาสนวิหารปีเตอร์บะระห์มีชื่อเสียงว่ามีด้านหน้าที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษตอนต้นอย่างเด่นชัด ที่มีประตูโค้งใหญ่มหึมาที่ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่สร้างเช่นเดียวกันนั้นมาก่อน หรือสร้างตามมา ลักษณะที่ปรากฏเป็นเชิงที่ไม่สมมาตร เพราะหอหนึ่งในสองหอที่สูงขึ้นมาหลังด้านหน้านสร้างไม่เสร็จ แต่จะมองเห็นได้ก็จากระยะทางไกลจากตัวอาสนวิหารเท่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ

ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): นักบุญอันดรูว์เปาโลอัครทูต

นักบุญอันดรูว์

อันดรูว์อัครทูต (Ανδρέας อันเดฺรอัส; Andrew แอนดฺรูว) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญอันดรูว์ เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เกิดเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี และเสียชีวิตโดยการถูกตรึงกางเขนบนกางเขนรูป “X” เมื่อราวกลางหรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ที่เมืองเพ็ทราส์ ในประเทศกรีซปัจจุบัน นักบุญอันดรูว์ เป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ เรียกนักบุญอันดรูว์ว่า “Protocletos” หรือ “ผู้ถูกเรียกคนแรก” ชื่อ “แอนดรูว” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “เกียรติ” เช่นเดียวกับชื่อภาษากรีกอื่น ๆ เป็นชื่อที่ชาวยิวใช้กันทั่วไปในระหว่างร้อยถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เท่าที่ทราบนักบุญอันดรูว์ไม่มีชื่อบ่งเป็นภาษาฮิบรูและภาษาอราเมอิก ตามพันธสัญญาใหม่นักบุญแอนดรูว์เป็นลูกของโยนาห์หรือยอห์น (มัทธิว; ยอห์น) เกิดที่เมืองเบ็ธไซดาบนฝั่งทะเลกาลิลี(ยอห์น) และเป็นน้องชายของซีโมนเปโตร เปโตรและอันดรูว์เดิมเป็นชาวประมงฉะนั้นเมื่อพระเยซูเรียกตัวมาเป็นอัครทูตโดยกล่าวว่าเจ้าจงเป็น “ชาวประมงหามนุษย์” (ภาษากรีก: ἁλιείς ἀνθρώπων “halieis anthropon”)Metzger & Coogan (1993) Oxford Companion to the Bible, p 27.

ซีโมนเปโตรและนักบุญอันดรูว์ · นักบุญอันดรูว์และอาสนวิหารปีเตอร์บะระ · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ซีโมนเปโตรและเปาโลอัครทูต · อาสนวิหารปีเตอร์บะระและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ

ซีโมนเปโตร มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาสนวิหารปีเตอร์บะระ มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.70% = 2 / (27 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซีโมนเปโตรและอาสนวิหารปีเตอร์บะระ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »