โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อยประเภท V

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อยประเภท V

ช่องว่างเคิร์กวูด vs. ดาวเคราะห์น้อยประเภท V

องว่างเคิร์กวูด หรือ ช่องแคบเคิร์กวูด (Kirkwood gaps) เป็นช่องว่างของการกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ (หรือเทียบเท่ารอบการโคจรของมัน) ดังแสดงให้เห็นในแผนภาพฮิสโตแกรมข้างล่างนี้ ตำแหน่งของช่องว่างเคิร์กวูดมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งการสั่นพ้องของวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี แผนภาพแสดงการกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อยตามกึ่งแกนเอกต่างๆ ตามค่าแกนของแถบหลัก ตำแหน่งลูกศรชี้คือตำแหน่งช่องว่างเคิร์กวูด ยกตัวอย่างดังนี้ มีดาวเคราะห์น้อยอยู่จำนวนน้อยมากที่ค่ากึ่งแกนเอกใกล้เคียงกับ 2.50 หน่วยดาราศาสตร์ หรือคาบโคจร 3.95 ปี ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ต้องโคจรไปสามรอบจึงจะเท่ากับรอบโคจรของดาวพฤหัสบดี 1 รอบ (ดังนั้นจึงเรียกตำแหน่งนี้ว่า การสั่นพ้องวงโคจร 3:1) ตำแหน่งการสั่นพ้องวงโคจรแห่งอื่นๆ มีความสัมพันธ์กับคาบโคจรของดาวพฤหัสบดีแบบเป็นเลขจำนวนเต็มเช่นเดียวกัน แรงสั่นพ้องนี้ไล่ให้ดาวเคราะห์น้อยออกไปจากบริเวณ ขณะที่ยอดแหลมในแผนภาพฮีสโตแกรมมักแสดงถึงการรวมกลุ่มกันของตระกูลดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ ผู้ที่สังเกตเห็นช่องว่างนี้เป็นครั้งแรก คือ แดเนียล เคิร์กวูด ในปี ค.ศ. 1857 ทั้งยังสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตำแหน่งช่องว่างเหล่านี้กับวงโคจรของดาวพฤหัสบดีด้วย หมวดหมู่:ดาวเคราะห์น้อย. วเคราะห์น้อยประเภท V หรือดาวเคราะห์น้อยเวสตอยด์ (Vestoid; หมายถึง คล้ายเวสต้า) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยเวสต้า ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดในประเภทนี้ และเป็นที่มาของชื่อ (V) ดาวเคราะห์น้อยประเภทนี้ส่วนมากมีองค์ประกอบของวงโคจรคล้ายคลึงกับ 4เวสต้า มีความเยื้องศูนย์กลางและความเอียงของวงโคจรพอๆ กัน ทั้งยังอยู่ใกล้กันพอที่จะถือเป็นดาวเคระกูลเวสต้า โดยมีค่ากึ่งแกนเอก ระหว่าง 2.18 หน่วยดาราศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณช่องว่างเคิร์กวูด 3:1 หรือ 2.50 หน่วยดาราศาสตร์ ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนมากเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกของเวสต้ามาก่อน แล้วแตกกระจายออกโดยการปะทะคราวใดคราวหนึ่งในอดีต ทั้งนี้มีแอ่งขนาดใหญ่ทางซีกใต้ของเวสต้าที่สนับสนุนสมมุติฐานนี้ ดาวเคราะห์น้อยประเภท V มีความสว่างระดับปานกลาง โดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยประเภท S ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหิน เหล็ก และคอนไดรท์ธรรมดาๆ แต่มี ไพร็อกซีน มากกว่าประเภท S.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อยประเภท V

ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อยประเภท V มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กึ่งแกนเอกหน่วยดาราศาสตร์ดาวเคราะห์น้อย

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

กึ่งแกนเอกและช่องว่างเคิร์กวูด · กึ่งแกนเอกและดาวเคราะห์น้อยประเภท V · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ช่องว่างเคิร์กวูดและหน่วยดาราศาสตร์ · ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อย · ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท V · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อยประเภท V

ช่องว่างเคิร์กวูด มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาวเคราะห์น้อยประเภท V มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 17.65% = 3 / (9 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ช่องว่างเคิร์กวูดและดาวเคราะห์น้อยประเภท V หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »