โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

ชีวประวัติ vs. ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

ีวประวัติ (biography) คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ ชีวประวัติ เป็นคำนาม มาจากคำว่า ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตบุคคล ส่วนคำว่า biography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า bíos (βίος) ที่หมายถึง ชีวิต (life) และ gráphein (γράφειν) ที่มีความหมายว่าการเขียน (to write) ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่น. วีนัสเดอมิโลที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา (Art history) ตามที่เข้าใจกันในประวัติศาสตร์หมายถึงสาขาวิชาทางด้านงานศิลปะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และบริบทของลักษณะ (stylistic contexts) เช่น ประเภทของศิลปะ (genre), ลักษณะการออกแบบ (design), รูปทรง (format) และ การออกมาเป็นรูปร่าง (look) ซึ่งรวมทั้งศิลปะสาขาหลักที่ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และรวมทั้งสาขาย่อยเช่นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ และศิลปะการตกแต่งอื่นๆ หลักของสาขาวิชานี้มาจากงานชิ้นสำคัญๆ ที่สร้างโดยศิลปินตะวันตก และกฎว่าด้วยศิลปะตะวันตกก็ยังเป็นแกนสำคัญในการเลือกสรรงานที่ได้รับการบรรยายในตำราประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยามาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการพยายามที่จะวางความหมายของสาขาวิชานี้ใหม่ให้กว้างขึ้น เพื่อรวมศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะตะวันตก, ศิลปะที่สร้างโดยศิลปินสตรี และศิลปะพื้นบ้านเข้าด้วย คำว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา” (หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์”) ครอบคลุมวิธีการศึกษาจักษุศิลป์หลายวิธี ที่โดยทั่วไปหมายถึงงานศิลปะ และ งานสถาปัตยกรรม สาขาของการศึกษาต่างๆ บางครั้งก็คาบกันเช่นที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์เอิร์นสท กอมบริค ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ก็คล้ายกับบริเวณกอลของจูเลียส ซีซาร์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน อาศัยอยู่โดยชนสามเผ่าพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน: (1) ผู้ที่เป็นคอศิลป์ (connoisseurs), (2) ผู้ที่เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และ (3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์” ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างจากการวิพากษ์ศิลปะที่จะเน้นการสร้างพื้นฐานของคุณค่าของศิลปะโดยการเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นที่เปรียบเทียบกันได้ทางด้านลักษณะ หรือการหันหลังให้แก่ลักษณะ หรือขบวนการศิลปะทั้งหมดที่พิจารณา และต่างจาก “ทฤษฎีศิลป์” (art theory) หรือ “ปรัชญาศิลป์” (philosophy of art) ที่คำนึงถึงธรรมชาติพื้นฐานของศิลปะ สาขาย่อยสาขาหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์คือวิชาสุนทรียศาสตร์ (aesthetics) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสุนทรียปรัชญา (Sublime) และการระบุหัวใจของสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความเป็นสุนทรีย์ แต่ตามทฤษฎีแล้วประวัติศาสตร์ศิลป์ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาเพราะนักประวัติศาสตร์ศิลป์ใช้การวิจัยโดยวิธีประวัติศาสตร์ (historical method) ในการตอบคำถาม “ศิลปินสร้างงานขึ้นมาได้อย่างไร”, “ใครเป็นผู้อุปถัมภ์”, “ใครเป็นครู”, “ใครคือผู้ชมงาน”, “ใครเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากลักษณะงาน”, “ประวัติศาสตร์ตอนใดที่มีอิทธิพลต่องาน” และ “งานที่สร้างมีผลทางเหตุการณ์ทางศิลปะ การเมือง และ สังคมอย่างใด” แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาก็มิได้หมายความว่าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการติดตามประวัติของงานเท่านั้น อันที่จริงแล้วนักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะวางพื้นฐานมาตรการการศึกษาโดยการวิเคราะห์งานแต่ละชิ้น และพยายามตอบปัญหาต่างๆ เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญของลักษณะของสิ่งที่ศึกษา”, “ความหมายใดที่งานชิ้นนี้พยายามสื่อ”, “งานชิ้นนี้มีผลต่อการดูอย่างใด”, “ศิลปินบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการหรือไม่”, “งานที่ศึกษาประกอบด้วยสัญลักษณ์อะไรบ้าง” และ “งานที่ศึกษาเป็นงานที่ออกนอกประเด็นหรือไม่”.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

ชีวประวัติ มี 2 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (2 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชีวประวัติและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »