โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวกอทและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวกอทและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ชาวกอท vs. ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

อตาลันด์ทางใต้ของสวีเดนที่อาจจะเป็นต้นกำเนิดของชนกอท ชาวกอท (Goths) เป็นชนเผ่าเจอร์มานิคตะวันออกที่มีที่มาจากกึ่งตำนานสแกนด์ซา (Scandza) ที่เชื่อกันว่าอยู่ในบริเวณที่เป็นเยอตาลันด์ (Götaland) ในสวีเดนปัจจุบัน ชนกอทข้ามทะเลบอลติกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 2 มายังบริเวณที่ได้รับชื่อว่ากอทิสแกนด์ซา (Gothiscandza) ที่เชื่อว่าอยูในบริเวณตอนใต้ของบริเวณวิสตูลาในพอเมอเรเลีย (Pomerelia) ในโปแลนด์ปัจจุบัน อารยธรรมวีลบาร์ค (Wielbark culture) เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเริ่มมาตั้งถิ่นฐานของชนกอทและการกลืนตัวกับชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมากลุ่มชนกอทก็เริ่มโยกย้ายถิ่นฐานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ตามลำวิสตูลาแม่น้ำวิสตูลาไปจนถึงซิทเธีย (Scythia) บนฝั่งทะเลดำ ในยูเครนปัจจุบัน และได้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้ในวัฒนธรรมเชอร์นยาคอฟ (Chernyakhov culture) ตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนกอทซิทเธียก็แยกเป็นสองกลุ่ม: เทอร์วิงกิ (Thervingi) และ กรูทุงกิ (Greuthungi) แบ่งแยกกันโดยแม่น้ำนีสเตอร์ (Dniester River) ในช่วงเวลานี้ชนกอทก็รุกรานจักรวรรดิโรมันเป็นระยะ ๆ ระหว่างสมัยที่เรียกว่าสงครามกอทิก ต่อมาชนกอทก็ยอมรับคริสต์ศาสนา ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ฮั่นก็มารุกรานดินแดนกอททางตะวันออก ชนกอทบางกลุ่มถูกปราบปรามและในที่สุดก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮันนิค (Hunnic Empire) อีกกลุ่มหนึ่งถูกผลักดันเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ชนกอทก็แยกตัวออกเป็นวิซิกอทและออสโตรกอท ทั้งสองกลุ่มก่อตั้งรัฐที่มีอำนาจหลังจากจักรวรรดิโรมันในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลี ชนกอทหันมานับถือคริสต์ศาสนาลัทธิแอเรียน โดยวูลฟิลานักสอนศาสนาครึ่งกอทผู้ต่อมาย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมอเซีย (ต่อมาเป็นบริเวณในบัลแกเรีย) กับกลุ่มผู้ติดตาม วูลฟิลาแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษากอทิค แม้ว่ากอทจะมีอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียและอิตาลีแต่ก็มาพ่ายแพ้ต่อจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ผู้พยายามฟื้นฟูจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อมากอทก็ถูกรุกรานโดยชนแวนดัล (Vandals) และต่อมาชนลอมบาร์ด การที่มีการติดต่อกับประชาชนโรมันของอดีตจักรวรรดิโรมันอยู่เป็นเวลานานทำให้ในที่สุดกอทก็เปลี่ยนไปยอมรับนิกายโรมันคาทอลิก ความเสื่อมโทรมของกลุ่มชนกอทมาเร่งให้เร็วขึ้นเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ต่อมัวร์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาษาและวัฒนธรรมของกอทก็เริ่มสูญหายไป นอกจากบางส่วนที่ไปปรากฏในวัฒนธรรมอื่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มออสโตรกอทที่หลงเหลืออยู่ก็ไปปรากฏตัวที่ไครเมีย แต่การบ่งถึงเชื้อชาติก็ไม่เป็นที่แน่นอน. ราชวงศ์เมโรวินเจียน (Merovingian; Mérovingiens) (ค.ศ. 481 - ค.ศ. 751) (พ.ศ. 1024 - พ.ศ. 1294) ราชวงศ์เมโรวินเจียนเป็นราชวงศ์ของชนเผ่าแฟรงก์หรือฟรอง ปกครองดินแดนฝรั่งเศสเป็นราชวงศ์แรกหลังเข้ายึดดินแดนโกล กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์คือพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) ทรงประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชน ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์จากสมเด็จพระสันตะปาปา พระเจ้าโคลวิสทรงขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปเกือบครอบคลุมอาณาเขตประเทศในปัจจุบันและดินแดนทางตะวันตกของเยอรมนี หลังสิ้นพระชนม์อาณาจักรฝรั่งเศสแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของพระโอรสหลายพระองค์ ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในสมัยพระเจ้าโกลแตร์ที่ 1 (Clotaire I) กษัตริย์ในยุคหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 (Dagobert I) (ครองราชย์ พ.ศ. 1172-1182) หลังจากรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกเป็นเขตต่าง ๆ อยู่ในอำนาจของขุนนางนักรบหลายตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคือตระกูลคาโรลินเจียน (Carolingian) ขุนนางในตระกูลนี้เริ่มดำรงตำแหน่งสำคัญในราชสำนักและควบคุมกษัตริย์เมโรวินเจียนจนไร้พระราชอำนาจ ในที่สุด เปแปง หัวหน้าตระกูลจึงถอดถอนพระเจ้าชิลเดริกที่ 3 (Childeric III) ออกจากราชบัลลังก์และตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวกอทและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ชาวกอทและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวกอทและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ชาวกอท มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (19 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวกอทและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »