ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่
ซากมหานวดารา vs. เมฆแมเจลแลนใหญ่
ซากมหานวดารา N49 ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ ซากมหานวดารา (supernova remnant; SNR) คือโครงสร้างที่เกิดจากการระเบิดขนาดใหญ่ของดวงดาวในปรากฏการณ์ มหานวดารา ซากมหานวดาราคงอยู่ด้วยคลื่นช็อคที่ขยายตัวออกมา ประกอบด้วยวัตถุที่ดีดตัวออกมาจากการระเบิด รวมถึงวัตถุมวลสารระหว่างดาวระหว่างเส้นทางที่ถูกกวาดเข้ามารวมด้วย เส้นทางการเกิดมหานวดารามีสองทางคือ เมื่อดาวฤกษ์มวลมากไม่มีเชื้อเพลิงต่อไปและหยุดสร้างพลังงานฟิวชั่นที่แกนกลาง จึงเกิดการแตกสลายจากภายในด้วยแรงจากความโน้มถ่วงของมันเองกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ หรือดาวแคระขาวที่รวบรวมวัตถุจากดาวข้างเคียงเข้ามาจนกระทั่งมีขนาดถึงมวลวิกฤต และเกิดการระเบิดนิวเคลียร์ความร้อนขึ้น ผลจากการระเบิดมหานวดาราทั้งสองกรณีทำให้มวลสารระหว่างดาวส่วนใหญ่หรือทั้งหมดถูกขับออกไปด้วยความเร็วประมาณ 10% ของความเร็วแสง หรือราว 3,000 กิโลเมตร/วินาที เมื่อมวลสารเหล่านี้ปะทะกับอวกาศหรือแก๊สระหว่างดาวที่อยู่รอบๆ จึงเกิดเป็นคลื่นช็อคที่ทำให้แก๊สมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากถึงขนาด 10 ล้านเคลวิน และกลายเป็นพลาสมา ซากมหานวดาราที่โด่งดังที่สุดและถูกเฝ้าสังเกตมากที่สุดน่าจะได้แก่ SN 1987A ซึ่งเป็นมหานวดาราในเมฆแมเจลแลนใหญ่ ค้นพบในปี.. มฆมาเจลลันใหญ่ เมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud, LMC) คือดาราจักรบริวารของทางช้างเผือก อยู่ห่างจากเราออกไปเพียงไม่ถึง 50 กิโลพาร์เซก (ประมาณ 160,000 ปีแสง) ถือเป็นดาราจักรที่อยู่ใกล้กับทางช้างเผือกเป็นอันดับที่สาม โดยมีดาราจักรแคระชนิดรีคนยิงธนู (ประมาณ 16 กิโลพาร์เซก) กับดาราจักรแคระสุนัขใหญ่ (ประมาณ 12.9 กิโลพาร์เซก) อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของดาราจักรทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่มีมวลสมมูลประมาณ 1 หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ (1010 มวลดวงอาทิตย์) นั่นคือมีมวลเป็นประมาณ 1/10 เท่าของมวลของทางช้างเผือก เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในกลุ่มท้องถิ่น โดยมีดาราจักรแอนดรอเมดา ทางช้างเผือก และดาราจักรไทรแองกูลัม เป็นดาราจักรขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง สอง และสามตามลำดับ โดยมากเมฆแมเจลแลนใหญ่มักถูกพิจารณาว่าเป็นดาราจักรไร้รูปแบบ (ในฐานข้อมูลวัตถุพ้นดาราจักรขององค์การนาซา ระบุรหัสตามลำดับฮับเบิลให้แก่มันเป็น Irr/SB(s)m) อย่างไรก็ดีเมฆแมเจลแลนใหญ่ก็มีโครงสร้างคล้ายคานที่บริเวณศูนย์กลาง ทำให้เชื่อได้ว่ามันอาจจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยมีคานมาก่อน ลักษณะอันไร้รูปแบบของเมฆแมเจลแลนใหญ่อาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาน้ำขึ้นน้ำลงระหว่างตัวมันเองกับทางช้างเผือกและเมฆแมเจลแลนเล็ก เมฆแมเจลแลนใหญ่ปรากฏบนท้องฟ้ายามกลางคืนเป็น "เมฆ" จาง ๆ อยู่ในทางซีกโลกใต้ บริเวณชายขอบระหว่างกลุ่มดาวปลากระโทงแทงกับกลุ่มดาวภูเขา เมฆแมเจลแลนใหญ่เป็นดาราจักรคู่กับเมฆแมเจลแลนเล็ก ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกประมาณ 20 อง.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่
ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่
การเปรียบเทียบระหว่าง ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่
ซากมหานวดารา มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมฆแมเจลแลนใหญ่ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (15 + 15)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซากมหานวดาราและเมฆแมเจลแลนใหญ่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: