ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ตัวแบบโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์เสรีเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน
ตัวแบบโอเพนซอร์ซ
ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013).
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี ·
ซอฟต์แวร์เสรี
ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.
ซอฟต์แวร์เสรีและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ · ซอฟต์แวร์เสรีและเน็ตบีเอสดี ·
เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน
ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · เน็ตบีเอสดีและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี
การเปรียบเทียบระหว่าง ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ เน็ตบีเอสดี มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.98% = 3 / (13 + 30)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและเน็ตบีเอสดี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: