โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาร์ลตัน เฮสตันและภาวะสมองเสื่อม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาร์ลตัน เฮสตันและภาวะสมองเสื่อม

ชาร์ลตัน เฮสตัน vs. ภาวะสมองเสื่อม

ร์ลตัน เฮสตัน มีชื่อจริงว่า จอห์น ชาร์ลส คาร์เตอร์ (4 ตุลาคม ค.ศ. 1923 - 5 เมษายน ค.ศ. 2008) เป็นนักแสดงชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงจากบทบาทวีรบุรุษในภาพยนตร์มหากาพย์หลายเรื่องในช่วงทศวรรษ 1950 เคยรับบท มาร์ค แอนโทนี รวมสามครั้ง ใน Julius Caesar (1950,1970) และ Antony & Cleopatra (1972),เป็นโมเสส ใน The Ten Commandments (ชื่อไทย บัญญัติสิบประการ ปี 1956),เป็น เบน-เฮอร์ ใน Ben-Hur (1959) และเป็น เอลซิด ใน El Cid (1961) ชาร์ลตัน เฮสตัน จบการศึกษาด้านการแสดงจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น และเล่นละครเวทีก่อนจะเข้าวงการภาพยนตร์ เคยเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ และมาร์ลอน แบรนโด ใน "March on Washington for Jobs and Freedom" เมื่อปี ค.ศ. 1963 บั้นปลายชีวิต ชาร์ลตัน เฮสตัน ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และเสียชีวิตจากอาการติดเชื้อที่ปอด เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2008 อายุ 84 ปี. วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาร์ลตัน เฮสตันและภาวะสมองเสื่อม

ชาร์ลตัน เฮสตันและภาวะสมองเสื่อม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาร์ลตัน เฮสตันและภาวะสมองเสื่อม

ชาร์ลตัน เฮสตัน มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาวะสมองเสื่อม มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (18 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาร์ลตัน เฮสตันและภาวะสมองเสื่อม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »