เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส

ช็อก vs. แอนาฟิแล็กซิส

วะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติKumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007). แอนาฟิแล็กซิส หรือปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงเป็นภาวะ ภูมิแพ้ อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่ทำให้มีอาการ เช่น ผื่นคัน ปากคอบวม และ ความดันเลือดต่ำ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แมลงกัดต่อย อาหาร และยา ในระดับ พยาธิสรีรวิทยา นั้นแอนาฟิแล็กซิสนี้เกิดจากการที่เซลล์ เม็ดเลือดขาว บางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาจากการกระตุ้นโดยภูมิคุ้มกัน หรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดงที่ปรากฏ การรักษาหลักคือการใช้ อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ประมาณเอาไว้ว่า 0.05-2% ของประชากรทั่วโลกจะเกิดแอนาฟิแล็กซิสขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต และตัวเลขอุบัติการณ์นี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก ἀνά ana, ต่อต้าน และ φύλαξις phylaxis,ป้องกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส

ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์หัวใจหยุดเต้นหัวใจเต้นเร็วความดันโลหิตต่ำ

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์คือโรคหรือการบาดเจ็บที่เป็นขึ้นเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในระยะยาวโดยทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันทีเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน.

ช็อกและภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ · ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจหยุดเต้น

หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) คือภาวะซึ่งหัวใจไม่มีการบีบตัว ทำงานผิดปกติ หรือทำงานช้าลง ทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือด ทำให้ไม่มีการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ เกิดอาการของการทำงานผิดปกติที่อวัยวะต่างๆ ที่เห็นได้อย่างหนึ่งคือการทำงานของสมอง ซึ่งเมื่อไม่มีเลือดเลี้ยงทำให้หมดสติ หากหัวใจหยุดเต้นนานกว่า 5 นาที มีโอกาสเกิดความเสียหายต่อเนื้อสมองได้มาก การช่วยเหลือในทันทีจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและมีการฟื้นตัวของสมองที่ดี หัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ บางครั้งหากได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจทำให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ได้ หากมีหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันโดยไม่คาดฝันจนเสียชีวิตใช้ศัพท์ว่า sudden cardiac death วิธีสำคัญในการรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นคือการช่วยกู้ชีพ (CPR) เพื่อสร้างการไหลเวียนของเลือดให้มีเลือดไปเลี้ยงร่างกาย พิจารณาสัญญาณไฟฟ้าหัวใจว่าเป็นชนิดที่สามารถช็อกไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือได้หรือไม่และให้การรักษาตามความเหมาะสม.

ช็อกและหัวใจหยุดเต้น · หัวใจหยุดเต้นและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นเร็ว

หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia) เป็นภาวะซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นไปจากภาวะปกติ โดยทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ อัตราการเต้นของหัวใจที่ถือว่าเร็วคือมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ภาวะที่มีหัวใจเต้นเร็วนี้อาจเกิดขึ้นตามปกติ (เช่น หลังการออกกำลังกาย) หรือผิดปกติ (เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ) ก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติแบ่งตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ supraventricular tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน และ ventricular tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง.

ช็อกและหัวใจเต้นเร็ว · หัวใจเต้นเร็วและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ความดันโลหิตต่ำและช็อก · ความดันโลหิตต่ำและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส

ช็อก มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ แอนาฟิแล็กซิส มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 6.25% = 4 / (17 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: