เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชาวฮั่นและเซียมซู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวฮั่นและเซียมซู

ชาวฮั่น vs. เซียมซู

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語). ซียมซู เซียมซู หรือ กิมเซียมซู (สำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ จินฉาน (สำเนียงจีนกลาง; 金蟾, 蟾蜍, 招财蟾蜍; พินอิน: jīn chán, chánchú, zhāocái chánchú; แปลว่า: "คางคกทอง", "คางคก", "คางคกกวาดความมั่งคั่ง") เป็นกบหรือคางคกในเทพปกรณัมจีน ปัจจุบันนิยมสร้างเป็นวัตถุมงคลรูปคางคกสีทองคาบเหรียญในปาก บูชาเพื่อดลบันดาลความมั่งคั่ง ร่ำรวย ด้วยคติความเชื่อในหลักฮวงจุ้ย แบบเดียวกับปี่เซียะ หรือผีซิว ตามปกรณัมเล่าว่า ซีหวังหมู่ หรือเอี่ยวตี๊กิมบ๊อ ผู้เป็นพระมารดาของเง็กเซียนฮ่องเต้ เทพผู้สูงสุดผู้ปกครองสวรรค์ พระนางได้เลี้ยงสัตว์ประหลาดไว้ในสระบัวหน้าพระราชวัง สัตว์ตัวนี้เสมือนกับเป็นหนึ่งเซียนหรือเทพเจ้า มีลักษณะคล้ายกบกึ่งคางคกแต่มี 3 ขา มีหางเป็นปลาช่อนอยู่ด้านในมีสีทองอร่ามไปทั้งตัว มีหลังขึ้นสัญลักษณ์รูปดาว 7 ดวง หรือดาวลูกไก่ เซียมซู ไม่ทำอะไรจะใช้ความสามารถพิเศษเรียกเงินเรียกทองมาเล่นสนุกในสระบัว อยู่วันหนึ่งเซียมซูได้แอบหนีมาโลกมนุษย์ พระนางโกรธมากจึงบัญชาให้เซียนมังกรมรกตไปตามตัวเซียมซูได้หนีมาอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งทางตอนใต้แห่งหนึ่งที่เป็นหมู่บ้านที่ยากจนแห้งแล้งกันดาร ประชาชนอดอยากมาก มีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นคนดีมีความกตัญญูต่อบิดามารดา เซียมซูได้มาอยู่กับชายผู้นี้ได้เรียกเงินเรียกทองมากให้จำนวนมากเพื่อนำมาแจกชาวบ้านแลัวยังบันดาลให้ฝนตกมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งหมู่บ้าน จนทั้งชายผู้นี้และทุกคนในหมู่บ้านร่ำรวยไม่มีใครจนเลย เซียนมังกรมรกตจึงไปรายงานต่อพระนาง พระนางได้ประทานพรให้แก่เซียมซู ขอให้ไปอยู่แห่งหนใดก็มีแต่ความสุข ความร่ำรวย อีกปกรณัมหนึ่งเล่าว่า ศิษย์เอกคนหนึ่งของเล่อตงปิน หนึ่งในแปดเซียน ชื่อ เหล่าไหเซียม เป็นผู้ที่มีวิชาอาคมแก่กล้า ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และสามารถปราบอสูรและสยบมารได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเหล่าไหเซียมได้ปราบมารตนหนึ่ง ที่แปลงกายมาจากเซียมซู หลังจากที่เซียมซูถูกสยบแล้ว ก็ได้กลับตัวกลับใจ และขอติดตามรับใช้เหล่าไหเซียม เนื่องจากเหล่าไหเซี้ยม ชอบช่วยเหลือคนยากคนจน ด้วยการแจกเงินแจกทอง ประจวบกับที่เซียมซู มีความสามารถในการคายเงินทองออกจากปากได้ ตั้งแต่บัดนั้นเซียมซูได้ติดตามเหล่าไหเซียม ไปแจกเงินแจกทองและช่วยเหลือผู้คน การบูชาเซียมซู นิยมนำมาตั้งไว้ตามจุดต่าง ๆ ภายในบ้านที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทอง เช่น โต๊ะทำงาน หรือตู้นิรภัย บูชาด้วยขนมจันอับ และผลไม้ที่มีความหมายมงคล เช่น ส้ม, กล้วย, สับปะรด, ทับทิม หรือลูกท้อ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวฮั่นและเซียมซู

ชาวฮั่นและเซียมซู มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวฮั่นและเซียมซู

ชาวฮั่น มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ เซียมซู มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (41 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวฮั่นและเซียมซู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: