โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาตินิยมและอนุรักษนิยม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชาตินิยมและอนุรักษนิยม

ชาตินิยม vs. อนุรักษนิยม

ชาตินิยม (nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุก ๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้ การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชนเผ่าหรือเชิงศาสนา นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:คตินิยมเชื้อชาติ หมวดหมู่:การอพยพของมนุษย์. อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชาตินิยมและอนุรักษนิยม

ชาตินิยมและอนุรักษนิยม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เสรีนิยม

เสรีนิยม

เสรีนิยม (liberalism) เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาลฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมมือระหว่างประเทศ ทีแรก เสรีนิยมเป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่างยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความนิยมในหมู่นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่องจอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นประเพณีปรัชญาต่างหาก ล็อกแย้งว่ามนุษย์มีสิทธิธรรมชาติในชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน และตามสัญญาสังคม รัฐบาลต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ นักเสรีนิยมคัดค้านอนุรักษนิยมประเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและหลักนิติธรรม นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรัชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ ในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แต่ภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์วสำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกา การสถาปนาเสรีนิยมสังคม (social liberalism) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบัน พรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก หมวดหมู่:ขบวนการทางปรัชญา หมวดหมู่:ปรัชญาการเมือง หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง หมวดหมู่:วัฒนธรรมทางการเมือง หมวดหมู่:ทฤษฎีสังคม หมวดหมู่:ปัจเจกนิยม.

ชาตินิยมและเสรีนิยม · อนุรักษนิยมและเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชาตินิยมและอนุรักษนิยม

ชาตินิยม มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ อนุรักษนิยม มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 6.67% = 1 / (7 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชาตินิยมและอนุรักษนิยม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »