โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรดดำ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรดดำ

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา vs. แรดดำ

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555. แรดดำ เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากแรดขาว (Ceratotherium simum) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diceros bicornis มีรูปร่างทั่วไปคล้ายแรดขาว เพียงแต่สีผิวที่คล้ำกว่า จึงเป็นมาของชื่อ "แรดดำ" ปากของแรดดำจะเป็นติ่งแหลมยื่นออกมาบริเวณริมฝีปากบน เนื่องจากชอบตวัดกินใบไม้มากกว่า และคอของแรดดำจะสั้นกว่าแรดขาว ผิวหนังมีรอยย่นและตุ่มนูนและหนากว่า หูกลมกว่าแรดขาว ขนาดของแรดดำจะมีขนาดเล็กกว่าแรดขาวพอสมควร คือ ความยาวเต็มที่ประมาณ 140-170 เซนติเมตร ความสูงของไหล่ 3.3-3.6 เมตร น้ำหนักเต็มที่โดยประมาณ 800-1,300 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ในประเทศเคนยา, แทนซาเนีย, แอฟริกาใต้, แคเมอรูน, นามิเบียและซิมบับเว มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย คือ D. b. michaeli, D. b. longipes, D. b. bicornis, D. b. minor ซึ่งบางครั้งเขตหากินของแรดดำอาจจะเข้าไปอยู่ในถิ่นของแรดขาว แต่สัตว์ทั้งสองชนิดนี้ไม่เคยที่จะต่อสู้แก่งแย่งกัน แรดดำเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย ฉุนเฉียวง่ายกว่าแรดขาว สามารถวิ่งได้เร็ว 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่บางครั้งเมื่อตกใจหรือป้องกันตัวอาจวิ่งได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สถานภาพในธรรมชาติของแรดดำปัจจุบันอยู่ในสภาวะ CR (Critically Endangered) คือ มีความเสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในขณะนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรดดำ

ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรดดำ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชนิดย่อยสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแรด

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ชนิดย่อยและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ชนิดย่อยและแรดดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและสัตว์ · สัตว์และแรดดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและแรดดำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแรดดำ · ดูเพิ่มเติม »

แรด

แรด เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคี่ ในวงศ์ Rhinocerotidae แรดถือว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ อาจเรียกได้ว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากช้างก็ว่าได้ เพราะแรดอาจมีขนาดยาวได้ถึง 3.6-5 เมตร ความสูงของไหล่ 1.6-2 เมตร น้ำหนัก 2.3-3.6 ตัน.

ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรด · แรดและแรดดำ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรดดำ

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ แรดดำ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.77% = 5 / (27 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ช้างพุ่มไม้แอฟริกาและแรดดำ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »