เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชาวกรีกและเอเธนส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาวกรีกและเอเธนส์

ชาวกรีก vs. เอเธนส์

วกรีก (Έλληνες) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายที่กรีซ, ไซปรัส, อานาโตเลียตะวันตก, อิตาลีใต้ และอีกหลายภูม. อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาวกรีกและเอเธนส์

ชาวกรีกและเอเธนส์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อาริสโตเติลอเล็กซานเดอร์มหาราชทิวซิดิดีสซอโฟคลีสประเทศกรีซโสกราตีสเพลโต

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ชาวกรีกและอาริสโตเติล · อาริสโตเติลและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ชาวกรีกและอเล็กซานเดอร์มหาราช · อเล็กซานเดอร์มหาราชและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน.

ชาวกรีกและทิวซิดิดีส · ทิวซิดิดีสและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซอโฟคลีส

ซอโฟคลีส หรือ โซโฟคลีส (Sophocles; Σοφοκλῆς, โซโพแคลส,; ราว 497/6 – 406/5 ก่อนค.ศ.)Sommerstein (2002), p. 41.

ชาวกรีกและซอโฟคลีส · ซอโฟคลีสและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ชาวกรีกและประเทศกรีซ · ประเทศกรีซและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

โสกราตีส

''การตายของโสกราตีส'' โดยจาค์หลุยส์ ดาวิด พ.ศ. 2330 โสกราตีส (Σωκράτης; Socrates; 4 มิถุนายน 470 ปีก่อนคริสตกาล — 7 พฤษภาคม 399 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปราชญ์ของกรีกโบราณและเป็นชาวเมืองเอเธนส์ ซึ่งถือกันว่าเป็นผู้วางรากฐานของปรัชญาตะวันตก.

ชาวกรีกและโสกราตีส · เอเธนส์และโสกราตีส · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ชาวกรีกและเพลโต · เพลโตและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาวกรีกและเอเธนส์

ชาวกรีก มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอเธนส์ มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 14.29% = 7 / (21 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาวกรีกและเอเธนส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: