ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย vs. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซาร์อีวานที่ 4 วาซิลเยวิช (Ivan IV Vasilyevich) หรือที่รู้จักกันว่า อีวานผู้เหี้ยมโหด (Ivan the Terrible) ทรงเป็นเจ้าชายแห่งมอสโกในปี ค.ศ. 1533 จนถึง ค.ศ. 1547 และซาร์แห่งปวงรัสเซีย จากปี ค.ศ. 1547 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต ในรัชกาลของพระองค์ได้เห็นชัยชนะมณฑลกาซาน,มณฑลแอสตราข่าน และไซบีเรีย พระเจ้าอีวาน ทรงบริหารการเปลี่ยนแปลงที่นับไม่ถ้วนในการก้าวหน้าจากรัฐในยุคที่จักรวรรดิและอำนาจในระดับภูมิภาคเกิดขึ้นใหม่และกลายเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่ครองตำแหน่งเป็นซาร์แห่งปวงรัสเซีย สาเหตุที่พระองค์ได้รับฉายาว่า อีวานผู้เหี้ยมโหด เพราะพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก พระราชวงศ์วาซิลยาวิสได้รับคำเตือนจากพระสังฆราชแห่งเยรูซาเล็ม เมื่อวาซิลีที่ 3 ทอดทิ้งพระมเหสีไปอภิเสกสมรสใหม่ โดยทรงเตือนพระบิดาพระองค์ว่า "หากพระองค์ทรงกระทำการชั่วร้าย พระองค์ก็จะได้พระโอรสที่ชั่วร้ายเช่นกัน" ในวัยเยาว์พระองค์โปรดทรงพระอักษร สวดมนต์ อีกทั้งเป็นผู้เฉลียวฉลาดและอ่อนไหว แต่หากพระองค์ต้องเผชิญหน้ากับการฆ่าฟันกันไม่เว้นแต่ละวันในเคลมลิน ทำให้พระองค์ซึมซับความเหี้ยมโหดเข้าไปในพระทัยพระองค์ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์แห่งมัสโควีในวันที 3 ธันวาคม 1533 ในพระชนม์มายุ 3 พรรษา หลังจากพระบิดาสวรรคต โดยมีพระนางเยเลน่า กับเจ้าชายโอโบเรนสกี้ ชู้รักของพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เหตุการณ์จึงเริ่มวุ่นวาย เมื่อเจ้าชายยูริ พระปิตุลา ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ จึงถูกจับตัวโยนลงหลุมให้อดอาหารสิ้นพระชนม์ ส่วนพระปิตุลาอีกพระองค์ก็ถูกกำจัดออกไปอย่างรวดเร็ว และในปี 1538 พระนางเยเลน่าทรงสิ้นพระชนม์จากการถูกวางยาพิษ และเจ้าชายโอโบเรนสกี้ก็ถูกจับเข้าคุกและถูกตีจนตาย รัสเซียตกอยู่ใต้การจลาจลอย่างหนัก ระหว่างนั้นราชนิกุล "บุยสกี้" และ "ชุยสกี้" ต่างพากันห้ำหั่นกันในวังเคลมลิน เพื่อชิงอำนาจการปกครองระหว่างที่พระเจ้าซาร์ยังทรงพระเยาว์ บางครั้งก็บุกเข้าไปถึงพระราชฐานของอิวาน ข่มขืน ฆ่า บรรดามหาดเล็กนางในต่อหน้าพระพักตร์ เพราะพระองค์ไร้ซึ่งอำนาจ ทำให้ความโหดเหี้ยมและทารุนต่างๆ ซึ่มเข้าพระหทัยพระเจ้าซาร์องค์น้อยนี้ ในปี 1539 พวกราชสกุลชุยสกี้จับมหาดเล็กของพระองค์ไปถลกหนังทั้งเป็นแขวนประจานที่จตุรัสมอสโคว พระองค์ทรงดื่มน้ำจัณฑ์หนักมากขึ้น และเข้าร่วมกับกลุ่มวัยรุ่นก่อความวุ่นวายในมอสโกทุกวัน ทรงโปรดควบม้าเข้าไปในฝูงชนเต็มเหยียด จับสุนัขและแมวโยนลงจากหอคอยของเคลมลิน แต่ที่น่าแปลกคือ ทรงศึกษาทั้งพระศาสนาและประวัติศาสตร์ และหากพระองค์สำนึกผิด จะทรงโขกพระเศียรลงกับพื้นหรือผนัง จนมีแผลเป็นที่พระพักตร์ ในปี 1543 ทรงกำหราบพวกราชสกุลลงอย่างเด็ดขาด โดยจับเจ้าชายแอนดรูว์ ชุยสกี้ โยนให้พวกสุนัขล่าเนื้อขย้ำทั้งเป็น แขวนคอพวกทหารโบยาห์ไปตามท้องถนนกรุงมองโก ใครกล่าวว่านินทาพระองค์ก็ให้ตัดลิ้น ซึ่งทำให้อำนาจกลับมาอยู่กับราชสำนักอีกครั้ง พระองค์ได้ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1547 และหาพระมเหสีจากเจ้าขุนมูลนายรัสเซีย และได้มีหญิงสาวถึง 1500 คน เข้ามาในราชสำนักของพระองค์ ซึ่งพระองค์เลือก "อนาสตเซีย ซาห์คาริน่า โคชคิน่า" จากขุนนางราชสกุล "โรมานอฟ" ซึ่งเป็นชื่อสกุลขุนนางที่สืบมาจากตระกูลเยอรมันชั้นสูงตระกูลหนึ่ง ซึ่งได้อพยพมาจากเยอรมนีไปยังกรุงมอสโกในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้เปลี่ยนสกุลใหม่ว่าสกุลคอชกิน สกุลนี้ได้รับราชการในพระราชสำนักของราชวงศ์รูริคตลอดมาเป็นเวลาร่วม 200 ปี ซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงเลือก อนาสตาเซียแห่งรัสเซียเป็นคู่อภิเษก พระองค์ทรงหลงรักเจ้าสาวของพระองค์อย่างดื่มด่ำมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อพระนางอนาสตาเซียสิ้นพระชนม์ในปี.. มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การเปรียบเทียบระหว่าง ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (16 + 23)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: