โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซิซิฟัส

ดัชนี ซิซิฟัส

ซิซีฟัส (Sisyphus) เป็นพระราชาแห่งโครินธ์ มีพระมเหสี ชื่อ มีโรพี (Merope) มีพระโอรสคือ เจ้าชายกลอคัส ซึ่งต่อมาได้ครองราชสมบัติ ต่อจากพระบิดา ซึ่งกลอคัส มีลูกคือเบลเลอโรฟอน ผู้ปราบเพกาซัสและสังหารนางไคเมร่า ซิซีฟัสเป็นพระราชาที่เจ้าเลห์จอมอุบาย ที่ไม่กลัวต่อเหล่าปวงเท.

10 ความสัมพันธ์: บิลเลโรฟอนมอยเรฮีราคิเมียราซูสแม่น้ำสติกซ์แอรีสแทนาทอสเพกาซัสเฮดีส

บิลเลโรฟอน

บิลเลโรฟอน ขี่เพกาซัส ปราบไคมีรา เครื่องปั้นดินเผาสมัย 420 ปีก่อนคริสตกาล บิลเลโรฟอน (Bellerophon, Bellerophontes; Βελλεροφῶν, Βελλεροφόντης) เป็นวีรบุรุษในตำนานเทพปกรณัมกรีก มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย เช่นเดียวกับแคดมุส และเพอร์ซิอุส ก่อนยุคของเฮราคลีส ตำนานที่มีชื่อเสียงของบิลเลโรฟอน คือเรื่องเกี่ยวกับการปราบเพกาซัส และไคมีรา บิลเลโรฟอนเป็นโอรสของกลอคัส พระราชาแห่งเมืองคอรินท์ กับยูริโน มีพระอนุชาคือ ดีลิอาดิส หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและบิลเลโรฟอน · ดูเพิ่มเติม »

มอยเร

ทพีมอยเร (Μοῖραι, Moirae หรือ Moerae หรือ The Fates) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีก บุตรีแห่งเทพซุสและเทพีเทมิส เป็นเทพีสามองค์ที่เป็นบุคลาธิษฐานของพรหมลิขิต ที่เทียบเท่ากับเทพีพาร์เซ (Parcae) ในตำนานเทพเจ้าโรมัน หรือเทพีนอร์นส์ (Norns) ในในตำนานเทพเจ้าเยอรมัน คำว่า “Μoira” ในภาษากรีก แปลตรงตัวว่าส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อขยายส่วนออกไปแล้วก็เป็นชีวิตหรือพรหมลิขิต เทพีมอยเรควบคุมยานด้ายแห่งโชคชะตาของชีวิตของมนุษย์เดินดินทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย โคลโท (Clotho) มีหน้าที่ปั่นเส้นด้ายแห่งชีวิต (กำเนิดชีวิต) แลกคีลิศ (Lachesis) มีหน้าที่เป็นผู้ทอดเส้นด้าย (จากวัยเด็กไปถึงวัยชรา) อโทรพอส (Atropos) มีหน้าที่ตัดเส้นด้าย (หมดเวลาบนโลก).

ใหม่!!: ซิซิฟัสและมอยเร · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

คิเมียรา

มียรา คิเมียรา (Chimera; Χιμαιρα; ละติน: Chimæra) เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมกรีกซึ่งตำนานเล่าว่า เป็นลูกของอีคิดนาและไทฟอน เป็นพี่ชายของเซอร์เบอรัส คิเมียรามีร่างกายกำยำและเป็นที่รวมของสัตว์ร้าย 3 ชนิด คือ ส่วนหัวถึงหน้าอกเป็นสิงโต ลำตัวเป็นแพะ บั้นท้ายเป็นมังกรหรืองู นอกจากนี้ ยังสามารถพ่นไฟได้เหมือนมังกรอีกด้วย คิเมียราถูกวีรบุรุษเบลเลอโรฟอนผู้ขี่ม้าบินเพกาซัสแทงตายด้วยหอก เพราะคิเมียราประกอบด้วยส่วนของสัตว์ร้าย 3 ชนิดที่ไม่น่ารวมกันได้ ปัจจุบันคำว่า คิเมียรา จึงเป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตรูปร่างแปลกประหลาดหลายชนิด เช่น ปลาทะเลน้ำลึกกระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและคิเมียรา · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและซูส · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสติกซ์

แม่น้ำสติกซ์ (Styx) เป็นแม่น้ำในเทพปกรณัมกรีกซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างพิภพกับโลกบาดาล (เขตแดนดังกล่าวมักเรียก เฮดีส อันเป็นพระนามของผู้ปกครอง) แม่น้ำสติกซ์ เฟลจิชัน (Phlegethon) แอคะรัน (Acheron) ลีธี (Lethe) และ โคซีตัส (Cocytus) ล้วนบรรจบกันที่ใจกลางโลกบาดาลตรงบึงใหญ่ ซึ่งบ้างเรียก สติกซ์ ตามเฮโรโดตัส แม่น้ำสติกซ์กำเนิดใกล้เฟนอช (Feneos) เทวดาทั้งหลายต่างถูกผูกมัดด้วยแม้น้ำสติกซ์ และปฏิญาณสาบานต่อมัน สาเหตุเพราะระหว่างสงครามไททัน สติกซ์ เทวดาแห่งแม่น้ำสติกซ์ เข้ากับซูส หลังสงคราม ซูสประทานสัญญาว่าให้คำปฏิญาณทั้งหมดสาบานแก่พระนาง เชื่อว่า แครอน คนแจว เป็นผู้พาดวงวิญญาณเพิ่งตายข้ามแม่น้ำนี้เข้าโลกบาดาล แม้ในแหล่งกรีกและโรมันต้นฉบับ ตลอดจนในดันเต แครอนแจวในแม่น้ำแอคะรอน หมวดหมู่:เทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและแม่น้ำสติกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p. 169.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและแอรีส · ดูเพิ่มเติม »

แทนาทอส

แทนาทอส (Thanatos, กรีกโบราณ: θάνατος แปลว่า ความตาย) หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินที่ชาวโรมันเรียก เป็นเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพของกรีก เป็นเทพแห่งความความตาย เป็นผู้ที่สามารถควบคุมความตายของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก เป็นบุตรชายของนิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งราตรี และ อีราบัส (Erabus) เทพแห่งความมืด เป็นน้องชายฝาแฝดของฮิปนอส (Hypnos) เทพแห่งนิทรา โดยทั้งคู่อาศัยอยู่ยังขุมนรก เป็นเทพผู้ช่วยของฮาเดส (Hades) จ้าวแห่งนรก แทนาทอสนั้นจะรับวิญญาณของผู้ที่ตายอย่างสงบไปยังยมโลกด้วยตนเอง แต่จะให้เหล่าเคอร์ซึ่งเป็นพี่สาวจับวิญญาณที่ตายอย่างทารุณไปก่อน รูปลักษณ์ของทั้งฮิปนอสและแทนาทอส มักเป็นรูปชายหนุ่มเปลือยกาย หน้าตาเหมือนกัน ทั้งคู่จะมีปีกอยู่ที่ศีรษะคนละข้างสลับกัน มือหนึ่งของแทนาทอสมักถือผีเสื้อหรือมาลัยดอกไม้ โดยบทบาทของแทนาทอสในเทพนิยาย แทนาทอสจะเป็นผู้รับวิญญาณมนุษย์ไปยังยมโลก แต่ในบางตำนานจะยกบทบาทนี้ให้เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการสื่อสาร ปรากฏตอนนึงความว่า ได้ถูกกษัตริย์ซีซิสฟัส (Sisyphus) หลอกล่อจนหลงกลแล้วถูกจับขัง ทำให้ไม่มีคนตาย จนกระทั่งเอรีส (Ares) เทพแห่งสงครามหงุดหงิดที่ไม่มีคนตายในการสู้รบ จึงได้ใช้กำลังปลดปล่อยแทนาทอสและพาซีซิสฟัสไปยังยมโลก เนื่องจากเป็นเทพแห่งความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนหวาดกลัว และแม้แต่เหล่าเทพก็ยังรังเกียจแทนาทอส จึงนับว่า แทนาทอสเป็นปีศาจตนหนึ่งก็ว่าได้ โดยแทนาทอสเองก็เกลียดชังมนุษย์และเทพเจ้าอื่น ๆ เช่นเดียวกัน แทนาทอสนั้นเคยต่อสู้กับวีรบุรุษ เฮราคลีส โดยเฮราคลีสนั้นต้องการช่วยเหลือราชินีอัลเคสทิส (Alkestis) ซึ่งยอมสละชีวิตตนเพื่อให้พระสวามี แอดมีตอส (Admetos) มีพระชนม์ชีพยืนยาว เมื่อเฮราคลีสสามารถล้มแทนาทอสได้จึงเท่ากับเป็นผู้มีชัยเหนือความตาย แทนาทอสจึงยอมให้อัลเคสทิสมีชีวิตต่อไป.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและแทนาทอส · ดูเพิ่มเติม »

เพกาซัส

รูปสลักนูนต่ำ เบลเลโรฟอนปราบไคเมร่า ด้วยการขี่เพกาซัส เพกาซัส (Pegasus; กรีก: Πήγασος; เปกาซอส หมายถึง "แข็งแรง") เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นม้าเพศผู้รูปร่างกำยำพ่วงพีสีขาวบริสุทธิ์ และมีปีกอันกว้างสง่างามเหมือนนกพิราบ เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ซึ่งถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอุสฟันคอ ในขณะที่เลือดจากลำคอพุ่งกระเซ็นนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง เพกาซัสเป็นพี่ของคริสซาออร์ ซึ่งก็เกิดมาหลังจากนั้น ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลย ตอนที่เพกาซัสเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่เพกาซัสวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงามที่เหล่ากวีและศิลปินชื่นชมกันนักหนา คือ น้ำพุฮิปโปครีนี ที่เป็นที่รู้จักในวรรณคดีกรีกโบราณ ว่ากันว่า หากใครได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว โอกาสที่จะเป็นกวีเอกอยู่แค่เอื้อม นอกจากนี้แล้วเพกาซัสยังทำหน้าที่คอยเก็บสายฟ้าให้ซุส เพกาซัสโดนปราบโดยเด็กหนุ่มรูปงามชาวเมืองโครินทร์ คือ เบลเลอโรฟอน เบลเลอโรฟอนเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองโครินท์ คือ กลอคุส ซึ่งต่อมาเบลเลอโรฟอนได้ขี่เพกาซัสปราบสัตว์ประหลาดร้ายไคเมร.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและเพกาซัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ใหม่!!: ซิซิฟัสและเฮดีส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »