โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาร์เลอมาญ

ดัชนี ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

26 ความสัมพันธ์: ชาร์ล มาร์แตลพระมหากษัตริย์อิตาลีพระสันตะปาปาพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยมหาวิหารนักบุญเปโตรรัฐบาวาเรียราชวงศ์การอแล็งเฌียงราชอาณาจักรแฟรงก์ศิลปะโรมาเนสก์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียงสมัยกลางสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3สัญลักษณ์ดอกลิลลีอัลเบร็ชท์ ดือเรอร์อาสนวิหารอาเคินอาเคินจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันตราแผ่นดินของเยอรมนีประเทศสเปนประเทศอิตาลีประเทศเยอรมนีโรมโรมันคาทอลิกเยอรมัน

ชาร์ล มาร์แตล

ร์ล มาร์แตล (Charles Martel; ราว ค.ศ. 688 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 741) เป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองของชาวแฟรงก์ ดำรงมีตำแหน่งสมุหราชมนเทียรในสมัยราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง และเป็นประมุขในทางพฤตินัยในช่วงว่างระหว่างรัชกาล ค.ศ. 737 ถึง ค.ศ. 743 ในบั้นปลายของชีวิตโดยใช้ตำแหน่ง “ดยุกและเจ้าชายแห่งชาวแฟรงก์” ในปี ค.ศ. 739 พระสันตะปาปาเสนอให้รับตำแหน่งกงสุลแต่ชาร์ลไม่ยอมรับ ชื่อเสียงที่ทำให้ชาร์ลเป็นผู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีต่อมาการที่ได้รับชัยชนะในยุทธการที่ตูร์ในปี ค.ศ. 732 732 ซึ่งเป็นยุทธการที่เป็นการหยุดยั้งการรุกรานของกองทัพมุสลิมขึ้นมาทางเหนือและทางตะวันตกของยุโรป ชาร์ลเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ—พ่ายแพ้ในยุทธการเพียงยุทธการเดียวในชีวิตการต่อสู้ในยุทธการที่โคโลญ ชาร์ลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในยุคกลาง และเชื่อกันว่ามีส่วนก่อให้เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบอัศวินและวางรากฐานของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงFouracre, John.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและชาร์ล มาร์แตล · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์อิตาลี

มงกุฎเหล็กแห่งลอมบาร์เดียที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระมหากษัตริย์อิตาลี (rex Italiae, re d'Italia, King of Italy) เป็นตำแหน่งที่ใช้สำหรับประมุขผู้ครองคาบสมุทรอิตาลีมาตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน แต่ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดที่ปกครองคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดมาจนถึง สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ในปี..

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและพระมหากษัตริย์อิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

พระสันตะปาปา

หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย

ระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย (Pepin the Short หรือ Pippin the Short) (ค.ศ. 714 – 24 กันยายน ค.ศ. 768) นอกจากจะทรงได้รับฉายานามว่า "the Short" แล้วก็ยังรู้จักกันในพระนามอื่นด้วยเช่น "เปแป็งผู้เยาว์" หรือ "เปแป็งที่ 3" เปแปงเดิมเป็นสมุหราชมนเทียร (Mayor of the Palace) และดยุกแห่งแฟรงก์ ตั้งแต่ ค.ศ. 741 และพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิแฟรงค์ระหว่าง ค.ศ. 751 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 768 พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยเป็นพระราชโอรสของชาร์ลส์ มาร์เตล และเป็นพระราชบิดาของชาร์เลอมาญ.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาวาเรีย

ตการปกครองในรัฐบาวาเรีย บาวาเรีย (Bavaria) หรือ ไบเอิร์น (Bayern) เป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวบาวาเรีย 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน รัฐบาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิสรรเจ้า (Prince-elector) แต่งตั้งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วง ค.ศ. 1806 - ค.ศ. 1918 บาวาเรียมีสถานะเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียต่อจากนั้นมากลายเป็นรัฐอิสระ (สาธารณรัฐ).

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและรัฐบาวาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (หรือ ฌีแย็ง) (Carolingiens /ka.ʁɔ.lɛ̃,ʒjɛ̃/) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ในยุโรปหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน เป็นอาณาจักรที่นับถิอศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย ต่อมาใน พ.ศ. 1294 เปแปงร่างเตี้ยบุตรของชาร์ล มาร์เตลได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ล้มล้างราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ตั้งราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ สันตะปาปาได้ให้การสนับสนุนราชวงศ์ใหม่นี้ด้วย กษัตริย์ราชวงศ์นี้ได้ให้การอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์และสนับสนุนอำนาจของสันตะปาปาจนทำให้สันตะปาปามีอำนาจทางโลกมากขึ้น จนในที่สุดสันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้สถาปนาพระเจ้าชาร์เลอมาญพระราชโอรสของพระเจ้าเปแปงขึ้นเป็นจักรพรรดิของชาวโรมันในวันตริสต์มาส พ.ศ. 1343 จักรวรรดิแฟรงก์ในยุคของราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงเริ่มเสื่อมสลายเมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาแบ่งดินแดนให้โอรส 3 พระองค์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิง พ.ศ. 1386 หลังจากนั้น เมื่อถูกพวกไวกิ้งรุกราน การรวมศูนย์อำนาจจึงล่มสลาย อำนาจตกไปอยู่ในมือของพวกขุนนาง จนเข้าสูการปกครองระบอบฟิวดัลในที.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและราชวงศ์การอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรแฟรงก์

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Kingdom) หรือ ฟรังเกีย (Francia) เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Carolingian Renaissance) เกิดขึ้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยมีจุดที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของจักรพรรดิชาร์เลอมาญและจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาพระราชโอรส ระหว่างช่วงเวลานี้ก็มีการศึกษาวรรณคดี, การเขียน, ศิลปะ, สถาปัตยกรรม, นิติศาสตร์, และหนังสือทางเทววิทยาศาสนาคริสต์กันอย่างแพร่หลาย นอกจากนั้นก็ยังเป็นสมัยของการวิวัฒนาการภาษาละตินสมัยกลาง และอักษรกาโรแล็งเฌียงกันขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างภาษาและวิธีการเขียนที่เป็นสามัญที่สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารไปได้เกือบทั่วทั้งยุโรป การใช้คำว่า “renaissance” หรือ “สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา” ในการบรรยายช่วงเวลานี้ก็เป็นประเด็นที่โต้แย้งกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มนักบวชเท่านั้น และขาดการเคลื่อนไหวโยกย้ายอย่างกว้างขวางเช่นที่เกิดขึ้นในอิตาลีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาต่อมาScott pg 30 แทนที่จะเป็นการรื้อฟื้นของขบวนการทางวัฒนธรรมใหม่ ยุคนี้เป็นเพียงการพยายามที่จะเลียนแบบวัฒนธรรมของจักรวรรดิโรมันก่อนหน้านั้น.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในจักรวรรดิการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3

thumbnail สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 (อังกฤษ: Leo III) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 795 ถึง ค.ศ. 816 ลีโอที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 8 หมวดหมู่:นักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์ดอกลิลลี

ตราเฟลอร์เดอลีส์ หรือตราดอกลิลลี สัญลักษณ์ดอกลิลลี หรือ เฟลอร์เดอลี (Fleur-de-lis) เป็นสัญลักษณ์ที่แปลงมาจากดอกลิลลีหรือดอกไอริสที่ใช้ในการตกแต่งและการเป็นสัญลักษณ์ หรืออาจจะเป็นได้ทั้งสัญลักษณ์ทางการเมือง, ทางการสืบเชื้อสาย, ทางศิลปะ, ทางการเป็นตรา และการเป็นสัญลักษณ์ในขณะเดียวกัน โดยเฉพาะในการใช้เป็นตราประจำตระกูล ขณะที่สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นที่ใช้กันโดยทั่วไปในยุโรปในตราอาร์มและธงมาเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่สัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในทางประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นการใช้สัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในตราของพระมหากษัตริย์สเปน และในตราของแกรนด์ดยุคแห่งลักเซ็มเบิร์ก และของสมาชิกในราชวงศ์บูร์บอง สัญลักษณ์ดอกลิลลีเป็นตราที่ใช้กันตลอดมาของสัญลักษณ์ของความเป็นฝรั่งเศสและปรากฏบนแสตมป์ แต่ก็ไม่ได้รับให้ใช้เป็นสัญลักษณ์โดยสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในทวีปอเมริกาเหนือสัญลักษณ์ดอกลิลลีมักจะใช้กับบริเวณที่เดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานโดยชาวฝรั่งเศสเช่นในรัฐควิเบกในแคนาดา และรัฐลุยเซียนาในสหรัฐอเมริกา และในจังหวัดที่พูดภาษาฝรั่งเศสในแคนาดา สัญลักษณ์ดอกลิลลีใช้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองฟลอเรนซ์และในชลีเร็นในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหราชอาณาจักรสัญลักษณ์ดอกลิลลีปรากฏในตราอาร์มอย่างเป็นทางการของนอร์รอยและอัลสเตอร์เป็นเวลาหลายร้อยปี.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและสัญลักษณ์ดอกลิลลี · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบร็ชท์ ดือเรอร์

หมือนตนเอง” ค.ศ. 1500 เมื่ออายุยี่สิบแปดปี อัลเบร็ชท์ ดือเรอร์ (Albrecht Dürer; 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2014 - 6 เมษายน พ.ศ. 2071)Mueller, Peter O. (1993) Substantiv-Derivation in Den Schriften Albrecht Durers, Walter de Gruyter.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและอัลเบร็ชท์ ดือเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอาเคิน

อาสนวิหารอาเคิน (Aachener Dom) เรียกกันว่าอาสนวิหารหลวง (Imperial Cathedral; Kaiserdom) ในนิกายโรมันคาทอลิกอยู่ที่เมืองอาเคิน ประเทศเยอรมนี วัดนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดทางภาคเหนือของทวีปยุโรป ระหว่างยุคกลางวัดนี้ชื่อ Royal Church of St.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและอาสนวิหารอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

อาเคิน

แผนที่เยอรมนีแสดงเมืองอาเคิน อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร พิกัดภูมิศาสตร์ 50°46′ เหนือ 6°6′ ตะวันออก มีประชากร 256,605 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2546) ชื่อของเมืองถ้าอ่านออกเสียงตามแบบภาษาเยอรมันแล้วจะออกเสียงว่า อาเคิ่น ชื่อเต็มของอาเคินคือ บัดอาเคิน (Bad Aachen) โดย Bad หมายถึงน้ำ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องมาจากภายใต้เมืองอาเคินมีสายน้ำร้อนธรรมชาติอยู่มากมาย น้ำแร่ใต้ดินนี้ มีความเชื่อว่าสามารถนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปัจจุบัน เมืองอาเคินได้นำน้ำแร่ใต้ดินนี้ไปเปิดบริการเป็นสปาแบบทันสมัยให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า Carolus Thermen อาเคินเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen (เยอรมัน: Rheinisch-Westfälische Technische Hochschule; อังกฤษ: RWTH Aachen University of Technology; ตัวย่อ RWTH ออกเสียงตามภาษาเยอรมันว่า แอร์เวเทฮา) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล อาเคินกับ RWTH มีความผูกพันกันมาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก RWTH เป็นจุดดึงดูดให้มีนักเรียนจำนวนมากเดินทางมาใช้ชีวิตในอาเคิน ทำให้อาเคินกลายเป็นเมืองนักศึกษา โดยนักเรียนของ RWTH Aachen มีจำนวนมากกว่า 30,000 คน โดย 10% ของทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติ นอกจากสาขาวิศวกรรมแล้ว RWTH Aachen ยังมีคลินิคุม อาเคิน (Universitätsklinikum Aachen) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบตึกเดียวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นที่ศึกษาของเหล่านักศึกษาแพทยศาสตร์ของอาเคิน ในขณะเดียวกัน ทางสาขาคอมพิวเตอร์ของ RWTH ก็กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยเฟราน์โฮเฟอร์ และขณะนี้บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้นในเมืองอาเคิน และสร้างความเป็นพันธมิตรกับ RWTH มหาวิหารอาเคิน เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พรินเท่น อาเคินยังเป็นจุดกำเนิดของขนมที่ชื่อว่าพรินเทิน (Printen หรือ Aachener Printen) ซึ่งมีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนี พรินเทินเป็นขนมลักษณะคล้ายคุกกี้ ที่มีส่วนผสมของอบเชย และมักทำออกมาโดยพิมพ์รูปต่าง ๆ เช่น รูปพระจักรพรรดิคาร์ล.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา

ักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา (Louis the Pious หรือ Louis the Fair หรือ Louis the Debonaire) (ค.ศ. 778 - 20 มิถุนายน ค.ศ. 840) เป็นกษัตริย์แห่งอากีแตน ตั้งแต่ ค.ศ. 781 และต่อมาก็เป็นกษัตริย์แห่งจักรวรรดิแฟรงก์ และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์ออทโท ผู้ทรงเริ่มครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ร่วมกับพระราชบิดาตั้งแต่งปี ค.ศ. 813 เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปีต่อมาลุดวิกก็ขึ้นครองราชย์ด้วยพระองค์เองจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 840 พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ "ชาร์เลอมาญ" และ ฮิลเดอการ์ดแห่งวินซเกาว์ที่รอดชีวิตมาจนเจริญพระชันษาเป็นผู้ใหญ่ ระหว่างครองอาณาจักรอากีแตนลุดวิกก็รับหน้าที่ต่อสู้ป้องกันพรมแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจักรวรรดิแฟรงก์ พระองค์ทรงพิชิตดินแดนบาร์เซโลนาจากมุสลิมในปี ค.ศ. 801 และทรงสร้างเสริมอำนาจของแฟรงก์คืนในบริเวณปัมโปลนาและบาสก์ทางตอนใต้ของเทือกเขาพิเรนีสในปี ค.ศ. 813 เมื่อเป็นพระมหาจักรพรรดิลุดวิกก็ทรงเปิดโอกาสให้พระราชโอรส โลแธร์, เปแปง และ หลุยส์—มีส่วนร่วมในการปกครอง และทรงวางรากฐานการแบ่งดินแดนระหว่างพระราชโอรสทั้งสาม สิบปีแรกของรัชสมัยเป็นช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความโศรกเศร้าและน่าละอาย โดยเฉพาะในการทำการทารุณต่อพระนัดดาแบร์นาร์ดแห่งอิตาลี ที่พระองค์ทรงประกาศแสดงความเสียพระทัยต่อหน้าสาธารณชน ในคริสต์ทศวรรษ 830 จักรวรรดิก็ตกอยู่ในสภาวะของสงครามการเมือง ระหว่างพระราชโอรสของพระองค์เอง ซึ่งยิ่งเลวร้ายลงเมืองลุดวิกพยายามนำพระราชโอรสจากพระมเหสีองค์ที่สองชาร์ลส์เดอะบอลด์ (Charles the Bald) เข้ามาร่วมในแผนการสืบราชบัลลังก์ แม้ว่ารัชสมัยของลุดวิกจะจบลงด้วยดี บ้านเมืองกลับมาอยู่ในความสงบอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ไป็นรัชสมัยที่เมื่อเทียบกับรัชสมัยของพระราชบิดาแล้วก็ไม่รุ่งเรืองเท.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Kaiser des Heiligen Römischen Reiches; Emperor of the Holy Roman Empire) หรือจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หรือจักรพรรดิโรมัน-เยอรมัน (Römisch-Deutscher Kaiser) เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้หมายถึงประมุขรัฐในสมัยกลางที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็น "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ต่อมาตำแหน่งนี้มาจากการเลือกตั้งแต่ยังคงต้องรับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาอยู่ จนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจึงหมายถึงผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนยุโรปกลาง.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเยอรมนี

ตราแผ่นดินของเยอรมนี (Bundesadler) เป็นตราอาร์มของประเทศเยอรมนีที่ประกอบด้วยเหยี่ยว สีของตราคลายกับสีของธงชาติเยอรมนี (ดำ แดง และ ทอง) และเป็นตราประจำชาติที่เก่าที่สุดตราหนึ่งของยุโรป และของโลก.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและตราแผ่นดินของเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เยอรมัน

อรมัน หรือ เยอรมนี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ชาร์เลอมาญและเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CharlemagneKarl der Großeสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าชาร์เลอมาญจักรพรรดิชาร์เลอมาญ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »