โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช้างป่าแอฟริกา

ดัชนี ช้างป่าแอฟริกา

้างป่าแอฟริกา (African forest elephant) เป็นช้างชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา (L. africana) โดยใช้ชื่อว่า L. africana cyclotis จนกระทั่งในปี..

15 ความสัมพันธ์: ช้างพุ่มไม้แอฟริกาช้างแอฟริกายุทธหัตถีวิทยาสัตว์ลึกลับวงศ์เอลิฟานติดีสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์อันดับช้างฮันนิบาลนิ้ว (อวัยวะ)เทือกเขาแอลป์

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธหัตถี

วาดในจินตนาการการใช้ช้างศึกออกสงครามของพระเจ้าเปารยะ สู้กับ กองทัพของอเล็กซานเดอร์มหาราช ยุทธหัตถี หรือ การชนช้าง (Elephant duel) คือการทำสงครามบนหลังช้างตามประเพณีโบราณของกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เป็นการทำสงครามซึ่งถือว่ามีเกียรติยศ เพราะช้างถือเป็นสัตว์ใหญ่ และเป็นการปะทะกันซึ่ง ๆ หน้า ผู้แพ้อาจถึงแก่ชีวิตได้.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและยุทธหัตถี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาสัตว์ลึกลับ

วิทยาสัตว์ลึกลับ หรือ วิทยาสัตว์ประหลาด (Cryptozoology; มาจากภาษากรีก κρυπτός, (kryptos), "ซ่อนเร้น" รวมกับคำว่า สัตววิทยา อันหมายถึง "การศึกษาสัตว์ที่ซ่อนเร้น") เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในทางวิทยาศาสตร์ หรือสัตว์ประหลาด อาทิ บิ๊กฟุต, ชูปาคาบรา ศาสตร์แขนงนี้ได้ถูกบัญญัติขึ้นโดย แบร์นาร์ด อูเวลมงส์ นักชีววิทยาชาวเบลเยียม จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาสัตว์ลึกลับ" วิทยาสัตว์ลึกลับ ได้มีผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้อย่างจริงจัง มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ อาทิ คาร์ล ชูเกอร์ ชาวอังกฤษ, รอย แมคคัล และลอเรน โคลแมน ชาวอเมริกัน เป็นต้น จนมีการก่อตั้งขึ้นเป็น สมาคมวิทยาสัตว์ลึกลับนานาชาติ (International society of Cryptozoology, ตัวย่อ: ISC) ขึ้นในปี ค.ศ. 1982 มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยทุกปีสมาคมจัดการประชุมใหญ่เพื่อให้สมาชิกแลกเปลี่ยนความรู้และยังมีการจัดส่งคณะออกสำรวจค้นหาสัตว์ลึกลับจากทั่วโลกเป็นประจำ เช่น การทดสอบดีเอ็นเอของเยติ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ได้มีการวิจารณ์ว่า วิทยาสัตว์ลึกลับเป็นศาสตร์ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง และไม่ยอมรับให้เป็นแขนงหนึ่งของสัตววิทยา โดยถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียม ด้วยหลายอย่างมิได้ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับผู้ที่ศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้กลับมีความเชื่อมั่น ด้วยมีการค้นพบสัตว์หลายชนิดที่โลกไม่รู้จักหรือคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้วหลายอย่าง เช่น ปลาซีลาแคนท์ ที่แอฟริกา, ซาวลา ที่เวียดนาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและวิทยาสัตว์ลึกลับ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับช้าง

อันดับช้าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Proboscidea (/โพร-โบส-ซิ-เดีย/) มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์กินพืชที่มีร่างกายใหญ่โต มีจมูกและริมฝีปากบนยาว เรียกว่า "งวง" ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับหายใจ หยิบจับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก มีฟันซี่หน้า 2 ซี่ บนขากรรไกรบนยาวใหญ่ และเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ โดยมากไม่เกิน 1 คู่ ขณะที่บางสกุล บางชนิด หรือบางวงศ์มีมากกว่านั้น ไม่มีฟันเขี้ยว ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูกเรเดียส และอัลนาร์สมบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูกทิเบีย และฟิบูลาสมบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้น เมื่อโตขึ้นจะหายไป มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหารที่แบ่งเป็นห้อง ๆ แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตัวผู้มีลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ขณะที่ตัวเมียมีมดลูกแยกเป็นไบคอร์เนาท์ มีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบัน หลงเหลือสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้เพียงวงศ์เดียว คือ Elephantidae 3 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) คือ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่พบในทวีปเอเชีย, ช้างพุ่มไ้ม้แอฟริกา (Loxodonta africana) และช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับช้างยังมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กคล้ายหนูตะเภาที่พบในแอฟริกาอีก ด้วยการที่มีฟันกรามและข้อต่อนิ้วเท้าที่คล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและอันดับช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ฮันนิบาล

ันนิบาล บาร์กา (Hannibal Barca) (248 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 184 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐบุรษคาร์เทจ และแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยไร้พ่ายนานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324 แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่สอง ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจและสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจากภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่สอง เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส (ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลงด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเล.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและฮันนิบาล · ดูเพิ่มเติม »

นิ้ว (อวัยวะ)

นิ้วมือทั้งห้าของมนุษย์ นิ้ว (digits) เป็นอวัยวะของมนุษย์ที่อยู่ปลายสุดของมือหรือเท้า แบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและนิ้ว (อวัยวะ) · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: ช้างป่าแอฟริกาและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

African forest elephantLoxodonta africana cyclotisLoxodonta cyclotisช้างป่าแอฟริกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »