เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ซัลบูทามอลและหลอดลม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ซัลบูทามอลและหลอดลม

ซัลบูทามอล vs. หลอดลม

ซัลบูทามอล (Salbutamol) หรือ อัลบูเทอรอล (Albuterol) หรือชื่อทางการค้าคือ เว็นโทลิน (Ventolin) เป็นยาประเภทสารขยายหลอดลม ใช้เพื่อรักษาโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) นอกจากนี้ยังอาจใช้เพื่อรักษาภาวะระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยาประเภทนี้มักใช้โดยวิธีการสูดดมหรือฉีดพ่นละออง แต่ก็มีแบบที่เป็นเม็ดสำหรับทานและแบบที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเช่นกัน โดยแบบสูดดมจะออกฤทธิ์ภายใน 15 นาทีและคงฤทธิ์ได้ตั้งแต่ 2 ถึง 6 ชั่วโมง การใช้ซัลบูทามอลอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง อาการข้างเคียงทั่วไปได้แก่ เวียนหัว, ปวดหัว, อัตราชีพจรเร็ว และรู้สึกกระวนกระวาย ส่วนอาการข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ การบีบเกร็งของหลอดลมเฉียบพลัน, อัตราชีพจรไม่สม่ำเสมอ และระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ยาชนิดนี้สามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้ แต่เพื่อความปลอดภัยควรงดใช้หรือใช้ในปริมาณน้อย ราคาขายส่งยาชนิดนี้ในประเทศกำลังพัฒนา ณ ปี 2014 อยู่ที่ 1.12-2.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อ 200. หลอดลม (trachea) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม หลอดลม หลอดลม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซัลบูทามอลและหลอดลม

ซัลบูทามอลและหลอดลม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): โรคหืด

โรคหืด

รคหืด (asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้ อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate) โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic) โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1 การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้ การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ.

ซัลบูทามอลและโรคหืด · หลอดลมและโรคหืด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ซัลบูทามอลและหลอดลม

ซัลบูทามอล มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลอดลม มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 1 / (8 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซัลบูทามอลและหลอดลม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: