โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชีววิทยาทางทะเล

ดัชนี ชีววิทยาทางทะเล

accessdate.

29 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาชีวิตพืดหินปะการังการท่องเที่ยวการตั้งชื่อทวินามมหาสมุทรระบบนิเวศร่องลึกก้นสมุทรวัฏจักรออกซิเจนวัฏจักรคาร์บอนวงศ์สกุล (ชีววิทยา)สาหร่ายสิ่งแวดล้อมสปีชีส์หญ้าทะเลอันดับวาฬและโลมาอาริสโตเติลธรรมชาติวิทยาทะเลดีมอซคาโรลัส ลินเนียสปล่องแบบน้ำร้อนนันทนาการนิเวศวิทยาน้ำกร่อยแพลงก์ตอนพืชแรงตึงผิวไฟลัม

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใ.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและการท่องเที่ยว · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทร

การแบ่งมหาสมุทรตามแบบต่างๆ แผ่นที่กายภาพก้นทะเล มหาสมุทร (ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก มหาสมุทรเรียงตามลำดับขนาดจากมากไปน้อยได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก คำว่า sea หรือทะเล บางครั้งใช้แทนคำว่า "ocean" หรือ "มหาสมุทร" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันได้ แต่หากเจาะจงการพูดแล้ว sea คือแหล่งน้ำเค็ม (ส่วนหนึ่งของมหาสมุทร) ส่วนที่มีพื้นที่ติดพื้นดิน มวลน้ำเค็มปกคลุมประมาณ 72% ของพื้นผิวโลก (~3.6 กม.2) และถูกแบ่งเป็นมหาสมุทรหลัก ๆ และทะเลขนาดเล็กอีกหลายแห่ง โดยมหาสมุทรจะครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% มหาสมุทรประกอบด้วยน้ำของโลก 97% และนักสมุทรศาสตร์กล่าวว่ามหาสมุทรในโลกเพิ่งได้มีการสำรวจไปได้เพียง 5% เท่านั้น ปริมาตรสุทธิมีประมาณ 1.35 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร (320 ล้านลูกบาศก์ไมล์) มีความลึกเฉลี่ยที่ เนื่องจากมหาสมุทรเป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก มหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์ แม้ว่ามหาสมุทรในส่วนที่ลึก ๆ ส่วนมากยังคงไม่ถูกสำรวจ และเชื่อกันว่ามีสิ่งมีชีวิตใต้น้ำมากกว่า 2 ล้านชนิดอยู่ในนั้น จุดกำเนิดของมหาสมุทรนั้นยังไม่มีคำตอบ แต่มีความคิดว่ามันเกิดขึ้นในบรมยุคเฮเดียน และอาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศ

ืดหินปะการังเป็นระบบนิเวศทะเลอย่างหนึ่ง ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นร.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและระบบนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทร

ปลือกโลกใต้มหาสมุทรจะเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรขณะที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจะถูกมุดกลับเข้าไปในชั้นฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรถือเป็นหนึ่งในขอบเขตทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดบนพื้นผิวในส่วนที่เป็นของแข็งของโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ขอบเขตระหว่างแผ่นธรณีภาคชั้นนอกมี 3 ประเภท คือ ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundary) (เป็นขอบเขตที่เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร) ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent boundary) (เป็นขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจมลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งกลับลงไปสู่ชั้นเนื้อโลก) และขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกัน (transform boundary) ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและร่องลึกก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรออกซิเจน

วัฏจักรออกซิเจน ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศประมาณ4.008 การหมุนเวียนของออกซิเจนจะเกิดควบคู่ไปกับคาร์บอน ในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสงของสิ่งมีชีวิต จะมีการผลิตก๊าซออกซิเจนเข้าสู่บรรยากาศในขณะที่มีการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อสิ่งมีชีวิตหายใจ ก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศจะถูกใช้ ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถูกผลิตออกมา ในมหาสมุทร แพลงค์ตอนพืชเป็นผู้ผลิตก๊าซออกซิเจนจากการสังเคราะห์ด้วยแสงจึงทำไห้.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและวัฏจักรออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรคาร์บอน

แผนภูมิของวัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรคาร์บอน เป็นวัฏจักรชีวธรณีเคมี ซึ่งคาร์บอนถูกแลกเปลี่ยนระหว่างสิ่งมีชีวิต, พื้นดิน, น้ำ และบรรยากาศของโลกคาร์บอนเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่งของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบประมาณ 50%ของเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต และในรูปคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 แบบ ตามระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเวียนให้ครบรอบคือ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและวัฏจักรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์

วงศ์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่าย

หร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามหินชายฝั่ง สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งแวดล้อม

งแวดล้อม หมายถึง.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและสิ่งแวดล้อม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าทะเล

หญ้าตะกานน้ำเค็ม (''Ruppia maritima'') หญ้าทะเล (Seagrass) เป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียว ที่ได้มีวิวัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล โดยมีลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่เจริญอยู่บนบก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1.ราก เป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอารหารและแร่ธาตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดินทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง 2.เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดิน 3.ใบ เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรูปร่างแตกต่างกันตามแต่ชนิดของหญ้าทะเล มีทั้งชนิดที่ใบมีลักษณะเป็นแผ่นแบน และชนิดที่เป็นท่อกลม ใบของหญ้าทะเลใช้เป็นลักษณะสำคัญในการจำแนกชนิดของหญ้าทะเล หญ้าทะเล เดิมเคยเป็นพืชที่อยู่บนบกมาก่อน ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตโบราณแบบเดียวกับฟองน้ำหรือปะการัง จึงมีโครงสร้างแบบพืชบนบกในปัจจุบันปรากฏให้เห็น.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและหญ้าทะเล · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวาฬและโลมา

ซีทาเซีย (Order Cetacea) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับซีทาเซีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายปลา เช่นวาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะภายนอกคล้ายปลา จนมักเรียกติดปลาว่า ปลาวาฬ และ ปลาโลมา ซึ่งผิดหลักอนุกรมภิธาน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลนี้เป็นสัตว์บกที่วิวัฒนาการกลับลงไปในทะเล.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและอันดับวาฬและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมชาติวิทยา

ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยา หรือ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึงคำรวมที่ใช้เรียกสรรพสิ่งทั้งหลายที่ปัจจุบันมองว่าเป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉพาะชัดเจน นิยามเกือบทั้งหมดรวมถึงการศึกษาสิ่งมีชีวิต (เช่น ชีววิทยา รวมทั้งพฤกษศาสตร์และสัตววิทยา) นิยามอื่นได้ขยายเนื้อหารวมไปถึง บรรพชีวินวิทยา นิเวศวิทยา ดาราศาสตร์ หรือชีวเคมี รวมทั้งธรณีวิทยาและฟิสิกส์ หรือแม้แต่อุตุนิยมวิทยา บุคคลผู้สนใจในธรรมชาติวิทยาเรียกว่า "นักธรรมชาติวิทยา".

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและธรรมชาติวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ดีมอซ

alt.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและดีมอซ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ปล่องแบบน้ำร้อน

ปล่องแบบน้ำร้อน (Hydrothermal vent.) อาจเรียกว่าปล่องไฮโดรเทอร์มอร์หรือปล่องน้ำร้อนใต้ทะเล คือรอยแยกบนเปลือกผิวโลกที่มีน้ำร้อนไหลออกมา ปรกติจะพบใกล้กับแหล่งภูเขาไฟที่ที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกันในแอ่งมหาสมุทรและฮอตสปอต ปล่องไฮโดรเทอร์มอลพบได้ทั่วไปเนื่องจากในทางธรณีวิทยาแล้วโลกของเรามีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาและมีมวลน้ำจำนวนมหาศาลทั้งบนผิวโลกและในเปลือกโลก ประเภทที่พบบนพื้นผิวทวีปก็คือแหล่งน้ำพุร้อน, พุแก๊สและไกเซอร์ ระบบของปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนพื้นผิวทวีปที่เป็นที่รู้จักกันดีอาจเป็นแหล่งน้ำพุร้อนในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในสหรัฐอเมริกา สำหรับใต้ทะเลนั้นปล่องไฮโดรเทอร์มอลอาจทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่าแบลคสโมกเกอร์หรือไวท์สโมกเกอร์ เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ใต้ทะเลลึกแล้ว พื้นที่โดยรอบปล่องไฮโดรเทอร์มอลจะมีความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพเป็นอย่างมาก ปรกติจะเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนที่หล่อเลี้ยงโดยสารเคมีที่ละลายอยู่ในของเหลวบริเวณปล่องนั้น สิ่งมีชีวิตอย่างอาร์เคียที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการสังเคราะห์อาหารทางเคมีถือเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารที่รองรับสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายอย่างเช่นหนอนท่อยักษ์ หอยกาบ และกุ้ง เชื่อกันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีด้วย และก็เดากันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลโบราณบนดาวอังคารด้วยเหมือนกัน.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและปล่องแบบน้ำร้อน · ดูเพิ่มเติม »

นันทนาการ

กิจกรรมปีนหน้าผา นันทนาการ (recreation) คือ กิจกรรมที่สมัครใจทำในยามว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ นันทนาการ การเล่น และความสนุกสนาน ไม่สงวนไว้แต่มนุษย์ แต่พบได้ในสัตว์เกือบทุกชนิด การเล่นช่วยพัฒนาทักษะต่าง ๆ โดยเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหวในสิ่งมีชีวิตวัยเยาว์ สำหรับมนุษย์ กิจกรรมนันทนาการมักเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ และวันหยุด ประกอบด้วย ดนตรี การเต้นรำ กีฬา งานอดิเรก เกม และการท่องเที่ยว การดูโทรทัศน์ และฟังเพลง เป็นรูปแบบสามัญของนันทนาการ.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและนันทนาการ · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอนพืช

แพลงก์ตอนพืชชนิดและรูปร่างต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ถึงมิลลิเมตร ไดอะตอม สิ่งมีชีวิตหลักกลุ่มหนึ่งในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (ฟิตอน) หมายถึง "พืช" และ πλαγκτός (พลังค์ตอส) หมายถึง "ผู้เดินทาง" หรือ "ผู้เร่ร่อน" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต ในทางชีววิทยา แพลงก์ตอนพืชบางสปีชี่ส์จัดอยู่ในอาณาจักรพืช เช่น สาหร่ายสีเขียว บางชนิดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีทอง บางชนิดอยู่ในกลุ่มเฮเทอโรคอนท์ ซึ่งไม่ได้จัดอันดับไว้ (จำพวกไดโนแฟลกเจลเลต) และบางชนิดถูกจัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืชยังเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำหรือท้องทะเล สัตว์บางชนิดมีอวัยวะคล้ายตาข่ายเพื่อดักจับแพลงก์ตอนพืชโดยเฉพาะ เช่น กุ้งเคย ห่วงโซ่อาหารหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ แพลงก์ตอนพืช → กุ้งเคย → วาฬ มนุษย์นำแพลงก์ตอนพืชมาใช้ประโยชน์ในหลายทาง แพลงก์ตอนบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม บางชนิดถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แพลงก์ตอนพืชที่มีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำใด ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แดง น้ำตาล หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดโนแฟลกเจลเลตอย่าง Noctiluca scintillans ทำให้น้ำเป็นสีเขียว Ceratium furca ทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น แพลงก์ตอนพืชปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากทำให้น้ำขาดออกซิเจนหรือลดลงอย่างมาก หรือทำให้เกิดภาวะสะสมของสารพิษที่มาจากตัวแพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตออกซิเจน นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณออกซิเจนถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลกผลิตขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช ปัจจุบันแพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตั้งแต..

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและแพลงก์ตอนพืช · ดูเพิ่มเติม »

แรงตึงผิว

แรงตึงผิว (Surface tension) คือคุณสมบัติของพื้นผิวของของเหลว เป็นสิ่งทำให้เกิดบางส่วนของพื้นผิวของเหลวถูกดึงดูด (ยึดเข้าไว้ด้วยกัน) สู่พื้นผิวอื่น เช่น พื้นผิวของเหลวส่วนอื่น (การรวมตัวของหยดน้ำหรือหยดปรอทที่แกะกันเป็นลูกกลม) แรงตึงผิวถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการดึงดูด (การดึงดูดของโมเลกุลกับโมเลกุลที่เหมือนกัน) เมื่อโมเลกุลบนพื้นผิวของของเหลวไม่ได้ล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลที่เหมือนกันในทุกๆด้านแล้ว โมเลกุลจะมีแรงดึงดูดกับโมเลกุลใกล้เคียงบนพื้นผิวมากขึ้น แรงตึงผิวมีมิติของแรงต่อความยาวหนึ่งหน่วย หรือของพลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย ซึ่งทั้งสองมีค่าเท่ากัน แต่พลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วยอยู่ในพจน์พลังงานพื้นผิว ซึ่งเป็นพจน์ทั่วไปในนัยที่ใช้กับของแข็งไม่ค่อยใช้ในของเหลว ในวัสดุศาสตร์ แรงตึงผิวใช้อยู่ในความเค้นพื้นผิว (surface stress) หรือ พลังงานอิสระพื้นผิว (surface free energy).

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและแรงตึงผิว · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: ชีววิทยาทางทะเลและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »