เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ซิลมาริลและมอร์กอธ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ซิลมาริลและมอร์กอธ

ซิลมาริล vs. มอร์กอธ

ในตำนานที่เขียนโดย เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ซิลมาริล (Silmaril) (มาจากภาษาเควนยา ว่า ซิลมาริลลิ) เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยาย ประกอบด้วยอัญมณีสามชิ้นที่สุกสว่างดังดวงดาว ภายในบรรจุแสงอันบริสุทธิ์ของ ทวิพฤกษา ซิลมาริลทำมาจากวัสดุใสดังผลึกคริสตัลที่เรียกว่า ซิลิมา ประดิษฐ์โดย เฟอานอร์ เอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในวาลินอร์ ในช่วงยุคแห่งพฤกษา งานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน ของโทลคีน มีหัวใจหลักของเรื่องเกี่ยวข้องกับดวงมณีซิลมาริลนี้เอง ว่าด้วยเรื่องราวของผู้สร้าง การถูกช่วงชิง และการแก้แค้น ตลอดจนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหม. '''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซิลมาริลและมอร์กอธ

ซิลมาริลและมอร์กอธ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาเควนยายุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดาวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)ตำนานแห่งซิลมาริลโนลดอร์เฟอานอร์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ซิลมาริลและภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและมอร์กอธ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา

ในจินตนิยายชุด ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ยุคที่หนึ่ง มักหมายถึง ยุคที่หนึ่งของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ยุคนี้เริ่มต้นด้วยการตื่นขึ้นของเหล่าเอลฟ์ ที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และจบลงด้วยการล้มล้างมอร์กอธ โดยกองทัพผสมระหว่างวาลินอร์กับเบเลริอันด์ ยุคที่หนึ่งกินเวลาหลายร้อยปีในวาเลียนศักราช และอีกเกือบ 590 ปีของยุคแห่งตะวัน หากคิดเวลารวมเป็นปีตะวัน อาจได้ช่วงเวลาประมาณ 4,902 ถึง 65,390 ปีตะวัน เนื่องจากวิธีการคำนวณปีวาลาร์เทียบกับปีตะวันในงานเขียนแต่ละชุดของโทลคีนมีความแตกต่างกัน ตัวเลขที่มากกว่าคิดเทียบจากข้อมูลในภาคผนวกของเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ส่วนเลขน้อยกว่าคิดจากงานเขียนในชุดแรกๆ ของเขา บางครั้งในงานเขียนอาจระบุถึง ยุคที่หนึ่ง ด้วยคำว่า ยุคบรรพกาล ด้วย มักมีความเข้าใจผิดกันว่า ยุคที่หนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่ยุคแห่งตะวัน เพราะบางครั้งก็เอ่ยถึงว่า "ยุคที่หนึ่งแห่งตะวัน" ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การกำเนิดของดวงตะวันเรื่อยไปจนถึงการสิ้นอำนาจของมอร์กอ.

ซิลมาริลและยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา · มอร์กอธและยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

วาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)

วาลาร์ (Valar) เป็นชื่อเรียกชนชั้นสูงในชนเผ่า ไอนัวร์ (Ainur) ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" คำว่า "วาลาร์" เป็นคำภาษาเอลฟ์ หมายถึง "พลังอำนาจแห่งพิภพ" รูปคำ วาลาร์ (Valar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ วาลา (Vala).

ซิลมาริลและวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ) · มอร์กอธและวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ซิลมาริลและตำนานแห่งซิลมาริล · ตำนานแห่งซิลมาริลและมอร์กอธ · ดูเพิ่มเติม »

โนลดอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.

ซิลมาริลและโนลดอร์ · มอร์กอธและโนลดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอานอร์

ฟอานอร์ (Fëanor) เป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้สร้างอัญมณี ซิลมาริล อันเป็นแก่นของตำนานเรื่องนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่ชาวเอลดาร์ และเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือช่างเป็นเลิศที่สุดใน.

ซิลมาริลและเฟอานอร์ · มอร์กอธและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ซิลมาริลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · มอร์กอธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ซิลมาริลและมอร์กอธ

ซิลมาริล มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ มอร์กอธ มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 7 / (29 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซิลมาริลและมอร์กอธ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: