เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลานกขุนทอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลานกขุนทอง

ชั้นปลากระดูกแข็ง vs. วงศ์ปลานกขุนทอง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว. วงศ์ปลานกขุนทอง (Labridae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) มีรูปร่างโดยรวม คือ ลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง ริมฝีปากหนา สามารถยืดหดได้ กระดูกพรีแม็คซิลลารี เพดิเคิลส์เจริญดี โดยปกติมีฟันแบบฟันเขี้ยวแหลม หรือฟันตัดเพียงแถวเดียว ฟันที่หลอดคอมีขนาดใหญ่พัฒนาดี ไม่มีฟันบนกระดูกโวเมอร์และกระดูกพาลาติน เกล็ดที่ปกคลุมลำตัวมีขนาดใหญ่เป็นแบบขอบเรียบ เส้นข้างลำตัวอาจขาดตอนหรือสมบูรณ์ เป็นปลาที่มีสีสันสดใสสวยงาม รูปร่างลำตัวมีหลายรูปแบบ อาศัยอยู่ในแนวปะการัง หรือกองหินใต้น้ำ มีขนาดรูปร่างแตกต่างหลากหลายกันมาก ตั้งแต่มีความยาวเพียง 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร ในปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และจัดเป็นปลากระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งที่พบได้ในแนวปะการัง มี 82 สกุล พบมากกว่า 600 ชนิด นอกจากปลานกขุนทองหัวโหนกแล้ว ยังมีชนิดอื่น ๆ ที่รู้จักกันดี อาทิ ปลานกขุนทอง (Halichoeres kallochroma) เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลานกขุนทอง

ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลานกขุนทอง มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังปลาที่มีก้านครีบ

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และชั้นปลากระดูกแข็ง · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และวงศ์ปลานกขุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ชั้นปลากระดูกแข็งและสัตว์ · วงศ์ปลานกขุนทองและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ชั้นปลากระดูกแข็งและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ปลานกขุนทองและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ชั้นปลากระดูกแข็งและปลาที่มีก้านครีบ · ปลาที่มีก้านครีบและวงศ์ปลานกขุนทอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลานกขุนทอง

ชั้นปลากระดูกแข็ง มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลานกขุนทอง มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 4 / (30 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชั้นปลากระดูกแข็งและวงศ์ปลานกขุนทอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: