โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์

ช่องแคบบอสพอรัส vs. มาร์มาไรย์

กอากาศของช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบบอสพอรัส (Bosporus Strait) หรือ ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus Strait) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (İstanbul Boğazı) เป็นช่องแคบที่กั้นระหว่างตุรกีเธรซที่อยู่ในทวีปยุโรปกับคาบสมุทรอานาโตเลียในทวีปเอเชีย เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดะเนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับทะเลอีเจียน ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาเนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลมาร์มะราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบบอสฟอรัสยาวราว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นถึงราว 11 ล้านคน. รงการมาร์มาไรย์เป็นโครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบบอสฟอรัส เพื่อเชื่อมรถไฟชานเมือง (เส้นสีฟ้า) ระหว่างเมืองอิสตันบูลฝั่งทวีปเอเชียและฝั่งทวีปยุโรปเข้าด้วยกัน มาร์มาไรย์ (Marmaray) เป็นโครงการเกี่ยวกับระบบขนส่งทางรางในเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้ช่องแคบบอสฟอรัส เชื่อมประเทศตุรกีฝั่งทวีปเอเชียและทวีปยุโรปเข้าด้วยกัน (ประเทศตุรกีตั้งอยู่บนสองทวีป โดยมีช่องแคบบอสฟอรัสเป็นเขตแบ่งทวีป) โครงการนี้ยังรวมถีงการปรับปรุงสภาพรถไฟชานเมืองสายเลียบทะเลมาร์มารา ตั้งแต่สถานี Halkalı ของฝั่งทวีปยุโรป ไปจนถึงสถานี Gebze บนฝั่งทวีปเอเชีย โดยใช้อุโมงค์ดังกล่าวเชื่อมระบบรถไฟทั้งสองฝั่ง รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้างยานพาหนะที่ใช้วิ่งรับส่งผู้โดยสาร, Railway Gazette International, 23 กุมภาพันธ์ 2552 (2009).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์

ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อิสตันบูลทวีปยุโรปทวีปเอเชียทะเลมาร์มะราประเทศตุรกี

อิสตันบูล

อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".

ช่องแคบบอสพอรัสและอิสตันบูล · มาร์มาไรย์และอิสตันบูล · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ช่องแคบบอสพอรัสและทวีปยุโรป · ทวีปยุโรปและมาร์มาไรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ช่องแคบบอสพอรัสและทวีปเอเชีย · ทวีปเอเชียและมาร์มาไรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลมาร์มะรา

ที่ตั้งของทะเลมาร์มะรา ทะเลมาร์มะรา หรือ ทะเลมาร์โมรา (Sea of Marmara, Marmara Sea, Sea of Marmora; Marmara Denizi; Προποντίς) เป็นทะเลที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลอีเจียน ซึ่งแยกตุรกีในทวีปเอเชียจากตุรกีในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือช่องแคบบอสฟอรัสเชื่อมกับทะเลดำ ทางตอนใต้ช่องแคบดาร์ดาเนลส์เชื่อมกับทะเลอีเจียน ทะเลมาร์มะรามีเนื้อที่ทั้งหมด 11,350 ตารางกิโลเมตร และจุดที่ลึกที่สุดลึก 1,370 เมตร.

ช่องแคบบอสพอรัสและทะเลมาร์มะรา · ทะเลมาร์มะราและมาร์มาไรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ช่องแคบบอสพอรัสและประเทศตุรกี · ประเทศตุรกีและมาร์มาไรย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์

ช่องแคบบอสพอรัส มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ มาร์มาไรย์ มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 18.52% = 5 / (11 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ช่องแคบบอสพอรัสและมาร์มาไรย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »