เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ช่องแคบมาเจลลันและบัลปาราอิโซ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ช่องแคบมาเจลลันและบัลปาราอิโซ

ช่องแคบมาเจลลัน vs. บัลปาราอิโซ

วเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน ช่องแคบมาเจลลัน (Strait of Magellan, Magellanic Strait; Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลายพอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก. ัลปาราอิโซ (Valparaíso, "หุบเขาสวรรค์") เป็นหนึ่งในเมืองท่าที่สำคัญที่สุดและศูนย์กลางวัฒนธรรมที่เริ่มมีชีวิตชีวาขึ้นเรื่อย ๆ ของประเทศชิลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองหลักของแคว้นบัลปาราอิโซ โดยในขณะที่ซานเตียโกเป็นเมืองหลวงของประเทศนั้น บัลปาราอิโซก็มีความสำคัญในฐานะเป็นที่ตั้งรัฐสภา ซึ่งเมืองนี้ก็เช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ในชิลีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เกิดขึ้นล่าสุดในปี ค.ศ. 1906 ได้ทำลายตัวเมืองและคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 20,000 ราย ในปี ค.ศ. 2003 รัฐสภาชิลีได้มีมติประกาศให้บัลปาราอิโซเป็น "เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของชิลี" และเป็นที่ตั้งของสำนักงานกระทรวงวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศ แม้ว่าจริง ๆ แล้วเมืองนี้จะเป็นเพียงเมืองใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ โดยมีจำนวนประชากร 263,499 คน แต่เมื่อรวมกับพื้นที่ปริมณฑล (เช่นเมืองพักตากอากาศบิญญาเดลมาร์) แล้ว เขตมหานครกรันบัลปาราอิโซ (Gran Valparaíso) จะใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ (จำนวนประชากร 803,683 คน) บัลปาราอิโซตั้งอยู่ทางตอนกลางของชิลี ห่างจากกรุงซานเตียโกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 120 กิโลเมตร การเดินทางระหว่างสองเมืองนี้ใช้เวลาประมาณ 70 นาที เมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศอีกด้วย เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึง 9 แห่ง รายได้หลักของเมืองมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และการขนส่ง ท่าเรือของเมืองยังเป็นศูนย์กลางการเดินเรือบรรทุกขนส่งสินค้า และส่งออกไวน์ ทองแดง และผลไม้สด บัลปาราอิโซมีบทบาทสำคัญทางภูมิศาสตร์การเมืองในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเป็นที่พักกลางทางของเรือที่เดินทางระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านทางช่องแคบมาเจลลัน ชาวยุโรปได้อพยพเข้ามาอย่างมาก บัลปาราอิโซในขณะนั้นได้รับการขนานนามจากกะลาสีจากชาติต่าง ๆ ว่าเป็น "แซนแฟรนซิสโกน้อย" หรือ "อัญมณีแห่งแปซิฟิก" ซึ่งช่วงนี้เองที่ถือเป็นยุคทองของเมือง โดยตัวอย่างที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของเมืองนี้ ได้แก่ ตลาดหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคลาตินอเมริกา ห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของชิลี และหนังสือพิมพ์ภาษาสเปน (ซึ่งพิมพ์ต่อเนื่องกัน) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นต้น จนกระทั่งการเปิดใช้คลองปานามาและความซบเซาของการเดินเรือได้ทำให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองชะงักลง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ช่องแคบมาเจลลันและบัลปาราอิโซ

ช่องแคบมาเจลลันและบัลปาราอิโซ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกคลองปานามาประเทศชิลี

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ช่องแคบมาเจลลันและมหาสมุทรแอตแลนติก · บัลปาราอิโซและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ช่องแคบมาเจลลันและมหาสมุทรแปซิฟิก · บัลปาราอิโซและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

คลองปานามา

แผนที่การเดินทางในคลองปานามา โดยมีรายชื่อประตูกั้นน้ำประกอบ สถานที่ตั้งของคลองปานามาระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน โดยตัวคลองตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของแผนที่ คลองปานามา (Panama Canal) เป็นคลองเดินเรือสมุทรความยาว 77 กิโลเมตร สร้างขึ้นบริเวณคอคอดปานามาในประเทศปานามา เพื่อเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาที่ต้องไปอ้อมช่องแคบเดรกและแหลมฮอร์น ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ คิดเป็นระยะทางกว่า 22,500 กิโลเมตร ซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการเดินเรือระหว่างสองมหาสมุทร โดยถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือหลักสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ตั้งแต่เปิดทำการ คลองปานามาประสบความสำเร็จและเป็นกุญแจสำคัญในการขนส่งสินค้าทั่วโลก จำนวนเรือที่ผ่านคลองปานามาเพิ่มขึ้นจาก 1,000 ลำต่อปีในยุคแรกเริ่ม มาเป็น 14,702 ลำต่อปี ในปี..

คลองปานามาและช่องแคบมาเจลลัน · คลองปานามาและบัลปาราอิโซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชิลี

ลี (Chile ชีเล) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile; República de Chile) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ติดชายฝั่งทะเลยาวระหว่างเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีอาณาเขตจรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก จรดโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจรดเปรูทางทิศเหนือ ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกของประเทศมีความยาว 6,435 กิโลเมตร ซีไอเอ ชิลีมีดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยครอบครองหมู่เกาะควนเฟร์นันเดซ เกาะซาลาอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในโพลินีเซีย ชิลียังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาด้ว.

ช่องแคบมาเจลลันและประเทศชิลี · บัลปาราอิโซและประเทศชิลี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ช่องแคบมาเจลลันและบัลปาราอิโซ

ช่องแคบมาเจลลัน มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ บัลปาราอิโซ มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 9.52% = 4 / (14 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ช่องแคบมาเจลลันและบัลปาราอิโซ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: