โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวโรมานีและดินแดนปาเลสไตน์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวโรมานีและดินแดนปาเลสไตน์

ชาวโรมานี vs. ดินแดนปาเลสไตน์

รมานี (Rromane, Romani people หรือ Romany หรือ Romanies หรือ Romanis หรือ Roma หรือ Roms) หรือมักถูกเรียกโดยผู้อื่นว่า ยิปซี (Gypsy) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของยุโรปที่สืบเชื้อสายมาจากยุคกลางของอินเดีย (Middle kingdoms of India) โรมานีเป็นชนพลัดถิ่น (Romani diaspora) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปโดยเฉพาะกลุ่มโรมาซึ่งเป็นชนกลุ่มย่อยในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และกลุ่มใหม่ที่ไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา และบางส่วนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ภาษาโรมานีแบ่งออกไปเป็นสาขาท้องถิ่นหลายสาขาที่มีผู้พูดราวกว่าสองล้านคน แต่จำนวนประชากรที่มีเชื้อสายโรมานีทั้งหมดมากกว่าผู้ใช้ภาษากว่าสองเท่า ชาวโรมานีอื่นพูดภาษาของท้องถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานหรือภาษาผสมระหว่างภาษาโรมานีและภาษาท้องถิ่นที่พำนัก. นแดนปาเลสไตน์หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง" ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวโรมานีและดินแดนปาเลสไตน์

ชาวโรมานีและดินแดนปาเลสไตน์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวโรมานีและดินแดนปาเลสไตน์

ชาวโรมานี มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดินแดนปาเลสไตน์ มี 33 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (12 + 33)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวโรมานีและดินแดนปาเลสไตน์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »