ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ
ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาเควนยาอามันธิงโกลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ตำนานแห่งซิลมาริลปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธไมอาเบเลริอันด์เมลิอันเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเทเลริ
ภาษาเควนยา
ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.
ซินดาร์และภาษาเควนยา · ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ ·
อามัน
อามัน (Aman) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนโลกอาร์ดา ในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น แผ่นดินอมตะ (Undying Lands) หรือ อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Blessed Realm) เนื่องจากบนดินแดนแห่งนี้เป็นที่อยู่ของบรรดาอมตะชนทั้งสิ้น แต่เดิมโลกอาร์ดามีทวีปเดียว มีทะเลสาบกลางแผ่นดินและเกาะกลางทะเลสาบนั้นชื่อว่า อัลมาเรน เป็นที่ประทับของเหล่าพลังอำนาจ หรือปวงเทพ หรือคือเหล่าไอนัวร์ ที่จำแลงร่างลงมาอยู่ในโลก แต่หลังจากมอร์กอธทรยศและทำลายผืนพิภพจนวอดวาย แผ่นดินและผืนน้ำเปลี่ยนรูปทรงไปทั้งหมด จึงเกิดเป็นทวีปใหญ่น้อยมากมาย ทวีปอามันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ โดยเป็นทวีปที่อยู่ทางฟากตะวันตกสุดของอาร์ดา คั่นตัวออกจากทวีปอื่นด้วยมหาสมุทรใหญ่ชื่อ เบเลกายร์ หลังจากนั้นปวงเทพก็ย้ายมาประทับอยู่บนทวีปนี้ ตั้งเมืองศูนย์กลางของปวงเทพขึ้นเรียกว่า วาลินอร์ ภูมิประเทศในใจกลางทวีปเป็นที่ราบ และผืนป่า ซึ่งเป็นไร่นาของเทพียาวันนา และเขตป่าของเทพโอโรเม ด้านตะวันตกจรดทะเลวัฏฏะ (เอคไคอา) ด้านตะวันออกจรดทะเลเบเลกายร์ โดยมีขุนเขาสูงใหญ่ขวางกั้นไว้ที่ชายทวีปด้านตะวันออก มีชื่อว่า เทือกเขาเพโลริ ยอดเขาสูงสุดของเพโลริคือ ทานิเควทิล อันเป็นที่ประทับของจอมกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง คือมานเวเทพบดี นครวาลินอร์ตั้งอยู่เชิงขุนเขาแห่งนี้ ด้านนอกนครเป็นเนินสูงใหญ่ชื่อ 'เอเซลโลฮาร์' บนเนินเป็นที่ตั้งของที่ประชุมมนตรีพิพากษา (คือที่ประชุมของปวงเทพวาลาร์ เมื่อต้องมีการพิจารณาเหตุการณ์สำคัญ) ใกล้เนินเอเซลโลฮาร์เป็นที่ตั้งของทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ หลังจากชาวเอลดาร์เดินทางมายังอามัน ปวงเทพเห็นว่าพวกเขายังจำเป็นต้องได้รับกลิ่นไอจากมหาสมุทรใหญ่ และอากาศจากแผ่นดินเกิด จึงแหวกช่องเขาเพโลริให้แยกออกในช่วงกึ่งกลางของทวีป กลายเป็นช่องเขาคาลาเคียร์ยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ชายหาดริมมหาสมุทรใหญ่ใกล้กับนครนี้ มีชื่อเรียกว่า อ่าวเอลดามาร์ หรืออ่าวนิวาสเอลฟ์ เป็นที่ตั้งของนครอัลควาลอนเด เมืองหลวงของชาวเทเลริ ในอ่าวเอลดามาร์มีเกาะใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เกาะนี้เดิมคือแผ่นดินใหญ่ที่เทพอุลโมใช้นำพาเหล่าเอลฟ์ออกจากทวีปมิดเดิลเอิร์ธมาสู่อามัน แต่เมื่อถึงการเดินทางครั้งสุดท้ายของเหล่าเทเลริ พวกเขาขอให้เทพอุลโมหยุดยั้งการเดินทาง พระองค์จึงหยั่งรากของเกาะลงยึดกับก้นมหาสมุทรกลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชื่อว่า 'โทลเอเรสเซอา' หรือเกาะเอกา (Lonely Isle) บางครั้งในปกรณัมเรียกชื่อว่า 'เอเรสเซอา' บนเกาะนี้เป็นที่ตั้งของนครอวัลโลเน พวกเอลฟ์โนลดอร์ที่ถูกเนรเทศไปยังมิดเดิลเอิร์ธ เมื่อได้รับอภัยโทษและกลับคืนสู่แผ่นดินอมตะ ก็จะมาได้เพียงเกาะโทลเอเรสเซอาแห่งนี้ อามันได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินอมตะ ก็เพราะผู้อยู่อาศัยบนแผ่นดินนั้นล้วนเป็นอมตะชน ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ไปอยู่บนนั้นจะมีชีวิตยืนยาว ตรงกันข้าม ถ้ามนุษย์ผู้ไม่ได้รับอนุญาตเหยียบลงบนแผ่นดินนั้น กลับจะยิ่งเสียชีวิตเร็วขึ้นเพราะไม่อาจทนรับสภาพอากาศของแผ่นดินอมตะได้ มนุษย์ผู้แรกที่ได้เหยียบย่างขึ้นบนแผ่นดินอมตะ คือ เออาเรนดิลจอมนาวิก ซึ่งเสี่ยงชีวิตเดินทางไปขออภัยต่อปวงเทพในฐานะตัวแทนของสองเผ่าพันธุ์ (เอลฟ์และมนุษย์) ในเหตุการณ์ตอนปลายของยุคที่หนึ่ง เขาได้รับพรพิเศษจากปวงเทพให้เลือกได้ว่าจะเป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ เออาเรนดิลเลือกเป็นเอลฟ์ จึงได้รับมอบหมายให้อัญเชิญดวงมณีซิลมาริลไปบนนาวาวิงกิล็อท เพื่อส่องแสงสว่างแก่โลกตลอดไป เหตุนี้เขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เออาเรนดิลผู้ได้รับพร ในช่วงปลายยุคที่สอง อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมด้วยถูกยุยงจากเซารอน หมายจะไปชิงความเป็นอมตะจากปวงเทพ จึงยกทัพเรือไปจะตีอามัน จากเหตุการณ์นี้องค์อิลูวาทาร์จึงบันดาลให้มหาสมุทรใหญ่เกิดหุบเหวลึก ดูดเอาเกาะนูเมนอร์จมสมุทร แล้วย้ายอามันออกไปจากพิภพอาร์ดา บันดาลให้โลกกลม ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดสามารถเดินทางไปถึงอามันได้อีกเลย นอกจากผู้ได้รับอนุญาติจากเหล่าเอลฟ์ เช่น บิลโบ และ โฟรโด ซึ่งเป็นผู้ถือแหวน ที่สามารถไปถึงได้โดยผ่านทาง เส้นทางมุ่งตรง เท่านั้น เพื่อไปใช้ชีวิตเป็นอมตะกับ ชาวอมตะที่เหลือ.
ซินดาร์และอามัน · มิดเดิลเอิร์ธและอามัน ·
ธิงโกล
อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.
ซินดาร์และธิงโกล · ธิงโกลและมิดเดิลเอิร์ธ ·
ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์
"''Creation of the Two Trees''" ในปกรณัมของ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ (Two Trees of Valinor) เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยเทพียาวันนา ได้แก่ เทลเพริออน (Telperion) และ เลาเรลิน (Laurelin) อันเป็นพฤกษาเงินและทองซึ่งนำแสงสว่างมาสู่ดินแดนของ วาลาร์ ในโบราณกาล พวกมันถูกทำลายโดย เมลคอร์ และ อุงโกเลียนท์ แต่วาลาร์นำดอกไม้และผลสุดท้ายของพวกมันไปสร้างเป็น ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิต.
ซินดาร์และทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ · ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และมิดเดิลเอิร์ธ ·
ตำนานแห่งซิลมาริล
ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..
ซินดาร์และตำนานแห่งซิลมาริล · ตำนานแห่งซิลมาริลและมิดเดิลเอิร์ธ ·
ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ
ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ (Middle-earth Legendarium) เป็นชุดงานเขียนขนาดยาวของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ว่าด้วยโลกแฟนตาซีในจินตนาการของเขาคือ โลกอาร์ดา ประกอบด้วยงานเขียนหลายชิ้นที่เขาใช้เวลาเขียนตั้งแต่มีอายุได้ 22 ปี ไปจนตลอดชั่วชีวิตของเขา คำว่า "Legendarium" นำมาใช้โดยโทลคีนและนักวิจารณ์อื่นๆ เกี่ยวกับงานเขียนชุดนี้โดยเฉพาะ เรื่องราวในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธเริ่มตั้งแต่กาลกำเนิดของพิภพจากการสร้างสรรค์ของมหาเทพอิลูวาทาร์ การกำเนิดปวงเทพ การกำเนิดมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ การกำเนิดดินแดนต่างๆ ได้แก่ อามัน รวมถึง มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งกลายมาเป็นชื่อของชุดปกรณัมด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่หนึ่ง ยุคที่สอง ยุคที่สาม และยุคที่สี่ของอาร์ดา รวมถึงงานเขียนที่กล่าวอ้างถึงสถานที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในปกรณัม แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นในยุคสมัยใด เช่น Smith of Wootton Major และ Roverandom เป็นต้น.
ซินดาร์และปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ · ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธและมิดเดิลเอิร์ธ ·
ไมอา
มอาร์ (Maiar) เป็นชื่อเรียกดวงจิตชั้นรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่า ไอนัวร์ (Ainur) ตัวละครในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" เทพไมอาร์เข้ามายังโลกอาร์ดาก็เพื่อช่วยเหล่าวาลาร์ในการสร้างโลกนั่นเอง รูปคำ ไมอาร์ (Maiar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ ไมอา (Maia).
ซินดาร์และไมอา · มิดเดิลเอิร์ธและไมอา ·
เบเลริอันด์
แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.
ซินดาร์และเบเลริอันด์ · มิดเดิลเอิร์ธและเบเลริอันด์ ·
เมลิอัน
มลิอัน หรือ เมเลียน (Melian) เป็นเทพีไมอาร์องค์หนึ่ง ปรากฏในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน กวีนิพนธ์ชุดลำนำแห่งเลย์ธิอัน และกวีนิพนธ์ตำนานบุตรแห่งฮูริน มีบทบาทในฐานะผู้นำเชื้อสายแห่งเทพ (ไอนัวร์) มาสู่แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ และเป็นมารดาของลูธิเอน ทินูเวียล อำนาจของเมลิอันช่วยปกป้องอาณาจักรเอลฟ์จากการรุกรานของมอร์ก็อธได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อนางจากไปอำนาจนั้นก็เสื่อมสลาย และเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเอลฟ์ทั้งปวง.
ซินดาร์และเมลิอัน · มิดเดิลเอิร์ธและเมลิอัน ·
เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.
ซินดาร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · มิดเดิลเอิร์ธและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ซินดาร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ·
เทเลริ
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวเทเลริ (Teleri) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนเทเลริคือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สามที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า เอเนล (Enel) เมื่อแรกชนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'เนลยาร์' (Nelyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่สามของเอลฟ์' และต่อมาพวกเขาก็เรียกตนเองว่าชาว 'ลินได' หรือ 'ลินดาร์' อันแปลว่า 'นักร้อง' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวโนลดอร์ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวเทเลริคือ เอลเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวเทเลริแห่งเบเลริอันด์ เอลเวผู้นี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกษัตริย์ ธิงโกล อันเป็นชื่อฉายาซึ่งหมายถึง 'เสื้อคลุมเทา' ชาวเทเลริส่วนใหญ่มีผมสีเข้ม รูปร่างสูงโปร่ง แลผิวเผินจะคล้ายกับชาวโนลดอร์ มีบ้างประปรายที่มีเรือนผมสีอ่อน เป็นสีขาวหรือเงินยวง ซึ่งมักเป็นพวกที่มีเชื้อสายเป็นเครือญาติกับ เอลเว ชาวเทเลริมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านการดนตรี และความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เจริญเติบโตบนพื้นพิภพ ชาวเทเลริในเบเลริอันด์พูดภาษาซินดาริน ส่วนชาวเทเลริกลุ่มอื่นๆ อาจมีภาษาต่างๆ ของตัวเอง เช่น ภาษาซิลวัน หรือภาษานันดอริน.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ
การเปรียบเทียบระหว่าง ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ
ซินดาร์ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ มิดเดิลเอิร์ธ มี 151 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 7.32% = 12 / (13 + 151)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซินดาร์และมิดเดิลเอิร์ธ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: