เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชาวฮั่นและต้าเหลียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวฮั่นและต้าเหลียน

ชาวฮั่น vs. ต้าเหลียน

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語). ต้าเหลียน จัตุรัสจงซานในต้าเหลียน จัตุรัสมิตรภาพในต้าเหลียน ต้าเหลียน เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ของมณฑลเหลียวหนิง และยังมีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน จนได้รับการขนานนามเป็น ฮ่องกงแห่งจีนเหนือ ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยถูกยึดครองทั้งจากญี่ปุ่น และรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงศตวรรษที่ 20 จึงยังมีกลิ่นอายของบรรยากาศสถาปัตยกรรมแบบรัสเซียปะปนหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้างภายในตัวเมือง ปัจจุบันต้าเหลียนมีสถานะเป็นเมืองเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลที่สำคัญ และเจริญรุ่งเรืองมากของจีน จึงมีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนมากมาย โดยเฉพาะนักลงทุนชาวญี่ปุ่น เมืองต้าเหลียนตั้งอยู่ที่ปลายคาบสมุทรเหลียวหนิงล้อมรอบด้วยทะเล สามด้าน และเป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญทางภาคเหนือ ทั้งยังเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย และ สภาพแวดล้อมดีเลิศจนได้รับการจัดลำดับจาก สหประชาชาติให้เป็น 1 ใน 500 เมืองทั่วโลกที่มีสภาพแวดล้อมยอดเยี่ยมในปี 2001 และ จากการบริหารพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพ ต้าเหลียนจึงถูกยกฐานะเป็นเมืองต้นแบบใน การพัฒนา ให้กับเมืองต่างๆ ของจีน ตัวอย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งได้ถูกทยอยย้ายออกไปอยู่นอกเมืองจนปัจจุบัน ต้าเหลียนจัดได้ว่าเป็นเมืองที่สะอาดและ อากาศดีที่สุดในจีนเหนือ หมวดหมู่:มณฑลเหลียวหนิง หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศจีน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวฮั่นและต้าเหลียน

ชาวฮั่นและต้าเหลียน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวฮั่นและต้าเหลียน

ชาวฮั่น มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ ต้าเหลียน มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (41 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวฮั่นและต้าเหลียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: