โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายจุด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายจุด

ชะมดแปลง vs. ชะมดแปลงลายจุด

มดแปลง (Asiatic linsang) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Prionodon (/ไพร-โอ-โน-ดอน/) ในวงศ์ย่อย Prionodontinae (หรือแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก คือ Prionodontidae) ชะมดแปลง เป็นชะมดจำพวกหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับชะมดส่วนใหญ่ทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียว มีหางยาว ความยาวลำตัวไม่เกิน 30 เซนติเมตร อาศัยและหากินส่วนใหญ่บนต้นไม้ ด้วยรูปร่างที่เพรียวยาวจึงทำให้ดูเผิน ๆ เหมือนงูไต่ตามต้นไม้มากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อุ้งตีนมีซองเก็บเล็บได้เหมือนสัตว์ตระกูลแมว มีสีขนตามลำตัวเป็นจุดหรือลายแถบคดเคี้ยวแตกต่างไปตามชนิด ส่วนหางเป็นปล้อง ๆ ไม่มีขนแผงคอหรือขนที่สันหลัง และมีลักษณะเด่นเฉพาะ คือ ไม่มีต่อมผลิตกลิ่น เหมือนชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า ชะมดแปลงหน้า 82-84, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. มดแปลงลายจุด หรือ อีเห็นลายเสือ (Spotted linsang) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง เป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่นเช่นเดียวกับชะมดแปลงลายแถบ (P. linsang) และมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ส่วนหัวมีขนสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลเข้มหรือดำขึ้นอยู่ประปรายตามลำตัว หางยาวและมีแถบสีขาวสลับดำ หรือน้ำตาลเข้มเป็นปล้องประมาณ 7 ปล้อง มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 35-37 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 31-34 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, แคว้นสิกขิมและแคว้นอัสสัมของอินเดีย, ภาคใต้ของจีน, ภาคเหนือของพม่า, ไทย, ลาว และเวียดนาม มักอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจอยู่เป็นคู่หรือหลายตัว มักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500-2,700 เมตร ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก, หนู, นก และแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จะหากินเป็นหลักบนต้นไม้ นานครั้งจึงจะลงมาบนพื้นดิน มีฤดูผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ใช้โพรงไม้ในการเลี้ยงดูลูกอ่อน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายจุด

ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายจุด มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชะมดแปลงลายแถบกระรอกวงศ์ชะมดและอีเห็นสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสปีชีส์หนูไม้ต้น

ชะมดแปลงลายแถบ

มดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ เป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบมาเลเซียตะวันตก, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายแถบ · ชะมดแปลงลายจุดและชะมดแปลงลายแถบ · ดูเพิ่มเติม »

กระรอก

กระรอก(Squirrel, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: ฮอก) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ ในวงศ์ Sciuridae.

กระรอกและชะมดแปลง · กระรอกและชะมดแปลงลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

ชะมดแปลงและวงศ์ชะมดและอีเห็น · ชะมดแปลงลายจุดและวงศ์ชะมดและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ชะมดแปลงและสัตว์ · ชะมดแปลงลายจุดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ชะมดแปลงและสัตว์กินเนื้อ · ชะมดแปลงลายจุดและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ชะมดแปลงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ชะมดแปลงลายจุดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ชะมดแปลงและสัตว์ปีก · ชะมดแปลงลายจุดและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ชะมดแปลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ชะมดแปลงลายจุดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ชะมดแปลงและสปีชีส์ · ชะมดแปลงลายจุดและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ชะมดแปลงและหนู · ชะมดแปลงลายจุดและหนู · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ชะมดแปลงและไม้ต้น · ชะมดแปลงลายจุดและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายจุด

ชะมดแปลง มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชะมดแปลงลายจุด มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 16.92% = 11 / (24 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชะมดแปลงและชะมดแปลงลายจุด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »