เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชื่อบุคคลจีนและป๋วย อึ๊งภากรณ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชื่อบุคคลจีนและป๋วย อึ๊งภากรณ์

ชื่อบุคคลจีน vs. ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ชื่อบุคคลจีน จะมีการวางตำแหน่งของชื่อและนามสกุลต่างจากรูปแบบชื่อบุคคลไทย และชื่อบุคคลทางตะวันตก โดยจะมีการวางนามสกุลไว้หน้าชื่อ และเขียนชื่อทั้งหมดติดกัน โดยตัวอย่างเช่น หลิว เต๋อหัว (刘德华) ชื่อคือ เต๋อหัว และนามสกุลคือ หลิว ชื่อบุคคลจีนมีการใช้ในหลายประเทศที่ใช้ภาษาจีนเป็นหลักได้แก่ ประเทศจีน ประเทศไต้หวัน ประเทศสิงคโปร์ นามสกุลของจีนเรียกว่า "แซ่" (姓) มักจะมีคำเดียว เช่น แซ่ตั้ง (陳/陈) แซ่หวัง (王) แซ่เตียวหรือแซ่จาง (張/张) ในอดีตอาจพบนามสกุลจีนสองคำขึ้นไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นเชื้อสายราชวงศ์หรือขุนนาง เมื่อหญิงสาวแต่งงานก็จะเปลี่ยนไปใช้แซ่ของสามี สำหรับชื่อตัวอาจมีหนึ่งหรือสองคำ ส่วนเสียงอ่านก็ขึ้นอยู่กับสำเนียงที่ใช้ อย่างเช่นเล่าปี่ ก็มีแซ่เล่า (ภาษาจีนกลางอ่านว่า หลิวเป้ย) ชื่อของคนจีนนั้นจะมีสองชื่อคือ ชื่อที่เรียกกันในบ้านหรือในครอบครัว เรียกว่า "หมิง" มักมีพยางค์เดียว และ "ชื่อทางการ" (Chinese style name, courtesy name or adulte name) ซึ่งเป็นชื่อที่ครูตั้งให้เมื่อเข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เล่าปี่ เล่า (หลิว) เป็นแซ่หรือนามสกุล ปี่ (เป้ย) เป็นหมิง ส่วนชื่อทางการคือ เสวี้ยนเต๋อ หมวดหมู่:ชื่อ หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน. ตราจารย์ พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (ชื่อจีน: 黃培謙 Huáng Péiqiān 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน เป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว จังหวัดชัยนาท จนได้ชื่อว่าเป็น “วีรบุรุษวังน้ำขาว” เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ป๋วยได้แสดงความกล้าหาญ หลายครั้งโดยเฉพาะการส่งจดหมายในนาม "นายเข้ม เย็นยิ่ง" ถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับสังคม จุดประกายให้กับขบวนการ 14 ตุลาคม 2516 ด้วยความที่เขาได้รับการชื่นชมมากมายจากสังคม ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ป๋วยก็ถูกทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ออกมาโจมตีกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนในที่สุดก็ต้องออกเดินทางลี้ภัยไปต่างประเทศ และเสียชีวิตลงในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ที่ประเทศอังกฤษ สเตฟาน คอลินยองส์ (Stefan Collingnon) นักวิชาการร่วมสมัยชาวเยอรมัน ได้กล่าวยกย่องป๋วยว่าเป็น "บิดาของเมืองไทยสมัยใหม่" (Founding Father of Modern Thailand) ในฐานะผู้วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ป๋วยได้รับ รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2508 และได้รับการยกย่องจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2558.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชื่อบุคคลจีนและป๋วย อึ๊งภากรณ์

ชื่อบุคคลจีนและป๋วย อึ๊งภากรณ์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชื่อบุคคลจีนและป๋วย อึ๊งภากรณ์

ชื่อบุคคลจีน มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มี 115 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (7 + 115)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชื่อบุคคลจีนและป๋วย อึ๊งภากรณ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: