โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวฝรั่งเศส

ดัชนี ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

32 ความสัมพันธ์: บรีฌิต บาร์โดชาร์ล เดอ โกลชาวอิตาลีชาวเยอรมันชาวเคลต์ฟร็องซัว มีแตร็องพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสกุสตาฟ ไอเฟลภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษมอลีแยร์มารี กูว์รีมาร์แซล พรุสต์วอลแตร์วิกตอร์ อูโกหลุยส์ ปาสเตอร์อาลแบร์ กามูว์อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กฌัก การ์ตีเยฌาน ดาร์กฌูล แวร์นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ซีเนดีน ซีดานประเทศฝรั่งเศสประเทศแอฟริกาใต้ประเทศแคนาดาแบลซ ปัสกาลโรมันคาทอลิกเรอเน เดการ์ตเอวาริสต์ กาลัวเอดิต ปียัฟเดอนี ดีเดอโร

บรีฌิต บาร์โด

รีฌิต อาน-มารี บาร์โด (Brigitte Anne-Marie Bardot; 28 กันยายน พ.ศ. 2477 —) อดีตนักแสดงและนักร้องชาวฝรั่งเศส เธอเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงคนแรก ที่ใบหน้าถูกใช้เป็นต้นแบบของมารียาน (Marianne) สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ระหว่างปี 1968 ถึง 1978 ตามด้วยเมอรีล แมททีกซ์ และแคเทอรีน เดอเนิฟ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 บาร์โดได้มีบทบาททางการเมือง โดยเธอได้แสดงความเห็นทางการเมืองในด้านการอพยพชาวมุสลิมในประเทศฝรั่งเศส และรักร่วมเพศJonathan Benthall.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและบรีฌิต บาร์โด · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล เดอ โกล

ร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกล (Charles André Joseph Marie de Gaulle) หรือ ชาร์ล เดอ โกล (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเป็นที่รู้จักในนาม นายพลเดอ โกล ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธวิธีการรบด้วยรถถัง และผู้นิยมการรบด้วยการใช้ยานเกราะและกองกำลังทางอากาศ เขาเป็นผู้นำการปลดปล่อยฝรั่งเศสในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และผู้นำรัฐบาลชั่วคราวในช่วงปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ถึง พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ถูกเรียกตัวไปจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เขาได้เป็นแรงบันดาลใจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนแรกในยุคสาธารณรัฐที่ 5 ระหว่างปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ถึงปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) แนวคิดทางการเมืองของเขาเป็นที่รู้จักในนามของลัทธินิยมโกล และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองฝรั่งเศสในยุคต่อม.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและชาร์ล เดอ โกล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอิตาลี

วอิตาลี (italiani, Italians) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ที่มีวัฒนธรรม และ การสืบเชื้อสายร่วมกัน และพูดภาษาอิตาลีเป็นภาษาแม่ ภายในอิตาลีการเป็นชาวอิตาลีคือการถือสัญชาติอิตาลีไม่ว่าจะสืบเชื้อสายมาจากผู้ใดหรือมาจากประเทศใด ซึ่งแตกต่างจากผู้สืบเชื้อสายมาจากชาวอิตาลี และทางประวัติศาสตร์จากผู้มีเชื้อสายอิตาลีที่ไม่ได้อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิตาลีบนคาบสมุทรอิตาลี เพราะการอพยพหลายครั้งออกจากอิตาลีที่เป็นชนพลัดถิ่น มีชาวอิตาลีสัญชาติอิตาลีที่อาศัยอยู่นอกอิตาลี 4 ล้านคน และมีมากกว่า 70 ล้านคนที่มีเชื้อสายเต็มหรือบางส่วน โดยมากแล้วอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ อเมริกาเหนือ และส่วนอื่นของยุโรป.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและชาวอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว มีแตร็อง

ฟร็องซัว มอริส อาเดรียง มารี มีแตร็อง (26 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - 8 มกราคม พ.ศ. 2539) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเลฝรั่งเศส ฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2538 โดยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนพรรคสังคมนิยม (PS) เขาชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524 กลายเป็นประธานาธิบดีสังคมนิยมคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5และเป็นประมุขแห่งรัฐที่มาจากฝ่ายซ้ายคนแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531นั้น เขาก็ชนะอีกครั้งหนึ่งและดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในปีเดียวกัน ในการดำรงตำแหน่งทั้งสองวาระนั้น เขาได้ยุบสภาเพื่อที่จะได้เสียงข้างมากในสภา แต่ทว่าพรรคสังคมนิยมก็ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองครั้ง และทำให้เกิด "การบริหารร่วมกัน" ในสองปีสุดท้ายของทั้งสองวาระ โดยมีฌัก ชีรักเป็นแกนนำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2531 และเอดูอาร์ด บัลลาดูร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2538 ในปัจจุบันฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดด้วยระยะเวลา 14 ปี ทั้งยังเป็นประธานาธิบดีที่อาวุโสที่สุดอีกด้วย (สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่ออายุ 78 ปี) ฟร็องซัว มีแตร็องถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2539 หลังจากเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสที่ประเทศอียิปต.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและฟร็องซัว มีแตร็อง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟ ไอเฟล

กุสตาฟ ไอเฟล อนุสรณ์ของกุสตาฟ ไอเฟล ตั้งอยู่ที่ฐานของหอไอเฟลในปารีส กุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) หรือชื่อเต็ม อาเลกซ็องดร์ กูสตาฟว์ แอแฟล (Alexandre Gustave Eiffel 15 ธันวาคม ค.ศ. 1832 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 1923) เป็นวิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็ก สิ่งก่อสร้างที่เขาสร้างและคนจดจำได้มากที่สุดคือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) รวมทั้ง Three-Hinged Arch และยังมีความสามารถในการสร้างสะพาน เป็นต้นว่า สะพานข้ามแม่น้ำดูโร (Douro) ในตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสะพานที่มีช่วงกว้างที่สุดในเวลานั้น จากประสบการณ์การสร้างฐานสะพานที่มีความสูงเหล่านี้ ทำให้เขาสามารถสร้างหอไอเฟลได้ในปี ค.ศ. 1889.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและกุสตาฟ ไอเฟล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มอลีแยร์

หมือนของมอลีแยร์ โดยนีกอลา มีญาร์ ฌ็อง-บาติสต์ ปอเกอแล็ง (Jean-Baptiste Poquelin) หรือชื่อที่ใช้ในการแสดงว่า มอลีแยร์ (Molière; รับศีล 15 มกราคม ค.ศ. 1622 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1673) เป็นนักเขียนบทละครและนักแสดงชาวฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบรมครูด้านสุขนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแวดวงวรรณคดีตะวันตก ในบรรดาผลงานของเขาทั้งหมด ผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ Le Misanthrope ("ผู้เกลียดชังมนุษย์"), L'École des Femmes ("โรงเรียนสำหรับภรรยา"), Tartuffe ou L'Imposteur ("ตาร์ตุฟหรือผู้แอบอ้าง"), L'Avare ("คนตระหนี่"), Le Malade Imaginaire ("ผู้ป่วยโรคอุปาทาน") และ Le Bourgeois Gentilhomme ("สุภาพบุรุษชนชั้นกลาง").

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและมอลีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

มารี กูว์รี

มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี (Marie Skłodowska-Curie) มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มาเรีย ซาลอแมอา สกวอดอฟสกา (Marya Salomea Skłodowska;; 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2477) เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูว์รีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและมารี กูว์รี · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซล พรุสต์

วาล็องแต็ง หลุยส์ ฌอร์ฌ เออแฌน มาร์แซล พรุสต์ (Valentin Louis Georges Eugène Marcel Proust; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 - 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1922) เป็นนักเขียนนวนิยายและบทความ, และนักวิพากษ์วรรณกรรมคนสำคัญชาวฝรั่งเศส ผลงานสำคัญของพรุสต์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ In Search of Lost Time ("ในการค้นหาเวลาที่หายไป") ซึ่งเป็นงานนวนิยายชิ้นใหญ่และชิ้นสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ตีพิมพ์เป็นเจ็ดตอนระหว่างปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและมาร์แซล พรุสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วอลแตร์

ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรั.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและวอลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิกตอร์ อูโก

วิกตอร์-มารี อูโก (Victor-Marie Hugo; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 — 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885) เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักประพันธ์ ศิลปิน รัฐบุรุษ และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศส เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงสำหรับการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมยุคโรแมนติกในประเทศฝรั่งเศส ชื่อเสียงของอูโกทางด้านงานวรรณกรรมในประเทศฝรั่งเศสมาจากงานกวีนิพนธ์และบทละคร ส่วนงานนวนิยายเป็นที่รู้จักรองลงมา ในบรรดางาน กวีนิพนธ์ของเขา Les Contemplations และ La Légende des siècles จัดเป็นงานที่โดดเด่นและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บางครั้งอูโกได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ขณะที่เขาเป็นที่รู้จักภายนอกประเทศจากผลงานนวนิยาย เรื่อง Les Misérables (เหยื่ออธรรม) และ Notre-Dame de Paris (ฉบับแปลภาษาอังกฤษเรียกว่า The Hunchback of Notre Dame หรือ คนค่อมแห่งน็อทเทรอะ-ดาม).

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและวิกตอร์ อูโก · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ปาสเตอร์

หลุยส์ ปาสเตอร์ (27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410 ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอ.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและหลุยส์ ปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาลแบร์ กามูว์

อัลแบร์ กามู อัลแบร์ กามู (Albert Camus; 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 – 4 มกราคม ค.ศ. 1960) เป็นนักเขียนและนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้รับรางวัลโนเบลจากนวนิยายเรื่องคนนอกในปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและอาลแบร์ กามูว์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก “ลากูลู (หลุยส์ เวเบ) มาถึงมูแล็งรูฌ” (La Goulue arriving at the Moulin Rouge) (ค.ศ. 1892) อ็องรี มารี แรมง เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก-มงฟา (Henri Marie Raymond de Toulouse-Lautrec-Monfa; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864 - 9 กันยายน ค.ศ. 1901) เป็นจิตรกร ช่างพิมพ์ ช่างเขียนแบบ และอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) สมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปสเตอร์ของชีวิตผู้คนในบริเวณมงมาตร์ และผู้ชอบใช้ชีวิตในวงการของความฟุ้งเฟ้อและโรงละครในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษ (fin de siècle) ของปารี.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก · ดูเพิ่มเติม »

ฌัก การ์ตีเย

ัก การ์ตีเย ฌัก การ์ตีเย (Jacques Cartier; 31 ธันวาคม พ.ศ. 2034 - 1 กันยายน พ.ศ. 2100) นักสำรวจชาวฝรั่งเศสคนแรกที่เดินทางไปถึงทวีปอเมริกาเหนือ ไม่มีใครทราบที่มาของการ์ตีเยในช่วงวัยเด็กของเขา ทราบเพียงว่าในปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520) เขาสมรสกับคัทรีน บุตรสาวของฌัก เดอ กร็องฌ์ แม่ทัพแห่งเมืองแซ็ง-มาโล ซึ่งเป็นการสมรสที่ยกระดับทางสังคมของเขาขึ้นมาเป็นอย่างมาก นักประวัติศาสตร์บางคนได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าเขาอาจจะได้เดินทางไปยังเมืองแตร์-เนิฟ ร่วมกับเรือประมง เนื่องจากดินแดนแถบนั้นเป็นที่รู้จักอย่างดีในหมู่ชาวประมงจากแคว้นบาสก์และเบรอตาญ ส่วนนักประวัติศาสตร์อีกส่วนหนึ่งได้จินตนาการว่าเขาได้ทำหน้าที่ล่ามในหลายโอกาสหลังจากเกษียณอายุแล้ว จากข้อมูลที่ว่าการ์ตีเยรู้ภาษาโปรตุเกสเป็นอย่างดี และจากบันทึกการเดินทางของเขาที่มักเปรียบเทียบชาวเผ่าอินเดียนแดงจากดินแดนนิวฟรานซ์ในทวีปอเมริกาเหนือกับชาวบราซิล ทำให้เขาได้มีโอกาสเดินเรือพร้อมกับโจวันนี แวรัซซาโนในการเดินทางสำรวจชายฝั่งประเทศบราซิลครั้งหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงแล้ว แวรัซซาโนไม่เคยไปสำรวจชายฝั่งของบราซิล แต่หากเป็นชายฝั่งของทวีปอเมริกาเหนือ การ์ตีเยเป็นผู้คนพบนูแวลอ็องกูแลม (ส่วนหนึ่งของรัฐนิวยอร์ก) เป็นคนแรก ในปี พ.ศ. 2075 (ค.ศ. 1532) เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าฟรองซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส โดยการแนะนำของชอง เลอ เวอเนอร์ บาทหลวงแห่งมง-แซ็ง-มีแชล ต่อมาไม่นาน พระเจ้าแผ่นดินก็ได้เลือกให้เขาเป็นผู้ออกเดินทางสำรวจ "เกาะและดินแดนบางแห่ง ที่เราน่าจะพบทองคำจำนวนมากและสิ่งของมีค่าอื่น ๆ" เขาได้เดินทางไปยังทวีปอเมริกาเหนือสามครั้ง ระหว่างปีพ.ศ. 2077 และ พ.ศ. 2085 โดยหวังว่าจะได้พบเส้นทางสายตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทวีปเอเชี.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและฌัก การ์ตีเย · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน ดาร์ก

น ดาร์ก (IPA) หรือโจนออฟอาร์ก (ราว 6 มกราคม ค.ศ. 1412 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญโยนออฟอาร์ค เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนาที่เกิดทางตะวันออกของฝรั่งเศสและเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมื่ออายุ 19 ปี ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก ศาลสรุปว่าฌานเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันประกาศให้ฌานเป็น “มรณสักขี”w:fr:Jeanne d'ArcAndrew Ward (2005) ในปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและฌาน ดาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ฌูล แวร์น

ูล กาเบรียล แวร์น (Jules Gabriel Verne) (8 กุมภาพันธ์, พ.ศ. 2371 - 24 มีนาคม, พ.ศ. 2448) หรือที่รู้จักกันว่า จูลส์ เวิร์น เกิดที่เมืองน็องต์ (Nantes) ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศส ผู้บุกเบิกการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์สมัยแรก ๆ แวร์นมีชื่อเสียงจากการเขียนเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยในอวกาศ ใต้น้ำ และการเดินทางต่าง ๆ ก่อนจะมีการประดิษฐ์เรือดำน้ำหรืออากาศยานจริง ๆ เป็นเวลานาน นวนิยายของเขามักใส่เนื้อหาวิทยาศาสตร์ที่สมจริง ซึ่งยังไม่คุ้นเคยกันในสมัยนั้นแต่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างดีในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขาจะบุกเบิกงานด้านนิยายวิทยาศาสตร์ แต่มีสัดส่วนที่น้อยกว่าเนื้อหาแนวอื่น ๆ ที่เขาเขียน บทประพันธ์ที่สำคัญได้แก่ Around the World in Eighty Days, Five Weeks In a Balloon, 20,000 Leagues Under the Sea นิยายวิทยาศาสตร์ในยุคท้าย ๆ ของแวร์นจะเริ่มสะท้อนถึงการมองเห็นด้านมืดของเทคโนโลยีรวมถึงการนำเทคโนโลยีไปใช้อย่างผิดทาง เช่น The Clipper of the Clouds, The Master of the World แวร์นเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและฌูล แวร์น · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ซีเนดีน ซีดาน

ซีเนดีน ซีดาน (Zinédine Zidane; เกิดวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1972) อดีตนักฟุตบอลอาชีพและผู้จัดการทีมชาวฝรั่งเศส สโมสรล่าสุดที่เคยทำหน้าที่เป็นเป็นผู้จัดการทีมคือเรอัลมาดริด ซีดานเกิดที่เมืองมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส ในครอบครัวชาวแอลจีเรียอพยพ มีชื่อเต็มว่า ซีเนดีน ยาซีด ซีดาน (Zinedine Yazid Zidane) มีชื่อเล่นว่า "ซีซู" (Zizou) เริ่มเป็นนักฟุตบอลอาชีพขณะอายุ 17 ปี กับกาน ของฝรั่งเศส จากนั้นก็มาประสบความสำเร็จกับบอร์โด ในลีกเอิง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นดาวรุ่งยอดเยี่ยมแห่งปีของยุโรป ได้เข้าร่วมฟุตบอลโลกครั้งแรก โดยเป็นผู้เล่นคนหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของทีมชาติฝรั่งเศสในฟุตบอลโลก 1998 ซึ่งช่วยให้ฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์ฟุตบอลโลกเป็นสมัยแรก เมื่อเป็นผู้โหม่งทำประตูให้กับฝรั่งเศสนำบราซิล คู่ชิงในรอบชิงชนะเลิศถึง 2 ประตู และยังช่วยให้ฝรั่งเศสได้แชมป์ยูโร 2000 ในอีก 2 ปีต่อมา ซึ่งถือได้ว่าฝรั่งเศสนับเป็นชาติแรกที่ได้ทั้งแชมป์โลกและแชมป์ยูโรติดต่อกัน อาจถือได้ว่าซีดานเป็นหนึ่งในกองกลางที่ดีที่สุดของโลก ครบเครื่องทุกอย่างในผู้เล่นคนเดียว ทั้งการผ่านบอลแม่นยำ เติมเกมรุก กำหนดจังหวะเกม เป็นศูนย์กลางผสมผสานของทีมได้ลงตัว ซีดานประกาศเลิกเล่นฟุตบอลอาชีพหลังจากเหตุการณ์ที่ใช้ศีรษะโขกหน้าอกมาร์โก มาเตรัซซี นักฟุตบอลกองหลังของอิตาลี ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 นัดชิงชนะเลิศ ซึ่งนั่นทำให้ซีดานต้องถูกใบแดงไล่ออกจากสนาม นับเป็นการปิดฉากชีวิตการเป้นนักฟุตบอลอาชีพอย่างไม่สวยงามนัก หลังจากนั้น ซีดานก็ได้ผันตัวเองมาเป็นผู้จัดการทีมและหัวหน้าผู้ฝึกสอน โดยเริ่มจากการเป็นผู้จัดการทีมเรอัลมาดริดชุดเยาวชนก่อน ในฤดูกาล 2015–16 ผลงานของเรอัลมาดริดไม่ค่อยดีนัก เมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญคือบาร์เซโลนา โดยการแข่งขันเอลกลาซีโก ก็แพ้ให้กับบาร์เซโลนาไปถึง 0-4 ที่สนามซานเตียโก เบร์นาเบว ของตัวเองไปอย่างบอบช้ำ ดังนั้นเมื่อถึงเดือนมกราคม..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและซีเนดีน ซีดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอฟริกาใต้

รณรัฐแอฟริกาใต้ (Republic of South Africa) หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่า แอฟริกาใต้ (ต่างจาก "แอฟริกาตอนใต้" ซึ่งเป็นภูมิภาคประกอบไปด้วยหลายประเทศ รวมถึงประเทศแอฟริกาใต้ด้วย) เป็นประเทศอิสระที่อยู่ตอนปลายทางใต้สุดของทวีปแอฟริกา มีพรมแดนติดกับประเทศนามิเบีย บอตสวานา ซิมบับเว โมซัมบิก และสวาซิแลนด์ นอกจากนี้ยังมีเลโซโทซึ่งเป็นประเทศที่ถูกล้อมรอบทุกด้านด้วยอาณาเขตของประเทศแอฟริกาใต้ รวมทั้งยังเป็นประเทศส่งออกเพชร, ทองคำ และไวน์ที่ชาวฝรั่งเศสนำเข้ามาอีกด้ว.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

แบลซ ปัสกาล

แบลซ ปัสกาล แบลซ ปาสกาล (Blaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมืองแกลร์มง (ปัจจุบันคือเมืองแกลร์มง-แฟร็อง) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แบลซ ปาสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปัสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่วๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปัสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของเอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ ปัสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับปีแยร์ เดอ แฟร์มา ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรษฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปัสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา งานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือ แล็ทร์พรอแว็งซียาล (Lettres provinciales) และป็องเซ (Pensées) อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน ผลงานการค้นด้านฟิสิกส์ที่สำคัญ คือ การตั้งกฎของพาสคัล การประดิษฐ์บารอมิเตอร์ และเครื่องอัดไฮดรอลิก.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและแบลซ ปัสกาล · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เรอเน เดการ์ต

รอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ นอกจากที่เขาเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและเรอเน เดการ์ต · ดูเพิ่มเติม »

เอวาริสต์ กาลัว

อวาริสต์ กาลัว (Évariste Galois,, 25 ตุลาคม ค.ศ. 1811 – 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1832) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ขณะที่เป็นวัยรุ่น กาลัวสามารถหาเงื่อนไขจำเป็นและเงือนไขพอเพียงสำหรับการหาคำตอบของพหุนามอันดับใดๆ ผลงานของ กาลัวนับว่าเป็นรากฐานของ ทฤษฎีกาลัว ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาหลักของวิชา พีชคณิตนามธรรม และเป็นสาขาหนึ่งใน Galois connection นอกจากนี้ กาลัวยังเป็นบุคคลแรกที่ใช้คำว่า กรุป (Group, groupe) ในฐานะของศัพท์เฉพาะทาง เพื่อที่จะอธิบายเรื่องกลุ่มในการเรียงสับเปลี่ยน นอกเหนือจากความสนในคณิตศาสตร์แล้ว กาลัวยังเป็นผู้ที่นิยมแนวคิดสาธารณรัฐอย่างสุดโต่ง กาลัวถูกยิงเสียชีวิตจากการดวลปืนในขณะที่มีอายุได้เพียง 20 ปี.

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและเอวาริสต์ กาลัว · ดูเพิ่มเติม »

เอดิต ปียัฟ

อดิต ปียัฟ (Édith Piaf; 19 ธันวาคม ค.ศ. 1915 — 10 ตุลาคม ค.ศ. 1963) มีชื่อจริงว่า เอดิต โจวานา กาซียง (Édith Giovanna Gassion) นักร้องชาวฝรั่งเศส เชื้อสายอิตาลี-แอลจีเรีย ที่มีชื่อเสียงที่สุดในฝรั่งเศส ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงวันเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและเอดิต ปียัฟ · ดูเพิ่มเติม »

เดอนี ดีเดอโร

อนี ดีเดอโร (Denis Diderot; 5 ตุลาคม ค.ศ. 1713 - 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1784) นักปรัชญาและนักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศส ประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ได้มีการจัดงานแสดงนิทรรศการด้านจิตรกรรม ประติมากรรม การวาดภาพ และการแกะสลักที่ Salon Carré, Louvre โดยสมาชิกของ l’Académie royale de peinture ในกรุงปารีส ซึ่งงานแสดงผลงานเหล่านี้จัดขึ้นทุก 2 ปี ดีเดอโรซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจต่อจิตรกรรมเป็นอย่างมากของยุคแห่งความรู้แจ้ง เขาจึงติดตามชมภาพเขียนต่าง ๆ ที่จิตรกรนำมาแสดงในงานแล้วเขียนเป็นบทวิจารณ์ลงในวารสาร La Correspondance littéraire ตามคำขอของเพื่อนสนิทของเขา Grimm ซึ่งบทวิจารณ์เหล่านั้นเรียกรวม ๆ ว่า “บทวิจารณ์ภาพเขียน” (Les Salons) ดีเดอโรเริ่มช่วยเขียนบทวิจารณ์ศิลปะตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ชาวฝรั่งเศสและเดอนี ดีเดอโร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

French peopleชาวฝรั่้งเศสบุคคลฝรั่งเศสคนฝรั่งเศสประชาชนฝรั่งเศส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »