ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ดีเอชซีพีดีเอ็นเอสแบบจำลองโอเอสไอเอชทีทีพีเอสเอ็มทีพีเอ็นทีพีเอ็นเอ็นทีพีเทลเน็ตSession Initiation Protocol
ดีเอชซีพี
กณฑ์วิธีตั้งค่าแม่ข่ายพลวัต หรือ ดีเอชซีพี (Dynamic Host Configuration Protocol: DHCP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบแม่ข่าย-ลูกข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายจะทำการร้องขอข้อมูลที่จำเป็น ในการเข้าร่วมเครือข่ายจากแม่ข่าย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้รวมถึงหมายเลขไอพีที่ใช้ภายในเครือข่าย ซึ่งคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเป็นฝ่ายกำหนดให้กับลูกข่าย DHCP ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานในเดือนตุลาคม..
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และดีเอชซีพี · ดีเอชซีพีและแบบจำลองโอเอสไอ ·
ดีเอ็นเอส
ระบบการตั้งชื่อโดเมน หรือ ดีเอ็นเอส (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่าดีเอ็นเอสสามารถหมายถึง บริการชื่อโดเมน (Domain Name Service) ก็ได้ ส่วนเครื่องบริการจะเรียกว่า เครื่องบริการชื่อ หรือ เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ประโยชน์ที่สำคัญของดีเอ็นเอส คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org).
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และดีเอ็นเอส · ดีเอ็นเอสและแบบจำลองโอเอสไอ ·
แบบจำลองโอเอสไอ
แบบจำลองโอเอสไอ (Open Systems Interconnection model: OSI model) (ISO/IEC 7498-1) เป็นรูปแบบความคิดที่พรรณนาถึงคุณสมบัติพิเศษและมาตรฐานการทำงานภายในของระบบการสื่อสารโดยแบ่งเป็นชั้นนามธรรม และโพรโทคอลของระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) แบบจำลองนี้จะทำการจับกลุ่มรูปแบบฟังก์ชันการสื่อสารที่คล้ายกันให้อยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่งในเจ็ดชั้นตรรกะ ชั้นใดๆจะให้บริการชั้นที่อยู่บนและตัวเองได้รับบริการจากชั้นที่อยู่ด้านล่าง ตัวอย่างเช่นชั้นที่ให้การสื่อสารที่ error-free ในเครือข่ายจะจัดหาเส้นทางที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชันชั้นบน ในขณะที่มันเรียกชั้นต่ำลงไปให้ส่งและรับแพ็คเก็ตเพื่อสร้างเนื้อหาของเส้นทางนั้น งานสองอย่างในเวลาเดียวกันที่ชั้นหนึ่งๆจะถูกเชื่อมต่อในแนวนอนบนชั้นนั้นๆ ตามรูปผู้ส่งข้อมูลจะดำเนินงานเริ่มจากชั้นที่ 7 จนถึงชั้นที่ 1 ส่งออกไปข้างนอกผ่านตัวกลางไปที่ผู้รับ ผู้รับก็จะดำเนินการจากชั้นที่ 1 ขึ้นไปจนถึงชั้นที่ 7 เพื่อให้ได้ข้อมูลอันนั้น ตัวอย่างการทำงานของ OSI ชั้นที่ 5.
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ · แบบจำลองโอเอสไอและแบบจำลองโอเอสไอ ·
เอชทีทีพี
กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอชทีทีพี · เอชทีทีพีและแบบจำลองโอเอสไอ ·
เอสเอ็มทีพี
กณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย หรือ เอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol: SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น.
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอสเอ็มทีพี · เอสเอ็มทีพีและแบบจำลองโอเอสไอ ·
เอ็นทีพี
อ็นทีพี หรือ เกณฑ์วิธีเทียบเวลาข่ายงาน (Network Time Protocol: NTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับการปรับค่าเวลาของนาฬิกาในระบบคอมพิวเตอร์ โดย NTP ใช้พอร์ต 123 ของโพรโทคอล UDP เป็นพื้นฐาน มันถูกออกแบบมาให้รักษาความแม่นยำจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของเวลา NTPv4 สามารถรักษาความแม่นยำระดับ 10 มิลลิวินาที (1/100 วินาที) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือมากถึง 200 ไมโครวินาที (1/5000 วินาที) บนเครือข่ายภายในที่มีคุณสมบัติดีกว่า NTP เป็นโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งที่ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน.
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอ็นทีพี · เอ็นทีพีและแบบจำลองโอเอสไอ ·
เอ็นเอ็นทีพี
เกณฑ์วิธีขนส่งข่าวบนเครือข่าย หรือ เอ็นเอ็นทีพี (Network News Transfer Protocol: NNTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ่านและเขียนกลุ่มข่าว (Usenet) และใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างแต่ละเซิร์ฟเวอร์กลุ่มข่าว โพรโทคอล NNTP พัฒนาต่อมาจากโพรโทคอล SMTP โดยใช้พอร์ต 119 ของโพรโทคอล TCP แต่ถ้าใช้การเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสด้วย SSL จะใช้พอร์ต 563 แทนและเรียกว่า NNTPS หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ยูสเน็ต.
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเอ็นเอ็นทีพี · เอ็นเอ็นทีพีและแบบจำลองโอเอสไอ ·
เทลเน็ต
นา หมวดหมู่:โพรโทคอลชั้นโปรแกรมประยุกต์ หมวดหมู่:มาตรฐานอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:โพรโทคอลบนอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:Clear text protocols หมวดหมู่:ประวัติอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์เครือข่ายที่ใช้พื้นฐานจากอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์บริหารระยะไกล หมวดหมู่:ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับเครือข่ายบนยูนิกซ์ หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์ที่ออกในปี พ.ศ. 2512.
ชั้นโปรแกรมประยุกต์และเทลเน็ต · เทลเน็ตและแบบจำลองโอเอสไอ ·
Session Initiation Protocol
Session Initiation Protocol (SIP) คือ โพรโทคอลหรือเกณฑ์วิธีเพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดีย เช่น การส่งข้อมูลเสียงหรือวีดีโอบนเครือข่าย IP ได้รับการพัฒนาโดย IETF และ SIP ถือว่าเป็นโพรโทคอลที่เหนือกว่าโพรโทคอลอื่นในแง่ของการที่สามารถปรับใช้และนำไปพัฒนาได้ง่ายกว่า โดยตัวโพรโทคอลเองมีความสามารถในการสร้าง (create), ปรับ (modify) และ ยกเลิก (terminate) การติดต่อสื่อสารระหว่างโหนดที่เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (unicast) หรือแบบกลุ่ม (multicast) ได้ ซึ่ง SIP สามารถปรับเปลี่ยนที่อยู่ (address), หมายเลขพอร์ต, เพิ่มสายผู้สนทนา และสามารถเพิ่มหรือลดการส่งข้อมูลมิเดีย (media stream) บางประเภทได้ ตัวอย่างของโปรแกรมประยุกต์ (application) ที่อาศัย SIP ในการเชื่อมต่อ เช่น การประชุมด้วยวิดีโอ (video conferencing), การกระจายข้อมูลภาพและเสียง (streaming multimedia distribution), การส่งข้อความด่วน (instant messaging), การส่งไฟล์ (file transfer) และ เกมออนไลน์ เป็นต้น SIP ถูกออกแบบโดยนาย Henning Schulzrinne และนาย Mark Handly ตั้งแต่ปี..
Session Initiation Protocolและชั้นโปรแกรมประยุกต์ · Session Initiation Protocolและแบบจำลองโอเอสไอ ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ
การเปรียบเทียบระหว่าง ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ
ชั้นโปรแกรมประยุกต์ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ แบบจำลองโอเอสไอ มี 39 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 15.25% = 9 / (20 + 39)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชั้นโปรแกรมประยุกต์และแบบจำลองโอเอสไอ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: