โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซาร์บอมบาและบารอมิเตอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ซาร์บอมบาและบารอมิเตอร์

ซาร์บอมบา vs. บารอมิเตอร์

แผนที่แสดงจุดทดสอบ (แสดงด้วยสีแดง) แผนภาพเปรียบเทียบขนาดของลูกไฟของซาร์ บอมบา (สีแดง), ลิตเติลบอย (สีชมพู) และมินิตแมน (สีเขียว) ซาร์ บอมบา (Царь-бомба; Tsar Bomba) เป็นชื่อเล่นที่ใช้เรียกระเบิดไฮโดรเจน AN602 ของสหภาพโซเวียต เป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมีการใช้งานมา จัดว่าเป็น "อาวุธที่มีพลังทำลายล้างที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ" ชื่อนี้เป็นชื่อที่สื่อในโลกตะวันตกตั้งให้ แต่ต่อมาในรัสเซียก็ยอมรับชื่อนี้มาใช้ ระเบิดนี้พัฒนาขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ตามแบบแผนที่ออกแบบไว้เดิมจะมีขนาดเทียบเท่ากับการระเบิดของทีเอ็นที (TNT) 100 เมกะตัน เทียบเท่ากับ 420 PJ (เพตะจูล) แต่ได้ลดลงเหลือ 50 เมกะตัน เพื่อลดขนาดของระเบิดลงให้สามารถบรรทุกด้วยเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-95 ที่ได้รับการดัดแปลงเป็นพิเศษ พลังทำลายล้างของซาร์ บอมบา คิดเป็น 1,400 เท่าของระเบิดลิตเติลบอย (13-18 กิโลตัน) รวมกับแฟตแมน (21 กิโลตัน) ซาร์ บอมบามีความยาว 8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.1 เมตร น้ำหนัก 27,000 กิโลกรัม (60,000 ปอนด์) ถูกสร้างขึ้นจำนวน 1 ลูก และลูกตัวอย่างอีก 1 ลูกที่สร้างขึ้นเฉพาะโครงสร้างภายนอก ลูกระเบิดถูกนำไปทดสอบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1961 บริเวณเกาะ โนวายาเซมลยา ทางตอนเหนือของขั้วโลกเหนือ ระเบิดถูกทิ้งลงจากเครื่องตูโปเลฟ ตู-95 ที่ระดับความสูง 10.5 กิโลเมตร เมื่อเวลา 11.32 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น ระเบิดได้รับการออกแบบให้จุดระเบิดด้วยเซ็นเซอร์บารอมิเตอร์ ที่ความสูง 4 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน (4.2 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล) ระเบิดต้องหน่วงเวลาเพื่อให้เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินสังเกตการณ์บินห่างออกไปเป็นระยะทาง 47 กิโลเมตร เพื่อไม่ได้รับผลกระทบจากแรงระเบิด การทดสอบนี้ออกแบบให้เกิดลูกไฟกลางอากาศและให้สลายตัวไปก่อนลูกไฟจะตกลงกระทบพื้นผิวโลก ซาร์ บอมบาเป็นอาวุธนิวเคลียร์แบบความร้อน มีการทำงานเป็น 3 ขั้นตอนแบบ Teller–Ulam คือ ขั้นแรกเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันทำให้เกิดแรงอัด จากนั้นจึงเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ให้ความร้อน และใช้พลังงานจากการระเบิดนำพาความร้อนให้มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างมากขึ้น จากการทดสอบ ซาร์ บอมบาทำให้เกิดลูกไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 กิโลเมตรในอากาศ สามารถมองเห็นและรู้สึกถึงคลื่นความร้อนได้ที่ระยะ 1,000 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางการระเบิด มีรัศมีการทำลายในระยะ 100 กิโลเมตรจากศูนย์กลาง โดยทุกอย่างในรัศมี 40 กิโลเมตรได้ระเหยกลายเป็นไอทั้งหมด เมื่อก๊าซที่เกิดขึ้นปะทะกับเมฆ ทำให้เกิดเมฆรูปเห็ดมีความสูงประมาณ 64 กิโลเมตร ความกว้างของฐานเมฆประมาณ 40 กิโลเมตร พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาระหว่างการระเบิด 2.1 x 1017 จูล หรือ 1% พลังงานเฉลี่ยที่ดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก การระเบิดยังได้ส่งแรงอัดมหาศาลสู่ห้วงอวกาศ ทำให้การสื่อสารเป็นอัมพาตไป 1 ชั่วโมง. แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แบบใหม่บารอมิเตอร์แบบปรอทจาก Musée des Arts et Métiers, ปารีส บารอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือตรวจวัดความดันบรรยากาศ สำหรับวัดค่าความกดดันที่เกิดจากแรงดันของอากาศ โดยใช้ของเหลวหรือวัสดุแข็งที่สัมผัสโดยตรงกับอากาศ การเปลี่ยนแปลงความกดดัน สามารถนำไปพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในช่วงเวลาสั้น ๆ การวัดความกดดันอากาศหลายจุดนำมาประมวลผลภายในการวิเคราะห์อากาศพื้นผิว (surface weather analysis) เพื่อช่วยค้นหาร่องความกดอากาศ (surface troughs), ระบบความกดอากาศสูง (high pressure systems) และเส้นความกดอากาศเท่า (frontal boundaries) ค้นพบหลักการและประดิษฐ์โดย เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซาร์บอมบาและบารอมิเตอร์

ซาร์บอมบาและบารอมิเตอร์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ซาร์บอมบาและบารอมิเตอร์

ซาร์บอมบา มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ บารอมิเตอร์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (19 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซาร์บอมบาและบารอมิเตอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »