เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามครีบเงิน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามครีบเงิน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ vs. ปลาฉลามครีบเงิน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ. ปลาฉลามครีบเงิน (Silvertip shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 เมตร มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เพียงแต่มีปลายครีบต่าง ๆ เป็นสีขาวหรือสีเงิน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 5-6 ตัว ลูกปลาจะหากินในเขตน้ำตื้น เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจะลงไปหากินบริเวณที่ลึก ประมาณ 40 เมตร หรือมากกว่า เคยมีรายงานว่าสามารถลงไปได้ลึกถึง 400 เมตร อาหารส่วนที่กิน ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลานกกระจอก, ปลาลิ้นหมา, ปลากระเบนนก, ปลาทูน่า, ปลาปักเป้า, ปลานกแก้ว และหมึกสาย เป็นต้น มีถิ่นหากินในระยะไม่เกิน 2-5 กิโลเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและชายฝั่งของเขตร้อนและเขตอบอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยจะหาได้ยาก พบได้ที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน, เกาะตาชัย หรือบริเวณกองหินที่ห่างไกลจากชายฝั่ง จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวมากนัก จึงเป็นที่ชื่นชอบของบรรดานักดำน้ำอีกชนิดหนึ่ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามครีบเงิน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามครีบเงิน มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังปลากระดูกอ่อน

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสัตว์ · ปลาฉลามครีบเงินและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ปลาฉลามครีบเงินและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลากระดูกอ่อน · ปลากระดูกอ่อนและปลาฉลามครีบเงิน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามครีบเงิน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ มี 56 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาฉลามครีบเงิน มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 3.75% = 3 / (56 + 24)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และปลาฉลามครีบเงิน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: