โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวปรัสเซียเก่าและลัทธินอกศาสนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวปรัสเซียเก่าและลัทธินอกศาสนา

ชาวปรัสเซียเก่า vs. ลัทธินอกศาสนา

นเผ่าปรัสเซียภายในกลุ่มชนบอลติค ราว ค.ศ. 1200 บอลติคตะวันออกสีน้ำตาลและบอลติคตะวันตกสีเขียว เขตแดนที่แสดงเป็นเขตแดนโดยประมาณ ชนปรัสเซียเก่า หรือ ชนบอลติกปรัสเซีย (Old Prussians หรือ Baltic Prussians; Pruzzen or Prußen; Pruteni; Prūši; Prūsai; Prusowie) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) ท้องถิ่นในกลุ่มชนบอลต์ (Balts) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณปรัสเซีย ซึ่งเป็นดินแดนบริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกในบริเวณรอบ ๆ ลากูนวิตูลา (Vistula Lagoon) และ ลากูนคูโรเนียน (Curonian Lagoon) ภาษาที่พูดปัจจุบันเรียกว่าภาษาปรัสเซียเก่า ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในบริเวณที่นักวิชาการเชื่อว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริเวณลิทัวเนียที่นับถือลัทธิเพกันที่นับถือพระเจ้าเช่นเพอร์กูน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนปรัสเซียเก่าถูกพิชิตโดยอัศวินทิวทันและในที่สุดก็ค่อยๆ กลายเป็นเยอรมัน (Germanisation) ในหลายร้อยปีต่อมา อาณาจักรปรัสเซียเดิมของเยอรมนีนำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่ออาณาจักร แม้ว่าจะมีผู้นำเป็นชาวเยอรมันผู้กลืนไปกับชนปรัสเซียเก่า ส่วนภาษาปรัสเซียเก่าก็สูญหายไปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17Encyclopædia Britannica entry 'Old Prussian language' ดินแดนของชนปรัสเซียเก่าเป็นดินแดนที่อยู่ราวตอนกลางและตอนใต้ของปรัสเซียตะวันออก — ปัจจุบัน Warmian-Masurian Voivodeship ของโปแลนด์ คาลินินกราด ของรัสเซีย และ ทางใต้ของ บริเวณไคลพาดา (Klaipėda Region) ของลิทัวเนี. ้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวปรัสเซียเก่าและลัทธินอกศาสนา

ชาวปรัสเซียเก่าและลัทธินอกศาสนา มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาติพันธุ์วิทยา

ชาติพันธุ์วิทยา

ติพันธุ์วิทยา หรือ ชาติวงศ์วิทยา หรือ ชนชาติวิทยา (ethnology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของมานุษยวิทยา ที่ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติของแต่ละสังคม เป้าหมายหนึ่งคือ การศึกษาประวัติศาสตร์มนุษย์ กฎทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนัยทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะเรียกว่า "นักชาติพันธุ์วิทยา" (ethnologist) คำว่า ethnology ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวสโลวัค Adam František Kollár (1718–1783) โดยมาจาก 2 คำในภาษากรีก คือ ethnos ("ชนชาติ") และ logos ("การศึกษา").

ชาติพันธุ์วิทยาและชาวปรัสเซียเก่า · ชาติพันธุ์วิทยาและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวปรัสเซียเก่าและลัทธินอกศาสนา

ชาวปรัสเซียเก่า มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธินอกศาสนา มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 1 / (13 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวปรัสเซียเก่าและลัทธินอกศาสนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »