เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชาวฮั่นและบูเช็กเทียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวฮั่นและบูเช็กเทียน

ชาวฮั่น vs. บูเช็กเทียน

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語). อู่ เจ๋อเทียน ตามสำเนียงกลาง หรือ บูเช็กเทียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (พระราชสมภพ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 624ปีประสูตินี้ ได้มาจากการเอาพระชนม์กับปีสวรรคตที่ระบุไว้ใน นวพงศาวดารถัง (New Book of Tang) ฉบับ ค.ศ. 1045–1060 มาบวกลบกัน ผลลัพธ์ดังกล่าวนี้เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ แต่ถ้าคำนวณตามที่ระบุไว้ใน พงศาวดารถัง (Book of Tang) ฉบับ ค.ศ. 941-945 จะได้ปีประสูติเป็น ค.ศ. 623; สวรรคต 16 ธันวาคม ค.ศ. 705)Paludan, 100 บางทีเรียก อู่ เจ้า หรือ อู่ โฮ่ว ในราชวงศ์ถังมักออกพระนามว่า พระนางสวรรค์ และในสมัยต่อมาว่า พระนางอู่ ทรงเป็นสตรีพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี ที่ได้เป็น "ฮ่องเต้" ในแผ่นดินของพระภัสดาและพระราชบุตรของพระนางระหว่างปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวฮั่นและบูเช็กเทียน

ชาวฮั่นและบูเช็กเทียน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลัทธิขงจื๊อลัทธิเต๋าขงจื๊อ

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ชาวฮั่นและลัทธิขงจื๊อ · บูเช็กเทียนและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ชาวฮั่นและลัทธิเต๋า · บูเช็กเทียนและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ขงจื๊อและชาวฮั่น · ขงจื๊อและบูเช็กเทียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวฮั่นและบูเช็กเทียน

ชาวฮั่น มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ บูเช็กเทียน มี 102 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 2.10% = 3 / (41 + 102)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวฮั่นและบูเช็กเทียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: