โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป)

ชุมนุมเจ้าพระฝาง vs. พระฝาง (พระพุทธรูป)

รูปหล่อบุคคลในพิพิธภัณฑ์วัดพระฝาง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปหล่อของเจ้าพระฝาง (เรือน) อดีตผู้นำชุมนุมอิสระหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองธีระวัฒน์ แสนคำ. (2559). "'''ศึกเจ้าพระฝาง พ.ศ. 2313: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับการปราบ "พวกสงฆ์อลัชชี" ที่เมืองสวางคบุรี'''," ใน ''ศิลปวัฒนธรรม''. ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 มีนาคม ชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ พระพากุลเถระ (มหาเรือน) พระสังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี (ฝาง) ชุมนุมดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพมาปราบปราม เมื่อ พ.ศ. 2313 โดยชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313. ระฝาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระฝาง ในสมัยที่เป็นสังฆราชาเมืองฝาง และเคยเป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จนในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระฝางมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ ส.ผ. วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป)

ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป) มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บานประตูวิหารวัดพระฝางชุมนุมเจ้าพระฝางพ.ศ. 2313พระพุทธชินราชพระฝาง (พระพุทธรูป)พระฝางจำลอง (พระพุทธรูป)วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถวัดคุ้งตะเภาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศอยุธยาเมืองสวางคบุรี

บานประตูวิหารวัดพระฝาง

นประตูวัดพระฝาง เป็นบานประตูไม้จำหลักปิดทองประดับกระจกโบราณสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นบานประตูพุทธศาสนสถานที่มีความสวยงามมากที่สุด 1 ใน 3 คู่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ คือ บานประตูวิหารวัดพระฝาง, บานประตูพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ และบานประตูวิหารวัดดอนสัก โดยประตูวิหารวัดพระฝางนี้เป็น 1 ใน 2 คู่ บานประตูสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันบานประตูวัดพระฝางบานเดิมจัดแสดงอยู่ที่อาคารธรรมสภา วัดธรรมาธิปไตย ภายในตัวเมืองอุตรดิตถ์ ส่วนบานจำลองสร้างใหม่ติดตั้งจัดแสดงอยู่ในกรอบประตูวิหารหลวงวัดพระฝาง สามารถเข้าชมได้ทุกวัน.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและบานประตูวิหารวัดพระฝาง · บานประตูวิหารวัดพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป) · ดูเพิ่มเติม »

ชุมนุมเจ้าพระฝาง

รูปหล่อบุคคลในพิพิธภัณฑ์วัดพระฝาง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปหล่อของเจ้าพระฝาง (เรือน) อดีตผู้นำชุมนุมอิสระหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองธีระวัฒน์ แสนคำ. (2559). "'''ศึกเจ้าพระฝาง พ.ศ. 2313: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับการปราบ "พวกสงฆ์อลัชชี" ที่เมืองสวางคบุรี'''," ใน ''ศิลปวัฒนธรรม''. ปีที่ 37 ฉบับที่ 5 มีนาคม ชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ พระพากุลเถระ (มหาเรือน) พระสังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี (ฝาง) ชุมนุมดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพมาปราบปราม เมื่อ พ.ศ. 2313 โดยชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและชุมนุมเจ้าพระฝาง · ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2313

ทธศักราช 2313 ใกล้เคียงกั.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและพ.ศ. 2313 · พ.ศ. 2313และพระฝาง (พระพุทธรูป) · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธชินราช

ระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี..

ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระพุทธชินราช · พระฝาง (พระพุทธรูป)และพระพุทธชินราช · ดูเพิ่มเติม »

พระฝาง (พระพุทธรูป)

ระฝาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าพระฝาง ในสมัยที่เป็นสังฆราชาเมืองฝาง และเคยเป็นพระประธานในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ จนในปี พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดให้อัญเชิญองค์พระฝางมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ ส.ผ. วัดเบญจมบพิตรฯ กรุงเทพมหานคร จนถึงปัจจุบัน.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป) · พระฝาง (พระพุทธรูป)และพระฝาง (พระพุทธรูป) · ดูเพิ่มเติม »

พระฝางจำลอง (พระพุทธรูป)

ระฝางจำลอง เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ประดิษฐานที่อุโบสถวัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พระพุทธรูปองค์นี้จำลองมาจาก พระพุทธรูปพระฝาง ที่ประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร ทั้งองค์จำลองและองค์จริงมีพุทธลักษณะปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุโลหะลงรักปิดทอง (องค์จริงโลหะสัมฤทธิ์ปิดทอง) หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว) พระพุทธรูปองค์นี้ คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 11, จังหวัดอุตรดิตถ์, กรมศิลปากร และพุทธศาสนิกชน ร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 และได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดพระฝางสวางคบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ ฐานพระเปล่าในอุโบสถวัดพระฝาง สถานที่ ๆ เคยประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝางในอดีต พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญองค์พระมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2444 และยังคงประดิษฐานอยู่ที่นั่นมาจนถึงปัจจุบัน.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝางจำลอง (พระพุทธรูป) · พระฝาง (พระพุทธรูป)และพระฝางจำลอง (พระพุทธรูป) · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระฝาง หรือชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. 1700 (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของศูนย์กลางเมืองฝางสวางคบุรี เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้เป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสวางคบุรี ซึ่งในอดีตได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระธาตุเจดีย์หริภุญชัย และพระพุทธบาทสระบุรี นอกจากนี้ วัดพระฝางนั้น ยังเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในคราวเสียสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อีกด้วย วัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับรอยพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ได้เสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกในสมัยธนบุรี จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัดพระฝางยังมีอุโบสถมหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถาน ตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝาง ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักศิลปะสมัยอยุธยาอันสวยงามอยู่ (บานปัจจุบันเป็นบานจำลอง) และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเชียงแสน ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่วัดธรรมาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494) ปัจจุบัน วัดพระฝางมีพระมหาณรงค์ กิตติสาโร เป็นเจ้าอาวาส พระลูกวัดทั้งสิ้น 15 รูป วัดแห่งนี้ ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 32 ไร่ 3 งาน 90 ตารางว.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ · พระฝาง (พระพุทธรูป)และวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ชุมนุมเจ้าพระฝางและวัดคุ้งตะเภา · พระฝาง (พระพุทธรูป)และวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

มเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรนั้น เดิมพระองค์เป็นนายทหารในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อม..

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · พระฝาง (พระพุทธรูป)และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

มเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ พระมหาธรรมราชา เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ · พระฝาง (พระพุทธรูป)และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ · ดูเพิ่มเติม »

อยุธยา

อยุธยา อาจหมายถึง.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและอยุธยา · พระฝาง (พระพุทธรูป)และอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

เมืองสวางคบุรี

วางคบุรี หรือ ฝาง เป็นเมืองโบราณที่มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนสืบต่อเนื่องยาวนานมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นเมืองที่อยู่เหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตและเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยาโบราณ โดยอาณาเขตเมืองสวางคบุรีโบราณครอบคลุมพื้นที่ ตำบลผาจุก, ตำบลคุ้งตะเภา และตำบลแสนตอ ในปัจจุบัน เมืองสวางคบุรี ปรากฏหลักฐานการมีอยู่ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่าเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า และปรากฏชื่อเมืองในศิลาจารึกสุโขทัยหลายหลัก รวมถึงพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ และจากการเคยเป็นเมืองชายแดนพระราชอาณาเขต ทำให้เมืองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนจากแคว้นล้านนาและล้านช้าง ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองส่วนใหญ่สืบทอดขนบวัฒนธรรมแบบคนหัวเมืองเหนือโบราณ (ภาษาถิ่นสุโขทัย) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองนี้ หลังการสิ้นสุดลงของชุมนุมเจ้าพระฝาง ระหว่างปี พ.ศ. 2310-2313 ที่มีเมืองสวางคบุรีเป็นศูนย์กลาง และการขับไล่พม่ารวบรวมหัวเมืองล้านนาไว้ภายในพระราชอาณาเขตได้ในสมัยกรุงธนบุรี ประกอบกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ทางการค้าลุ่มแม่น้ำน่านในยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองสวางคบุรีร่วงโรยลงในระยะต่อมา เมืองสวางคบุรีได้ลดฐานะความเป็นเมืองสำคัญทางศาสนาลงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเมืองสวางคบุรีไม่ได้เป็นเมืองเหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตอีกต่อไป อีกทั้งชาวเมืองสวางคบุรีส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่ในบริเวณที่กลายมาเป็นเมืองบางโพ (ท่าอิฐ, ท่าเสา) และได้รับยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน.

ชุมนุมเจ้าพระฝางและเมืองสวางคบุรี · พระฝาง (พระพุทธรูป)และเมืองสวางคบุรี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป)

ชุมนุมเจ้าพระฝาง มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระฝาง (พระพุทธรูป) มี 27 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 16.44% = 12 / (46 + 27)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมนุมเจ้าพระฝางและพระฝาง (พระพุทธรูป) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »